วันอังคาร, พฤศจิกายน 12, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSBEM พร้อมเข้าพื้นที่ลุยสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส.ค.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

BEM พร้อมเข้าพื้นที่ลุยสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส.ค.นี้

“พงษ์สฤษดิ์” ประกาศความพร้อมเข้าพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มรื้อย้ายสาธารณูปโภคทันที หากได้รับหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่จากรฟม. พร้อมออกแบบพัฒนาสถานีเป็นหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมตามสถานที่สำคัญที่แนวรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการ

นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยความโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างรอ รฟม. ออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ในช่วงวันที่ 31 ก.ค.หรือวันที่ 1 ส.ค.นี้ ซึ่งบริษัทมีความพร้อมในแรงงาน วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ คาดว่าภายหลังได้รับ NTP จะสามารถเข้าพื้นที่พร้อมกันทุกจุดของสัญญาก่อสร้าง เพื่อเริ่มเตรียมรื้อย้ายสาธารณูปโภค

ทั้งนี้ตามแผนจะสามารถติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ จัดหาขบวนรถเพื่อมาเปิดให้บริการเดินรถส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ภายในสิ้นปี 2570 เพื่อเป็นของขวัญให้ประชาชน รวมทั้งจะเร่งรัดงานโยธาส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ให้แล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนด

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม.ยังมีการกำหนดให้ออกแบบพัฒนาภายในสถานีรถไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้โครงการรถไฟฟ้าสายนี้ เป็นระบบขนส่งที่ประชาชนใช้บริการ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมตามสถานที่สำคัญที่แนวรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการ และผลักดันให้เกิดแลนด์มาร์กใหม่ด้านการท่องเที่ยว

ทั้งนี้บริษัท ฯ ได้ลงนามสัญญาจ้าง บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เพื่อดำเนินงานออกแบบ และก่อสร้างงานโยธา (Civil Works Contract) และสัญญาจ้างงานจัดหาระบบรถไฟฟ้า (M&E Works Contract) รวมมูลค่ากว่า 1.1 แสนล้านบาท

โดยวางแผนดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 6 ปี โดย BEM คาดว่าจะเร่งรัดงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนกำหนด เพื่อเปิดให้บริการได้ภายในปี 2573  ประกอบด้วย

ปีที่ 1 งานออกแบบและเข้ารื้อย้ายสาธารณูปโภค ขุดสำรวจใต้ดิน เพื่อเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง

ปีที่ 2 เริ่มขุดเจาะสถานี และทำผนัง

ปีที่ 3-5 จุดเจาะอุโมงค์ใต้ดิน

ปีที่ 5-6 เก็บรายละเอียดงานก่อสร้าง พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและทดสอบระบบ

นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK กล่าวว่า รฟม.ได้ออกแบบสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้มไว้บางส่วน ซึ่งจะมีการตกแต่งภายในสถานีให้สอดคล้องไปกับสถานที่สำคัญในพื้นที่นั้นๆ คล้ายกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ของสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เพราะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย อาทิ สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด และสถานีสนามไชย

อย่างไรก็ตาม  รฟม.ออกมาเปิดเผยถึงแนวคิดในการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม  เช่น สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ (OR13) จะนำเสนอภาพศิลปะแบบ Graphic Art โดยสะท้อนถึงรูปแบบวัฒนธรรมของประเทศไทย สถานี รฟม. (OR14) เนื่องจากตั้งอยู่ด้านหน้าของสำนักงาน รฟม. จึงจะมีการออกแบบผนังด้วย Graphic Art ที่เล่าบอกถึงประวัติ และโครงข่ายรถไฟฟ้าในไทย ส่วนสถานีรามคำแหง 12 (OR16) ตั้งอยู่บริเวณถนนรามคำแหง บริเวณโดยรอบเป็นที่ตั้งร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าและที่อยู่อาศัย Graphic Art จึงออกแบบสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนเมือง เป็นต้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img