วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกHighlightWork from Home ห่างไกลภัยคุกคามไซเบอร์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Work from Home ห่างไกลภัยคุกคามไซเบอร์

เหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องหันมา ทำงานที่บ้าน (Work from Home) พึ่งพาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการทำงานและติดต่อสื่อสารจากระยะไกลมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อผู้ใช้งานและองค์กรมากขึ้น

ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ให้คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีว่า

1.สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลงาน เช่น แท็บเล็ตที่อาจมีบัญชีอีเมลขององค์กร ไม่ควรใช้งานร่วมกับสมาชิกในบ้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในการไปแก้ไขหรือลบไฟล์ใด ๆ รวมถึงอาจดาวน์โหลดไฟล์อันตรายที่แฝงมัลแวร์มาลงเครื่อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบ เช่น ข้อมูลถูกขโมยหรือถูกเข้ารหัสลับทำให้ใช้งานไม่ได้

2.ติดตั้งที่ปิดกล้อง webcam และปิดไว้ในกรณีที่ไม่ใช้งาน เพื่อลดผลกระทบกรณีที่ผู้ไม่หวังดีเจาะระบบและควบคุมอุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลหรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานถูกละเมิด

3.พิจารณาใช้งาน cloud storage เป็นทางเลือกในการเก็บหรือสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย

4.ทบทวนรายการบัญชี โปรแกรม และอุปกรณ์ใช้งานว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งอาจรวมถึงอุปกรณ์เราเตอร์ที่ใช้ในบ้าน ทำการสำรวจและเปลี่ยนรหัสผ่านหากมีการใช้งานซ้ำกัน หรือเป็นรหัสที่คาดเดาง่าย

5.โปรแกรมและอุปกรณ์ใช้งานควรมีการอัปเดตที่ใช้งานให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อปิดช่องโหว่ และเปิดการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน หรือ Two-Factor Authentication เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงปลอดภัย

cr / www.kaspersky.com

6.สำหรับใช้งานโปรแกรมประเภท video conference ควรเลือกใช้โปรแกรมที่มีความสามารถในการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสูงโดยอาจพิจารณาจากรีวิวหลายแหล่ง นอกจากนี้ ในการใช้งานแต่ละครั้งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการตั้งค่าห้องไม่ให้สาธารณะเข้าถึง โดยตั้งรหัสผ่านในการเข้าห้องหรือตั้งค่าให้มีการอนุญาตจากคนในห้องก่อน เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่คนภายนอกเข้ามาในห้องประชุมโดยพลการและทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้

7.ระมัดระวังการหลอกลวงผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น อีเมล ไลน์ SMS ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจใช้สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดโควิด เพื่อหลอกขโมยข้อมูลหรือรหัสผ่านบัญชีต่าง ๆ (ตัวอย่างการหลอกลวง https://www.thaicert.or.th/newsbite/2020-05-23-01.html) โดยหากพบ และได้ตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งทางการแล้ว แต่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการหลอกลวงหรือไม่

8.ควรหลีกเลี่ยงการเปิดไฟล์แนบ คลิกลิงก์ หรือติดตั้งแอปพลิเคชันตามที่ชักชวน และควรแจ้งเจ้าหน้าที่ไอทีเพื่อตรวจสอบและพิจารณาแจ้งเตือนผู้ใช้งานในองค์กรต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนขององค์กรอาจพิจารณาติดตั้งระบบเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงระบบและเครือข่ายขององค์กรได้จากระยะไกลผ่าน VPN หรือหากมีการใช้งานอยู่แล้ว ก็ควรกำหนดนโยบายการตั้งรหัสผ่านให้แข็งแรง หรือใช้งานการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน เช่นกัน โดยหากผู้อ่านสนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากที่มาซึ่งมีข้อแนะนำอื่น ๆ ที่ลงรายละเอียดสำหรับทั้งฝั่งองค์กรและผู้ใช้งาน

…………………….

ข้อมูล : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img