เมื่อสัปดาห์ก่อน มีข่าวใหญ่กรณี เพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีของกลาง ในพื้นที่อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา โดยพบความเชื่อมโยงของเอกชน 2 แห่ง คือ บริษัท เอกอุทัย จำกัด และ บริษัท วิน โพรเสส จำกัด
เป็นที่น่าสังเกตว่า 2 บริษัท ประสบเหตุเพลิงไหม้ทั้งคู่ เริ่มจากวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เกิดเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีของกลาง ในพื้นที่ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 ต่อมาพบว่า เป็นการลอบวางเพลิง
วันที่ 22 เมษายน 2567 ไฟไหม้โกดังโรงงาน บริษัท วิน โพรเสส จำกัด ในพื้นที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เกิดเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีของกลาง ในพื้นที่ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นครั้งที่ 2
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษได้ขอความร่วมมือกับอัยการ จังหวัดระยอง ให้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายจากบริษัท วิน โพรเสส จำกัด และผู้เกี่ยวข้องอีก 2 คน
เป็นจำนวนเงินสูงถึง 1,322 ล้านบาท ฐานสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ โดยสถานะคดี อยู่ในขั้นตอนการสืบพยาน
ตามแนวทางสืบสวนของตำรวจ ปทส. ยืนยันว่า บริษัทเอกชนทั้ง 2 แห่ง พบว่ามีกลุ่มทุน เชื่อมโยงถึงกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างขยายผล ในการสอบสวนเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าว ว่าเป็นการลอบวางเพลิง เพื่อเผาทำลายของกลางสารเคมี อีกหรือไม่
ขณะเดียวกัน ทีมข่าวตรวจสอบเพิ่มเติม การดำเนินคดีฟ้องร้องบริษัทวิน โพรเสส นอกเหนือจากที่ชาวบ้าน ฟ้องร้องจนชนะคดี เรียกค่าเสียหาย 20 ล้านบาท
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษได้ขอความร่วมมือกับอัยการ จังหวัดระยอง ให้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายจากบริษัท วิน โพรเสส จำกัด และผู้เกี่ยวข้องอีก 2 คน
เป็นจำนวนเงินสูงถึง 1,322 ล้านบาท ฐานสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ โดยสถานะคดี อยู่ในขั้นตอนการสืบพยาน
สำหรับรายละเอียดค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของบริษัท วิน โพรเสส จำกัด แยกเป็น
1.ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง บำบัด กำจัด ถมดินสะอาด 1,288 ล้านบาท
2.ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ เพื่อปฏิบัติงานในกรณีนี้ ตั้งแต่ปี 2560-2564 รวม 2.2 แสนบาท
3.ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างดิน 2.7 ล้านบาท
4.ค่าใช้จ่ายในการกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน 28.7 ล้านบาทเศษ
5.ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ 1.8 ล้านบาทเศษ
สำหรับโรงงานบริษัท วินโพรเสส จำกัด ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 4 ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ประกอบกิจการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือของเสียจากโรงงาน มาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ มาตั้งแต่ปี 2544 โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
สภาพพื้นที่โดยรอบโรงงานเป็นสวนยางและพื้นที่เกษตรของประชาชน มีสระหนองพะวาเป็นแหล่งน้ำใช้ สำหรับทำการเกษตรอยู่ใกล้เคียง ที่ผ่านมา ประชาชนได้ร้องเรียนปัญหามลพิษด้านน้ำเสีย กลิ่นเหม็น และการปนเปื้อนสารเคมี จากโรงงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ
ต่อมา เดือนสิงหาคม 2563 เอกชนได้เลิกประกอบกิจการ แต่ภายในโรงงานยังมีการกักเก็บน้ำเสียและกากของเสีย ที่เป็นวัตถุอันตรายไว้ภายในโรงงนปริมาณมาก และไม่มีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม จนเกิดการรั่วไหล
ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพย์สินของประชาชนและของรัฐ พื้นที่สวนยางและพื้นที่เกษตรกรรมเสียหายจำนวนมาก สระน้ำไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
ที่ผ่านมา มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ เอาผิดบริษัท และตัวกรรมการฯ ในความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลสั่งปรับเอกชนและกรรมการบริษัท รายละ 225,000 บาท และลงโทษจำคุก 3 ปี โดยให้รอการลงโทษไว้ก่อนเท่านั้น
…………
รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม