วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"กมธ.การเมือง" สภาชงรายงานให้พรรคเกิดได้ อยู่ได้ ตายยาก แนะยุบพรรคยกเลิกการตัดสิทธิเลือกตั้ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กมธ.การเมือง” สภาชงรายงานให้พรรคเกิดได้ อยู่ได้ ตายยาก แนะยุบพรรคยกเลิกการตัดสิทธิเลือกตั้ง

“กมธ.การเมือง” สภา ชงรายงานสร้างพรรคการเมืองเข้มแข็ง เสนอแก้ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ให้พรรคเกิดได้ อยู่ได้ ตายยาก ปรับกรอบยุบพรรค เลิกการตัดสิทธิเลือกตั้ง

วันที่ 1 ส.ค.2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณา รายงานศึกษาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่อง ข้อเสนอในการส่งเสริมสถาบันพรรคการเมือง ให้ยึดโยงกับประชาชน

โดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ฐานะประธานกมธ.การพัฒนาการเมือง กล่าวรายงานตอนหนึ่งว่าในแนวทางการศึกษามีโจทย์ คือ ให้พรรคการเมืองเกิดได้ อยู่ได้ ตายยาก เพื่อสร้างระบบการเมืองที่มีประสิทธิภาพ และทำให้พรรคสามารถจัดตั้งได้ง่าย โดยลดเงื่อนไขการจัดตั้ง เช่น ทุนประเดิม 1 ล้านบาท ให้มีผู้ร่วมก่อตั้งพรรค 500 คน และลดปริมาณเอกสารรวมถึงเงื่อนไขที่ไม่สามารถทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงข้อกำหนดของการมีสาขาพรรคที่ทำให้การเกิดพรรคการเมืองที่ขับเคลื่อนเชิงประเด็นหรือเชิงพื้นที่ได้ยาก นอกจากนั้นมีบทเพื่อสนับสนุนการขยายฐานสมาชิกพรรคที่รวดเร็ว โดยให้ประชาชนสมัครสมาชิกได้ง่าย ลดเอกสารการสมัครหรือบังคับให้พรรคเก็บค่าสมัครสมาชิก

นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่า ในประเด็นที่ทำให้พรรคการเมืองอยู่ได้ ทั้งนี้การทำพรรคให้อยู่ได้ในทางการเงิน โดยมีข้อเสนอปรับกติกาให้พรรคการเมืองสามารถระดมทุนจากประชาชนและผู้บริจาครายย่อยได้ง่าย เช่น ขายสินค้าออนไลน์ และทำให้การระดมทุนจากผู้บริจาครายใหญ่ทำได้ยากขึ้น เพื่อป้องกันการครอบงำโดยทุนใหญ่ รวมถึงลดเงื่อนไขที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายทางธุรการ เช่น ให้จัดประชุมพรรคผ่านออกนไลน์ได้ ลดข้อห้ามการนำเงินไปทำกิจกรรรมใดๆทางการเมือง ส่วนประเด็นการทำให้พรรคการเมืองตายยาก ทั้งนี้ 17 ปี มีพรรคการเมืองที่ถูกยุบโดยศาลรัฐธรรมนูญ ถึง5พรรค ทั้งนี้ตนไม่ปฏิเสธกับการลงโทษพรรคการเมืองที่ทำผิดและได้พิสูจน์โดยองค์กรที่เป็นกลาง และบังคับใช้กับผู้กระทำผิดอย่างจำกัดและได้สัดส่วนกับฐานความผิด ดังนั้นข้อเสนอ คือ ปรับรายละเอียดให้เหมาะสม สมดุลและได้สัดส่วน เช่น ลดสภาพบังคับให้ทำไพรมารี่โหวต การมีสาขาพรรคตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดในเวลาที่กำหนดซึ่งมีผลให้พรรคต้องสิ้นสภาพหากไม่ทำตาม เป็นมาตรการที่เป็นการสร้างแรงจูงใจทางการเมือง ผ่านการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการเมือง

“ทบทวนเงื่อนไขการยุบพรรคให้สอดคล้องกับหลักสากล และเป็นมาตรการสุดท้ายสำหรับกรณีร้ายแรง ไม่ใช่ใช้กลั่นแกล้งทางการเมือง เช่น กรณีทุจริต ทำผิด เกี่ยวกับการบริหารจัดการพรรค เปลี่ยนจากการลงโทษโดยยุบพรรค เป็น ลงโทษกรรมการบริหารพรรครายบุคคหรือคณะ ส่วนกรณีข้อหาล้มล้างการปกครอง ให้ยุบพรรคเฉพาะกรณีที่พรรคได้ทำการล้มล้างการปกครองที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทำผิดอาญาว่าด้วยล้มล้างการปกครอง นอกจากนั้นให้ยกเลิกบทลงโทษว่าด้วยการเพิกถอนสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ที่เป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน” ประธานกมธ.การเมือง กล่าว

นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอขอกมธ.นั้นเพื่อทำให้พรรคการเมืองยึดโยงพับประชาชน และมีกติกากำกับที่เสรี เป็นธรรม ทันสมัยและสากล หลังจากรับฟังอภิปายและข้อเสนอแนะของ สส. หวังว่าทุกพรรคร่วมกันเสนอร่างแก้ไข พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับกลาง เพื่อผลักดันให้ให้เกิดขึ้น

“ไม่รู้ว่าโชคชะตาเล่นตลกหรือไม่ ที่ทำให้รายงานมีข้อเสนอแก้ไข พ.ร.ป.พรรคการเมืองและเงื่อนไขยุบพรรคเข้าสู่สภา ไม่ถึงสัปดาห์ ที่พรรคต้นสังกัดผมจะตัดสินยุบพรรค ตามพ.ร.ป.พรรคการเมืองที่ใช้ปัจจุบัน ทั้งนี้ข้อเสนอไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมายได้ทันกับคำวินิจฉัยยุบพรรคพรรคก้าวไกลวันที่ 7 ส.ค. นี้ ขอให้สบายใจและไว้วางใจว่าไม่ได้เสนอเพื่อผลประโยชน์พรรคใด แต่ยืนยันหลักการที่ถูกต้องและยกระดับสุขภาพของประชาธิปไตยในประเทศไทย” นายพริษฐ์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img