วันอาทิตย์, กันยายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSร้อง“ผู้ตรวจการแผ่นดิน”ส่ง“ศาลปกครอง” ฟัน“ดิจิทัล วอลเล็ต”เลือกปฏิบัติหรือไม่?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ร้อง“ผู้ตรวจการแผ่นดิน”ส่ง“ศาลปกครอง” ฟัน“ดิจิทัล วอลเล็ต”เลือกปฏิบัติหรือไม่?

“เรืองไกร” ร่อนหนังสือร้อง “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ส่ง “ศาลปกครอง” วินิจฉัยปม “ดิจิทัล วอลเล็ต” จำกัดกลุ่มเป้าหมาย เลือกปฏิบัติหรือไม่

เมื่อวันที่ 17 ก.ค.67 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า จากกรณีนายกรัฐมนตรีและ ครม.มีมติเห็นชอบโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต มีวงเงิน 500,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลจะใช้เงินจาก 3 แหล่ง ขณะนี้ มีออกมาแล้ว 2 แหล่งคือ งบกลางในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท และงบกลางในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติม 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท ทั้งนี้มติ ครม.เมื่อวันที่ 23 เม.ย.67 ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้มีอายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน สัญชาติไทย มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท นั้น ซึ่งจะแจกให้ประชาชน 50 ล้านคน จึงทำให้คนอีกกว่า 10 ล้านคน ไม่ได้รับแจกเงินตามโครงการดังกล่าวด้วย กรณีนี้จึงเข้าข่ายเป็นการกระทำของ ครม.ที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักความเสมอภาค

นายเรืองไกร กล่าวต่อว่า หากเทียบเคียงตามแนวคำพิพากษาของศาลปกครอง โครงการแจกเงิน 10,000 บาท ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบแล้วนั้น จึงเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 4 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง จึงร้องได้ 2 ทาง คือ 1. ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (2) และ 2. ร้อง ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 (1) ซึ่งขณะนี้ ควรร้องไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อส่งให้ศาลปกครองวินิจฉัยก่อน ส่วนการร้องไปที่ ป.ป.ช. นั้น ควรรอให้ ส.ส. ร่วมกระทำการก่อน แล้วค่อยร้องตามหลัง วันนี้ตนจึงส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS ถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครองและให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า

“มติ ครม.ที่เห็นชอบโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัล วอลเล็ต โดยจำกัดกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 50 ล้านคน โดยไม่ได้ให้สิทธิประชาชนทั่วไปอื่นอีกกว่า 10 ล้านคน นั้น เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ขัดต่อหลักนิติธรรม ขัดต่อหลักความเสมอภาค และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 4 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง หรือไม่”นายเรืองไกร กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img