วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS''ไทยสร้างไทย''ชงตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองป้องกันนำม.112ไปใช้เป็นเครื่องมือ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”ไทยสร้างไทย”ชงตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองป้องกันนำม.112ไปใช้เป็นเครื่องมือ

พรรคไทยสร้างไทย เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนพรรคการเมือง เปิดเวที ถกแก้รัฐธรรมนูญ การทำประชามติ กม.นิรโทษกรรมและปัญหา ม.112 ระบุรัฐธรรมนูญต้องแก้เร็วที่สุด โดยหยิบร่างปี 60มาปรับ เว้นแก้หมวด1-2 เชื่อใช้เวลาไม่เกิน1 ปีจบ พร้อมแก้ ป.วิ.อาญา ชงตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองป้องกัน นำม.112ไปใช้เป็นเครื่องมือ เสนอเปิดช่อง”ขอพระราชทานอภัย” ก่อนมีคำพิพากษาคดี

ที่รัฐสภา พรรคไทยสร้างไทย นำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรค จัดเสวนาทางวิชาการ ทางออกในการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ และปัญหาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมกับมาตรา 112 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมพูดคุย

ดร.โภคิน พลกุล ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ กล่าวถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งมีปัญหาในหลายจุดหลายมาตรา จึงเชื่อว่าทุกฝ่ายจะเห็นตรงกันว่าต้องแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น โดยเห็นว่ากระบวนการแก้ไขที่ผูกติดกับการทำประชามติหลายครั้ง จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความล่าช้า แก้ไขได้ยากท้ายที่สุดอาจไม่ทันการเลือกตั้งหรือไม่สามารถแก้ไขได้ จนหมดวาระของรัฐบาลก็ยังไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ

วิธีที่จะทำให้การแก้ไขเป็นไปตามเจตจำนงค์ของพี่น้องประชาชน มีกติกาที่เป็นประชาธิปไตยก่อนการเลือกตั้ง จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขทั้งฉบับ แต่ดำเนินการแก้ไขตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไปโดยเว้นการแก้ไขหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 วิธีการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง แต่เราจะได้รัฐธรรมนูญ ที่มีการแก้ไขและยังเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน โดยหลักการคือการนำรัฐธรรมนูญปี 60 มาแก้ไขใหม่ ปรับแก้ตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไปไม่แก้ไขหมวด1หมวด2 จัดให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง 100%เป็นผู้แก้ไข

ส่วน ปัญหาว่าจะนิรโทษกรรม พี่น้องประชาชนที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 หรือไม่และอย่างไรนั้น ดร.โภคิน มองว่า อาจต้องมีการปรับแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยเฉพาะขั้นตอนการกล่าวโทษต้องมีคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองป้องกันการนำกฎหมายอาญามาตรา 112 ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงการเสนอให้เพิ่มกระบวนการ”ขอพระราชทานอภัย” ก่อนมีคำพิพากษา

ด้าน ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และปี 2550 แม้จะแก้ไขยาก แต่ท้ายที่สุดก็สามารถการแก้ไขได้ ขณะเดียวเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญใช้ไประยะหนึ่งควรมีการปรับปรุงแก้ไข ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ ส่วนขั้นตอนการทำประชามติเห็นว่าควรทำหลังจากที่รัฐธรรมนูญผ่านแล้ว นอกจากนี้ ดร.สมคิด มองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เป็นได้ทั้งปัญหาและโอกาส อาจพิจารณามองข้ามบางหมวด ที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไข ขณะเดียวกันต้องไปศึกษาเพิ่มเติมคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเคยมีคนขอแก้บางมาตราที่เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับอำนาจการปกครอง พร้อมฝากไปถึงผู้ที่จะเข้ามามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องสื่อสารให้ดีเพื่อไม่ให้การมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ คือการตีเช็คเปล่า ซึ่งจะทำให้การตอบรับจากประชาชนอาจเป็นไปในทิศทางอื่นได้

ส่วนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น คนมองไปที่บุคคลซึ่งถูกกลั่นแกล้ง จึงเห็นด้วยกับการเสนอตั้งคณะกรรมการ เพื่อเสนอความเห็นก่อนอัยการส่งฟ้อง และมองว่าเป็นช่องทางที่ดี หากมีพระราชทานอภัยก่อนที่คดีจะถึงที่สุด

ดร.ยุทธพร อิสรชัย อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองว่า หลายครั้งที่พยายามออกแบบกลไกต่างๆในรัฐธรรมนูญแต่ท้ายที่สุดก็เกิดปัญหา รัฐธรรมนูญจึงอาจไม่ใช่คำตอบ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทุกภาคส่วนในสังคมจึงต้องมาตั้งสติ

ขณะเดียวกันเห็นว่าคำวินิจฉัย 4/2564 ยังไม่มีความไม่ชัดเจนในเงื่อนไขที่จะพิจารณา มาตรา 255 ระบอบการปกครอง และ 256 ก็จะขัดกับ 255 ไม่ได้ ทำให้การไม่แก้บางมาตรา เป็นวิธีที่ดี แต่ด้วยเงื่อนไขหลักการวินิจฉัย 4/2564 ก็จะยังไม่เป็นการยืนยันว่าคือการแก้ไขที่ไม่เป็นการแก้ไขทั้งฉบับหรือไม่

และเห็นว่าการนิรโทษกรรมโดยใช้กฎหมายอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ อาจไม่สามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองได้ ด้วยการแก้ไขกฎหมายเพียงฉบับเดียว เนื่องจากมีการแบ่งขั้วที่ร้าวลึกในสังคมไทยเกิดขึ้น พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์เกิดขึ้นในรัฐ และเกิดคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ทั้งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 110 ซึ่งกระบวนการในการแก้ไขหรือนิรโทษกรรมอาจมีความแตกต่างกัน และอาจเกิดผลในทางบวกทางลบแตกต่างกันซึ่งต้องนำมาพิจารณาด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img