วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“สมคิด”รับ“พท.”ถูกจับตานิรโทษฯ“ทักษิณ” หลังอัยการสั่งฟ้องคดีม.112
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สมคิด”รับ“พท.”ถูกจับตานิรโทษฯ“ทักษิณ” หลังอัยการสั่งฟ้องคดีม.112

“กมธ.นิรโทษฯ” ลุยเคาะ ม.112 หรือไม่พรุ่งนี้ “สมคิด” รับ”พท.” ถูกจับตานิรโทษฯ “ทักษิณ” หลังอัยการสั่งฟ้อง ม.112

วันที่ 29 พ.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธานกมธ. ได้นัดประชุม กมธ. ในวันพรุ่งนี้ (30 พ.ค.) โดยมีวาระนัดลงมติในประเด็นข้อศึกษา 2 เรื่อง คือ การตั้งคณะกรรมการที่พิจารณาเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม และ นิยามของคำว่า “แรงจูงใจทางการเมือง”

ทั้งนี้นายสมคิด เชื้อคง โฆษก กมธ. ให้สัมภาษณ์ว่า การลงมติจะไม่เกิดขึ้น แต่คงเป็นการหาแนวทางและข้อสรุปร่วมกัน ทั้งนี้กมธ.ต้องการทำเรื่องดังกล่าวให้จบภายในเดือนมิ.ย.นี้ อย่างไรก็ดีในประเด็นการตั้งกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมนั้น มีรายละเอียดที่อาจตั้งต้นจากการพิจารณาว่าการนิรโทษกรรมจะรวมถึงคดี มาตรา 112 หรือไม่ หากกมธ.มองว่าไม่ตัดและนำไปรวมด้วย จะทำเป็นบัญชีแนบทาง พ.ร.บ. และให้ กรรมการที่ตั้งขึ้นพิจารณา

เมื่อถามว่ามาตรา 112 นั้นถูกจับตาที่เกี่ยวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ถูกอัยการสูงสุดฟ้อง นายสมคิด กล่าวยอมรับว่าถูกจับตา และคาดคั้นให้พรรคเพื่อไทยต้องพูด ซึ่งตนบอกแล้วว่าหากพูดแล้วจะโดนเนื่องจากคนของเราหลายคนโดน หากพูดเท่ากับว่าเราต้องการช่วยคนของเรา พูดแล้วจะมีปัญหา อย่างไรก็ดีเรื่องนี้พรรคเพื่อไทยจะไม่เสนอ และจะไม่ขัดขวาง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเด็นการตั้งกรรมการที่พิจารณาเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม ก่อนหน้านั้น กมธ.ได้พิจารณารายงานที่อนุกรรมการฯ เสนอว่าด้วยองค์ประกอบของกรรมการ รวมถึงหน้าที่และอำนาจ แล้ว แต่เห็นว่ามีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น องค์ประกอบของกรรมการ ที่มีข้อเสนอให้มีผู้พิพากษาร่วมด้วย ซึ่งกมธ.ฝั่งตัวแทนผู้พิพากษามองว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นผู้พิพากษามาจากองค์กรตุลาการ ทำให้อนุกรรมการฯ นำกลับไปพิจารณาและเสนออีกครั้ง นอกจากนั้นในกรอบอำนาจและหน้าที่ มีประเด็นที่กมธ.ชุดใหญ่ทักท้วงในความกังวลว่าจะเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการและบริหาร

อย่างไรก็ดีในกรณีการลงมติเรื่องดังกล่าวมีแนวโน้มที่กมธ.เสียงข้างมากจะเห็นชอบ เพราะสามารถทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคดีที่มีหลักเกณฑ์ได้รับการนิรโทษกรรมที่เป็นคดีปัจจุบันได้.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img