วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“หมอยง”ยืนยัน 98% ของไทย เป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หมอยง”ยืนยัน 98% ของไทย เป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7

”หมอยง’’อธิบายโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียหลุดเข้าเซลล์มนุษย์ได้ง่ายขึ้นจะติดเชื้อได้ง่ายขึ้นได้ ขณะที่สายพันธุ์เบงกอลยังเบากว่าสายพันธุ์แอฟริกาใต้  ยันมากกว่า 98%ในไทยเป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7

เมื่อวันที่  27 เม.ย.64  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ  หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ‘’โควิด-19 ไวรัสกลายพันธ์สายพันธุ์อินเดียและเบงกอล’’  ว่า นักข่าวพยายามจะสอบถามเรื่องสายพันธุ์อินเดียบ้าง สายพันธุ์เบงกอลบ้างคงเป็นเพราะมีการระบาดอย่างมากของโควิด-19 ในอินเดีย เมื่อมีการระบาดมากไวรัสก็จะแพร่ลูกหลานได้มากก็จะมีโอกาสมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเป็นไปตามหลักวิวัฒนาการ

ถ้าดูตามสายพันธุ์อินเดียแล้วไม่เหมือนสายพันธุ์อังกฤษที่แพร่กระจายง่าย เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนบนหนามแหลมที่ตำแหน่ง 501 เป็น  Tyrosine (Y) จากสายพันธุ์เดิมคือ Asparagine (E) สายพันธุ์อินเดียยังเป็นชนิด Asparagine อยู่ แต่สายพันธุ์อินเดียมีจุดที่น่าสนใจในตำแหน่งการตัดแบ่งส่วน Spike โปรตีนให้เป็น S1 และ S2 ด้วยเอนไซม์ Furin ของมนุษย์ การเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็น Basic โดยเฉพาะ Arginine (R) ทำให้หลุดเข้าเซลล์มนุษย์ได้ง่ายขึ้นจะติดเชื้อได้ง่ายขึ้นได้เช่นกัน

ส่วนสายพันธุ์เบงกอลที่กล่าวถึงกันจะเป็นการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง 484 เป็น Lysine ที่ทำให้หลบหนีภูมิต้านทานจากวัคซีน เช่นเดียวกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้และบราซิล จึงทำให้มีการกล่าวถึงกันมาก สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้มีอะไรแปลกไปกว่าบราซิลและแอฟริกาใต้ ถ้าดูแล้วสายพันธุ์แอฟริกาใต้ยังน่ากลัวกว่า

จากการตรวจสายพันธุ์โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาฯ กว่า 500 ตัวอย่างที่มีการระบาดอยู่ ณ ขณะนี้มากกว่า 98% ของเราเป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ยังไม่พบสายพันธุ์ อินเดีย เบงกอล แอฟริกาใต้ บราซิล ในประเทศไทย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img