วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSยุคเฟื่องฟูพระสงฆ์ไทย..ในต่างแดน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ยุคเฟื่องฟูพระสงฆ์ไทย..ในต่างแดน

“เปรียญสิบ” เห็นพระธรรมทูตไทยปฎิบัติศาสนกิจในต่างแดนอย่างเข้มข้นแล้ว น่ากราบอนุโนทนาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งชาวพุทธเราหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ปัจจุบันวัดไทยในต่างประเทศในส่วนของฝ่ายมหานิกายมีทั้งสิ้น 512 วัด  อันนี้ ยังไม่รวมวัดสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ส่วนพระธรรมทูต คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 3,000 รูป

“เปรียญสิบ” เห็นภาพ “พระพรหมสิทธิ” กับ “พระพรหมบัณฑิต” ไปพบกันที่สังคโปร์อยากรู้เหมือนกันว่า “ใครทักใคร” ก่อน เพราะหลายปีมานี้ทั้ง 2 รูปน่าจะพบกัน “ครั้งแรก”

อดคิดถึงเรื่องราวเรื่องเล่าในอดีตระหว่าง 2 รูปไม่ได้ ในขณะที่ “สมเด็จเกี่ยว” ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ท่านเห็นว่า “พระพรหมบัณฑิต” ขณะนั่นมีสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมโกศาจารย์” เป็นพระที่มีความรู้ เป็นปราชญ์ น่าจะฝากฝังกิจการคณะสงฆ์ไว้ได้ จึงมีความประสงค์ต้องการมอบตำแหน่ง “มส.” ให้

ขณะที่ “พระพรหมสิทธิ” พูดผ่าน “เจ้าคุณประสาร” ว่า “พระมีความรู้แบบพระพรหมบัณฑิต ยุคนี้หาไม่ได้หรอก ต้องให้ท่านช่วยกิจการคณะสงฆ์ ส่วนสมณศักดิ์รองสมเด็จให้มาเป็น มส.ก่อนแล้วค่อยว่ากัน..” 

เรื่องนี้หากไม่เชื่อให้ไปถาม “เจ้าคุณประสาร” หรือ “พระราชวัชรสารบัณฑิต” รองอธิการบดีฝ่ายแผน มจร เพราะยุคนั่น “เจ้าคุณประสาร” ถือว่า “คนวงใน” ทั้งฝั่งวัดสระเกศและวัดประยูรฯ

ซึ่งต่อมา พระธรรมโกศาจารย์ ก็ได้สมณศํกดิ์ที่ “พระพรหมบัณฑิต” จริงๆ และเป็นรูปแรกที่มีสมณศักดิ์ลงท้ายด้วยคำว่า “บัณฑิต” เพราะ “สมเด็จเกี่ยว” ตั้งชื่อประสงค์ให้  “มจร-มมร” มีชื่อสมณศักดิ์ลงท้ายด้วยคำว่า “บัณฑิต” ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ คำว่า “บัณฑิต” จึงเป็น “มรดก” ที่ “สมเด็จเกี่ยว” มอบให้ “มจร” และ “มมร”

แม้กระทั้งพระต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น “พระอาจารย์จีนราชธรรมานุสิฐ” เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว สิงคโปร์ เจ้าภาพจัดงาน ที่ “พระพรหมสิทธิก-พระพรหมบัณฑิต” ไปร่วมงาน “สมเด็จเกี่ยว” ก็ขอสมณศักดิ์ให้เป็น “ชั้นราช” นอกจากนี้พระภิกษุต่างชาติฝ่ายมหายานอีก 2-3 รูปเช่น “พระอาจารย์จีนวิเทศศาสนานุสิฐ” หรือ “พระอาจารย์ยิ่งซุ่น” สมาชิกคณะกรรมการแห่งชาติจีน, รองประธานพุทธสมาคมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน “พระอาจารย์จีนวิเทศศาสนานุวัตร” (หมิงยี่) เจ้าอาวาสวัดฟูไฮ่ฉาน ประเทศสิงคโปร์ ก็เป็นความใจกว้าง มองการณ์ไกลของ “สมเด็จเกี่ยว”

ทุกวันนี้จึงไม่แปลก คณะสงฆ์มหายาน จึง มีความแนบแน่นกับ “พระพรหมสิทธิ”

ส่วนอีกเวทีหนึ่งคือ “ประเทศญี่ปุ่น”  สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นหัวหน้าคณะ ควง “พระพรหมเสนาบดี” พระธรรมโพธิวงศ์ รวมทั้ง “เจ้าคุณต่อศักดิ์” พระราชมหาเจติยาภิบาล เพิ่งไปซื้อที่สร้างวัดไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น ไปด้วย

มีคนส่งข่าวให้ดู ตอนแรก “งง” ทำไม “สมเด็จธีร์” ไปเปิด “อาคาร 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย” นึกว่าเป็น “วัดสาขาวัดพระธรรมกาย”

ตอนหลังจึงเก็ตคือเป็นสาขา วัดพระเชตุพน นาริตะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดย “เจ้าคุณแจ็ค” เลขาฝ่ายต่างประเทศของ “สมเด็จพระมหาธีราจารย์”

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า “สาขาวัดพระเชตุพน” ประจำญี่ปุ่น ก็จริง แต่ไม่เห็นมีพระเถระระดับ “ผู้ช่วยเจ้าอาวาส” จากวัดพระเชตุพนไปร่วมเลยหรือมีอะไรใน “ก่อไผ่”

“เปรียญสิบ” เป็นคนหนึ่งที่ชื่นชม “วัดพระธรรมกาย” มาตั้งแต่ต้นและเชื่อเสมอว่า “วัดพระธรรมกาย” จึงจะใครจะว่าไม่ดีหรือสอนผิดอย่างไร แต่ “วัดพระธรรมกาย” คือวัดในพระพุทธศาสนา เป็น “พวกเรา” คุยกันได้

บทบาท “วัดพระธรรมกาย” ระยะหลัง ๆ เสมือน “ปิดทองหลังพระ” ให้กับคณะสงฆ์ไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในทาง “ลับ” พระผู้ใหญ่ระดับ “สมเด็จ” หลายรูปก็ใช้คนของวัดพระธรรมกาย

กิจกรรมคณะสงฆ์ที่ที่ประเทศญี่ปุ่นก็ดีหรือการประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป ที่วัดพุทธาราม แวร์มเดอ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ของ “เจ้าคุณบุญทิน” พระวิเทศปุญญาภรณ์ ล่าสุดนี้ ก็ดี

วัดพระธรรมกายคอยเป็น “แบ็คอัฟ” ให้หลายประการและทั้งโยมและพระมาด้วยหัวใจ มองเป้าหมายเพื่อพระพุทธศาสนาเป็นใหญ่ เพราะวัดธรรมกายทั้งพระสงฆ์และกัลยาณมิตรของเขา มีสโลแกนอยู่อย่างหนึ่งว่า “พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว” ไม่คิดเล็กคิดน้อย เพื่อทำลายเป้าหมาย “ส่วนรวม”

………………

คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง

โดย…“เปรียญสิบ”: [email protected]

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img