วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"อมรเทพ" หวั่น 4 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/67
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อมรเทพ” หวั่น 4 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/67

“อมรเทพ” ชี้ 4 ปัจจัยเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/67 คาดทั้งปีจีดีพีโต 2.3% ปี 68 โต 3.2% แรงหนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ-ต่างประเทศฟื้นตัว


นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกของปีนี้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ มีอัตราเติบโตเพียง 1.5% เทียบกับปีก่อน ผลมาจากการลงทุน ภาคเอกชนที่ชะลอตัวและการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลที่ล่าช้า โดยปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกคือ การใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว

สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 3/67 มี 4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า GERM มี ดังนี้

1.ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ป่วนโลก (Geo politics) กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน และต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือที่จะสูงขึ้น เสี่ยงทำราคาน้ำมันดิบทะลุ 100 ดออลาร์ต่อบาร์เรล และกระทบห่วงโซ่อุปทานหมู่หยุดชะงัก
2.การเลือกตั้งเปลี่ยนขั้วการเมือง (Elections) ที่น่าจับตาคือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 นี้ จะมีความสำคัญต่อทิศทางการค้า การลงทุน และกระแสโลกาภิวัตน์ดีกลับ ที่จะกระทบกับเศรษฐกิจไทยได้
3.อัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับสูงและลากยาว (interest rate) อัตราดอกเบี้ยที่สูงลากยาวหากเงินเฟ้อสหรัฐไม่ลดลง ชัดเจนกระทบทุนไหลออกทำเงินบาทอ่อนค่า
4.ภาคการผลิตหดตัวต่อเนื่อง (Manufacturing) ซึ่งกระทบกับประเทศไทยโดยตรงการผลิตทรุดขาดความเชื่อมั่นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ สินค้าจีนราคาถูกทะลัก เอสเอ็มอีทำให้ประเทศไทยรับมือไม่ไหว และ โรงงานทยอยปิดตัวลง หวังว่ารัฐบาลไทยจะมีความชัดเจนในการแก้ปัญหาสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาและเร่งให้ SMEs ไทยปรับตัวได้ในไม่ช้า

สำหรับปีนี้คาดว่าจีดีพีโต 2.3% และ ปี 2568 เติบโต 3.2% โดยคาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะเร่งตัวขึ้น แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ ส่วนภาคการท่องเที่ยว และส่งออกยังคงเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการค้าโลก

ส่วนความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนน่ามีผลให้ไทยได้ประโยชน์จากการค้ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการผลิตและการจ้างงาน โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และอาหารแปรรูป

ทั้งนี้คาดว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง. ในเดือนธ.ค.นี้ อาจมีการลดดอกเบี้ยลง 0.25% ไปสู่ระดับที่ 2.25% เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2568 และให้สอดคล้องกับระดับศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างรไก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นกังวลในช่วงเวลานี้ คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงถึง 90% ของจีดีพี
ความสามารถในการหารายได้ของกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img