วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“เงินบาทแข็งค่า” ดัชนีภาคการผลิตแย่กว่าคาด-ทองคำพุ่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทแข็งค่า” ดัชนีภาคการผลิตแย่กว่าคาด-ทองคำพุ่ง

ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.16 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.21 บาทต่อดอลลาร์ หลังดัชนีภาคการผลิต โดยเฟดนิวยอร์กออกมาแย่กว่าคาด-ด้านราคาทองคำพุ่ง

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.16 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.21 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นบ้าง (แกว่งตัวในช่วง 36.08-36.23 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับ 36.05-36.10 บาทต่อดอลลาร์ ตามการอ่อนค่าลงบ้างของเงินดอลลาร์ และจังหวะการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาทองคำ (XAUUSD) ที่ได้ปรับตัวขึ้นสู่โซน 2,430 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังรายงานดัชนีภาคการผลิต โดยเฟดนิวยอร์ก (NY Empire State Manufacturing Index) ออกมาแย่กว่าคาด อีกทั้งถ้อยแถลงของประธานเฟดล่าสุดที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อแนวโน้มการชะลอลงของอัตราเงินเฟ้อ ก็ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดมีโอกาสถึง 60% ในการลดดอกเบี้ยราว 3 ครั้งในปีนี้

อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ก็ไม่ได้อ่อนค่าลงต่อเนื่องชัดเจน เนื่องจากผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคงรอจังหวะในการเพิ่มสถานะ “Trump Trades” (รอจังหวะเงินดอลลาร์ย่อตัว เพื่อ buy on dip) หลังเหตุลอบสังหารโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเพิ่มโอกาสที่โดนัลด์ ทรัปม์จะคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกสมัยได้

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงได้แรงหนุนจากความหวังว่า เฟดอาจทยอยลดดอกเบี้ยได้ราว 3 ครั้งในปีนี้ ส่งผลให้หุ้นเทคฯ ใหญ่ บางส่วนยังคงปรับตัวขึ้นได้ อาทิ Apple +1.7% นอกจากนี้ รายงานผลประกอบการของ Goldman Sachs +2.6% ที่ออกมาดีกว่าคาด ก็มีส่วนช่วยหนุนให้บรรดาหุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้น ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.28%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวลงกว่า -1.02% ท่ามกลางรายงานผลประกอบการและคาดการณ์ผลประกอบการของบรรดาหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมที่ออกมาน่าผิดหวัง ส่งผลให้หุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมต่างปรับตัวลงหนัก อาทิ LVMH -2.7% นอกจากนี้ เหตุลอบสังหาร โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลว่า โดนัลด์ ทรัมป์ อาจคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งอาจกระทบต่อการพัฒนาโครงการพลังงานทางเลือกได้ ส่งผลให้บรรดาหุ้นกลุ่มพลังงานทางเลือกต่างปรับตัวลดลงหนัก นำโดย Vestas -6.4%, Orsted -5.5%

ส่วนตลาดบอนด์ แม้ว่าผู้เล่นในตลาดจะมั่นใจมากขึ้นว่า เฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้ราว 3 ครั้งในปีนี้ (โอกาส 60% จาก CME FedWatch Tool ล่าสุด) ทว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็ไม่ได้ปรับตัวลดลงชัดเจน จากความกังวลผลกระทบต่อตลาดบอนด์จากนโยบายเศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ หากโดนัลด์ ทรัมป์ สามารถคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งได้จริง อย่างที่ตลาดกังวล โดยเฉพาะหลังเหตุลอบสังหารที่เกิดขึ้นล่าสุด ทำให้โดยรวมบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวแถวระดับ 4.21% ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า ในทุกๆ จังหวะการรีบาวด์ขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะเป็นจังหวะที่น่าพิจารณา “Buy on Dip” บอนด์ระยะยาวได้

ทางด้านตลาดค่าเงินนั้นพบว่า เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ sideways โดยมีจังหวะอ่อนค่าลงบ้าง ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงคาดหวังว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 3 ครั้งในปีนี้ ก่อนที่เงินดอลลาร์จะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการทยอยเข้าซื้อ “Trump Trades” ของผู้เล่นในตลาด หลังผู้เล่นในตลาดประเมินว่า โดนัลด์ ทรัมป์ อาจคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งได้ หลังเกิดเหตุลอบสังหาร

นอกจากนี้เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะเงินยูโร (EUR) ที่เผชิญแรงกดดันจากธีม Trump Trades กดดันตลาดหุ้นยุโรปเช่นกัน โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวแถวระดับ 104.3 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 104.0-104.3 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดหวังการลดดอกเบี้ยราว 3 ครั้งของเฟดในปีนี้ ได้หนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.) สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่โซน 2,440 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะเผชิญแรงขายทำกำไร กดดันให้ย่อตัวลงสู่ระดับ 2,425 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำดังกล่าวก็มีส่วนหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงคืนที่ผ่านมา สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน

ส่วนในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี และยูโรโซนโดย ZEW รวมถึงรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนก็จะเป็นสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดให้ความสนใจเช่นกัน

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทอาจแกว่งตัว sideways ในกรอบ 36.05-36.30 บาทต่อดอลลาร์ หรือแกว่งตัวใกล้แนวรับเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันไปก่อน (แถวโซน 36.10 บาทต่อดอลลาร์) จนกว่าจะมีการรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยในช่วงระหว่างวัน เงินบาทอาจมีจังหวะผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง หากบรรดานักลงทุนต่างชาติทยอยขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติม ดังจะเห็นได้จากการที่นักลงทุนต่างชาติได้เริ่มทยอยขายทั้งหุ้นและบอนด์ไทยในช่วงวันก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาทก็อาจยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง ตราบใดที่ราคาทองคำไม่ได้เข้าสู่ช่วงการปรับฐานที่ชัดเจน โดยทุก ๆ จังหวะการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ อาจเห็นแรงขายทำกำไรทองคำ ซึ่งช่วยหนุนค่าเงินบาทได้บ้าง

อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนของตลาดการเงินในช่วงทยอยรับรู้รายงานยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในช่วงราว 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยหากยอดค้าปลีกออกมาดีกว่าคาดชัดเจน ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ย 3 ครั้งของเฟดในปีนี้ลงบ้าง ส่งผลให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจปรับตัวสูงขึ้นได้ ในทางกลับกัน หากออกมาแย่กว่าคาด สะท้อนการชะลอลงของการบริโภคในสหรัฐฯ ที่ชัดเจน ก็อาจกดดันให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังมีโอกาสเคลื่อนไหวผันผวนไปตาม การเปลี่ยนแปลงไปมาของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงินบาท อย่าง มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ทำให้ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.00-36.30 บาทต่อดอลลาร์ โดยต้องระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img