วันเสาร์, ตุลาคม 5, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘สราวุธ’เฮ-ศาลรธน.ชี้ก.ม.บริหารศาลยธ. ตัดสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง‘ขัดรธน.’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สราวุธ’เฮ-ศาลรธน.ชี้ก.ม.บริหารศาลยธ. ตัดสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง‘ขัดรธน.’

“ศาลรธน.” ชี้ขาดก.ม.บริหารศาลยุติธรรม ที่ให้ “ก.ต.” สอบวินัย “สราวุธ เบญจกุล” อดีตเลขาธิการศาลยุติธรรมได้เหมือนผู้พิพากษา แต่ตัดสิทธิอุทธรณ์มติต่อศาลปกครอง ขัดรัฐธรรมนูญ ฝืนหลักนิติธรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเดือนมิ.ย.67 ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายฉบับสำคัญของแวดวงการศาลยุติธรรม นั่นก็คือ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าว คือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 8/2567 มีการเผยแพร่และประกาศลงในเว็บไซด์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.67 ที่ผ่านมา

เนื้อหาโดยสรุปสาระสำคัญได้ว่า นายสราวุธ เบญจกุล อดีตเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ยื่นเรื่องผ่าน “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยระบุว่า เคยเป็นเลขาธิการศาลยุติธรรมช่วง 1 ต.ค.60 ถึง 30 ก.ย.63 ต่อมาวันที่ 19 ส.ค.64 ผู้ร้องถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยร้ายแรง โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหาราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มาตรา 22 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 2551 ที่บัญญัติว่า “ให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม มีอำนาจดำเนินการทางวินัย แก่ผู้นั้นได้เช่นเดียวกับข้าราชการตุลาการ ตามกฎหมายว่าด้วยกฎหมายระเบียบข้าราชการตุลาการ” มาดำเนินการทางวินัยแก่ “ผู้ร้องเรียน” (คือนายสราวุธ)

คำวินิจฉัยดังกล่าวระบุว่า ผู้ร้อง การกำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ที่มีหน้าที่และอำนาจ ในการบริหารงานบุคคล ของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม มีอำนาจดำเนินการทางวินัย แก่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ที่ทำงานด้านธุรการด้วย ทำให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม มีสิทธิเพียงขอให้ ก.ต. ทบทวนคำสั่งลงโทษวินัย โดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อบุคคลหรือองค์กร ขัดต่อหลักความเป็นกลาง หลักนิติธรรม จึงอาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 27 และเป็นการแทรกแซงหน่วยงานที่รับผิดชอบงานธุรการของศาลที่มีความเป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 193 และ 196

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ยังระบุว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้ว ก็ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำความเห็นยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบการวินิจฉัยคำร้อง เช่น เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นในการวินิจฉัย พ.ร.บ.ระเบียบบริหาราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มาตรา 22 (1) เฉพาะส่วนที่ให้ ก.ต. มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้เช่นเดียวกับ ข้าราชการตุลาการ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา 193 และ 196 หรือไม่

โดยพบว่า คำวินิจฉัยคำร้องคดีดังกล่าว ระบุตอนหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญต่อการวินิจฉัยคำร้องคดีดังกล่าวก็คือ

“การที่พ.ร.บ.ระเบียบราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มาตรา 22 (1) บัญญัติให้ ก.ต. มีอำนาจดำเนินการทางวินัยกับเลขาธิการศาลยุติธรรม ได้เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายตุลาการ แม้จะเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งโอนมาจากข้าราชการตุลาการหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ แต่เมื่อทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯแต่งตั้งแล้ว ข้าราชการตุลาการผู้นั้น ย่อมพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการ และทำหน้าที่ฝ่ายธุรการเพียงตำแหน่งเดียว หากถูกดำเนินการทางวินัย จะมิสิทธิเพียงขอทบทวน ต่อก.ต.โดยไม่มีสิทธินำคดีไปร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีการตรวจสอบองค์กรตุลาการ …ดังนั้น พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมฯ มาตราดังกล่าว จึงขัดต่อหลักนิติธรรม ทำให้เกิดการไม่เสมอกันในทางกฎหมาย” คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีดังกล่าว ระบุไว้ตอนหนึ่ง

ซึ่งสุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มาตรา 22 (1) เฉพาะส่วนที่บัญญัติให้ ก.ต. มีอำนาจดำเนินการทางวินัย แก่ผู้นั้นได้เช่นเดียวกับข้าราชการตุลาการ ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา 193 และ 196 หรือไม่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img