วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“สธ.-ยธ.”ถกแก้ไขปัญหายาบ้า ชงศาลเพิ่มเงื่อนไขสั่งบำบัด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.-ยธ.”ถกแก้ไขปัญหายาบ้า ชงศาลเพิ่มเงื่อนไขสั่งบำบัด

2 รมต.สธ.-ยุติธรรม ถกดึงผู้เสพถูกสั่งคุมประพฤติ 1 แสนคน เข้าสู่การบำบัด ชงศาลเพิ่มเงื่อนไขสั่งบำบัด รู้ผล 90 วัน “ทวี” ไม่กังวลนโยบาย “1 คน เสพ ซัดทอด 1 ผู้ขาย” ถูกฆ่าตัดตอนซ้ำยุคทักษิณ ยืนยันปลอดภัย ป.ป.ส. มีเทคนิกหาข้อมูลทางอากาศ

เมื่อวันที่ 18 พ.ค.67 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แถลงข่าวหลังการประชุมหารือแนวทางการจัดการผู้เสพยาเสพติดที่ศาลสั่งคุมประพฤติตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากการหารือ จะมีการนำผู้เสพติดที่ผ่านขั้นตอนของศาลแล้ว โดยศาลสั่งคุมความประพฤติ แต่ไม่ได้ให้บำบัด ประมาณ 1 แสนราย ให้เข้ารับการบำบักยาเสพติด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาหารือแนวทางปฏิบัติร่วมกัน โดยหากไม่ได้บำบัด ก็จะมีปัญหา ประกอบกับนโยบายรัฐบาลให้ดูแลครบถ้วน จึงต้องนำ 1 แสนรายเข้ามาบำบัดใน ซึ่งต้องมาหารือถึงการปรับกฎหมาย หรือการเพิ่มการดำเนินงาน เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมครบถ้วน ทั้งนี้ใน 1 แสนคนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสีเขียว ซึ่งต้องคัดกรองและนำเข้าสู่บำบัดรักษา มีทั้งสถานพยาบาล ธัญญารักษ์ หรือมินิธัญญารักษ์ หรือบำบัดในชุมชนล้อมรักษ์ หรือ CBTx

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบาย 1 ผู้เสพ ขยายผล 1 ผู้ขาย และขยายต่อเป็น 1 ผู้ผลิต คือผู้เสพ 1 เม็ด ถ้าสมัครใจบำบัดรักษา ก็ไม่ต้องขึ้นศาล แต่ผู้เสพต้องบอกให้ได้ว่า ซื้อยามาจากใคร เพราะกฎหมายระบุถึงการสอบสวนให้ลึกในรายละเอียด ตำรวจต้องไปดำเนินคดีกับผู้ค้ารายดังกล่าว และคำนวณรายได้ และยึดทรัพย์ตามกฎหมาย เมื่อผ่านตรงนี้ ผู้เสพก็ไม่ต้องประทับลายมือ ไม่มีประวัติ แต่หากครอบครองโดยไม่ใช่ผู้เสพ ก็จะขึ้นศาล ย้ำว่า มีกระบวนการปกป้อง ดูแลความปลอดภัยคนให้ข้อมูลอยู่

ด้าน พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ที่ผ่านมายังมีปัญหากลุ่มผู้เสพเดิมยังไม่มีเรื่องการส่งตัวบำบัดรักษา และกลุ่มนี้ยังอยู่ชุมชนตามที่ศาลสั่งคุมประพฤติ ดังนั้นจึงต้องนำกลับเข้าระบบการบำบัดตามหลักการแพทย์ วันนี้จึงมาหารือกับกระทรวงสาธาณรสุขเพื่อมารับกติกาที่ชัดเจน คือการบำบัด มีการติดตามช่วยเหลือเพื่อให้คนเหล่านี้ กลับสู่ชุมชน และชุมชนต้องไม่เดือดร้อนด้วย ซึ่งการดำเนินงานตรงนี้จะต้องทำให้ได้ผลภายใน 3 เดือน หรือ 90 วัน ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ มาเร่งรัดติดตาม มีปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม ตำรวจ และมีรมว.ยุติธรรมเป็นประธาน มาประชุมติดตามทุกสัปดาห์ว่าเป็นอย่างไร

“ที่ผ่านมา เนื่องจากว่า ศาลมองว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติด 2564 บอกว่า การที่ศาลสั่งบำบัดต้องเป็นผู้สมัครใจบำบัด คือมีทางเลือกให้ศาลสั่ง เลยสั่งคุมประพฤติแทน แต่ทางเราก็มีพ.ร.บ.บังคับบำบัด ดังนั้นถึงอย่างไรก็ต้องนำเข้าสู่การบำบัด และเป็นการบำบัด 3 วัน ในหมู่บ้าน ที่มาหารือกันวันนี้ เพื่อปิดช่องโหว่ จึงให้กรมคุมประพฤติขอให้ศาลเพิ่มเงื่อนไขในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 (4) ให้นำตัวเข้าระบบการบำบัด เบื้องต้นก็คือผู้ถูกคุมประพฤติเดิม 1 แสนคน” พ.ต.อ.ทวี กล่าว

เมื่อถาถาม ก่อนหน้านี้มีข้อกังวลเรื่องนักโทษยาเสพติดล้นคุก พอจะปรับมาเป็นการครอบครองยาบ้าไม่เกิน 1 เม็ด จะยิ่งทำให้คนเข้าคุกเยอะขึ้นหรือไม่ แล้วการรองรับตรงนี้เป็นอย่างไรบ้าง พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นพลวัต ขณะนี้ชุมชนเดือดร้อน แล้วกฎหมายยาเสพติดจะมีข้อหาการครอบครองเพื่อเสพ ซึ่งเราจะใช้จำนวนเท่าไหร่ก็ติดคุก 2 ปี แต่ถ้าครอบครอง โทษสูงสุด 15 ปี เดิม เรากำหนด 5 เม็ด เป็นการครอบครองเพื่อเสพ ถึงอย่างไรก็ต้องถูกจับ แต่ศาลลงโทษไม่เกิน 2 ปี วันนี้มา 1 เม็ด การลงโทษก็อยู่ในดุลพินิจของศาล แต่ที่สำคัญคือ โทษ 2 ปี อยู่ในอำนาจของศาลแขวง คือไม่ต้องทำสำนวน แต่เอากระดาษแผ่นเดียวฟ้องได้เลย แต่ถ้าต่อไปนี้ สมมติ 2 เม็ด เราถือว่า เป็นข้อหาครอบครอง ตามกฎหมายใหม่จำคุกไม่เกิน 15 ปี พนักงานสอบสวนต้องทำสำนวน แล้วเอาตัวไปฝากขังได้ 70 กว่าวัน

“ในทางปฏิบัติช่วงวิกฤติตอนนี้เมื่อเอาคนกลุ่มนี้มาก็จะทำให้เรือนจำเพิ่มขึ้น เราต้องไปวางแผนรองรับ เพราะขณะนี้เราต้องการแยกผู้ต้องหาเด็ดขาด เราจะมีเรือนจำโครงสร้างเบา บางแห่งที่ต้องมาพัฒนาเตรียมการตรงนี้ เพราะเราชั่งน้ำหนักแล้ว เราไม่อยากให้สังคม ชุมชนมีความเดือดร้อน วันนี้ตัวเลขที่พบใหม่ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่อยู่ในการคุมประพฤต 82% มีการศึกษาต่ำกว่าที่รัฐกำหนด ให้เรียนฟรีถึงม.6 แต่คนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ หรือเรียนถึงแต่ม.ต้น เรื่องการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนั้น ต้องให้คนกลุ่มนี้ โดยในเรื่อนจำซึ่งมีกฎหมายว่า เรือนจำต้องจัดการศึกษาให้ หากอายุเยอะก็ต้องฝึกอาชีพ” พ.ต.อ.ทวี กล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลว่า การบำบัดในชุมชนจะทำให้กลับมาเสพซ้ำน้อยกว่าอยู่ในเรือนจำ เท่าที่มีตัวเลข 2 แสนกว่าคน พบว่ากว่า 61% เป็นการติดคุกซ้ำจากปัญหายาเสพติด ซึ่งเราพบช่องว่างว่า เราหักดิบเขาเกินไป เอาเข้ามาอยู่ในเรือนจำแล้วไม่ได้ให้ยา ไม่ได้ฟื้นฟู ดังนั้นจึงมีมาตรการใหม่ในการฟื้นฟู บำบัด รักษาทางจิตใจ เพิ่มการศึกษา เพิ่มอาชีพให้กลับสู่งสังคมได้ คนรุ่นใหม่เมื่อกลับตัวได้ก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม ประเทศต่อไปได้ ในส่วนนี้รัฐต้องเข้าช่วยชุมชนให้เข้มแข็งด้วย

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้เมื่อปรับการครอบครองยาบ้า 5 เม็ดสถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง แล้วหากปรับมาเป็นครอบครองไม่เกิน 1 เม็ด มีการคาดการณ์สถานการณ์อย่างไรบ้าง พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า เรื่องการปรับ 1 เม็ด นั้นกำลังทำความเห็นอยู่ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการป้องกัน ปราบปรามจับกุมนั้นขอย้ำว่าที่ผ่านมาไม่ได้รับการยกเว้นเลย แต่สังคมมีการเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็น 5 เม็ด หรือ 1 เม็ด เพื่อจะแยกในการตั้งข้อหาครอบครองเพื่อเสพ พนักงานตำรวจไม่มีสิทธิเอาใครไปบำบัดได้ แต่เป็นหมวดการบำบัดรักษา ของระบบสาธารณสุข เราให้ดุลพินิจแพทย์สำหรับบุคคลสมัครใจบำบัด โดยมีเกณฎ์ข้อหาเล็กน้อย 5 เม็ด หรือ 1 เม็ด แต่การปราบปราม จับกุมไม่มีข้อยกเว้น แต่คนกลับไปเข้าใจผิด คิดว่ามี 1 เม็ดไม่ถูกจับ แต่ที่จริง 1 เม็ดก็มีโทษจำคุก 2 ปี

เมื่อถามต่อว่า กรณีปรับเป็น 1 เม็ด และมีนโยบาย 1 ผู้เสพ ซัดทอด 1 ผู้ขาย มีข้อกังวลว่า จะทำให้เกิดการฆ่าตัดตอนเหมือนตอนประกาศสงครามยาบ้า ในยุคนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า อันนี้เป็นแนวคิดของรมว.สาธารณสุข ท่านอยากให้จัดการผู้ค้า จึงอยากให้คนกลุ่มนี้ให้ข่าวสาร แต่ในเรื่องของการหาข่าว การจับกุม เราจับทางอากาศได้ ไม่ได้จับกุมจากการซักข้อมูลบุคคล มีการใช้เทคโนโลยี เช่น เมื่อได้ตัวมา รู้ว่าใครก็ใช้ระบบเทคโนโลยีเข้าไปดูว่ามีใครเป็นเครือข่ายบ้าง อันนี้คือพยานหลักฐานด้วยซ้ำไป ซึ่งเราเองก็จะมีมาตรการคุ้มครองพยานอยู่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่บอกว่า เมื่อจับคนเสพมาแล้ว ต้องซัดทอดให้ได้ว่าซื้อมาจากใคร ไม่ใช่นโยบายของป.ป.ส.แต่อาจจะเป็นแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งเราก็จะรับฟัง

เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ ว่า เมื่อพูดคำนี้ออกมาแล้ว เมื่อคนเสพถูกจับกุมแล้ว ซึ่งคนขายก็จะรู้ด้วย อาจจะทำให้ผู้เสพ หรือครอบครัวเขาเกิดอันตราย พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า วันนี้ที่พูดก็ไม่มีอะไร ต่างไปจากกฎหมาย แต่ท่านบอกว่า คนเสพยอมซื้อมา จึงอยากรู้ว่าใครเป็นคนขายให้ ซึ่งทางตำรวจ ทางป.ป.ส. จะมีเทคนิกในการสืบสวน สอบสวนอยู่แล้วว่ามาจากใคร แล้วตอนนี้บนอากาศ รอบตัวเรามีกล้องวงจรปิด (CCTV) หมด

เมื่อถามย้ำว่า ผู้เสพ เมื่อเข้ามาอยู่ในมือกระบวนการยุติธรรมแล้วจะมีความปลอดภัย พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า “ปลอดภัย” เราแค่ยืมหูยืมตา ไม่ได้อ้างชื่อเขา

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img