วันจันทร์, กันยายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกPRไทยพีบีเอส-ภาคีฯเปิดพื้นที่ Policy Forum “กฎหมายชาติพันธุ์ ฉบับแรกของไทย”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไทยพีบีเอส-ภาคีฯเปิดพื้นที่ Policy Forum “กฎหมายชาติพันธุ์ ฉบับแรกของไทย”

The Active ไทยพีบีเอส จับมือภาคีเครือข่าย ร่วมเฉลิมฉลองวันชนเผ่าพื้นเมืองโลก ชวนชิมข้าวปลา อาหาร ช็อปของดีส่งตรงจากชุมชน พร้อมเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน Policy Forum
“เส้นทาง ความหวัง กฎหมายชาติพันธุ์ ฉบับแรกของไทย”

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส โดยศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ หรือ The Active ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย เปิดบ้านชวนล้อมวงกินข้าว ฟังเรื่องเล่า เส้นทางความหวัง กฎหมายชาติพันธุ์ ฉบับแรกของไทย เพื่อเฉลิมฉลองต้อนรับวันชนเผ่าพื้นเมืองโลก ในวันที่ 9 สิงหาคมของทุก ๆ ปี

โดยภายในกิจกรรมนี้ มีกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองจากทั่วประเทศกว่า 250 คน พร้อมทั้งตัวแทนผู้ร่วมผลักดันกฎหมายและผู้แทนจากพรรคการเมืองต่าง ๆ มาร่วมชิมข้าวปลา อาหาร ช็อปของดีส่งตรงจากชุมชน มีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าและอาหารท้องถิ่น การแสดงดนตรี การละเล่นของกลุ่มชาติพันธุ์จากภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลอง ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง

อีกทั้งยังมีการเปิดพื้นที่ จัดกิจกรรมเสวนาเชิงนโยบาย หรือ Policy Forum ครั้งที่ 16 ในหัวข้อ “เส้นทาง ความหวัง กฎหมายชาติพันธุ์ ฉบับแรกของไทย”  พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับตัวแทนผู้ร่วมผลักดันกฎหมาย และผู้แทนจากพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมถึงพูดคุยเรื่องเล่าระหว่างทางจนถึงความคืบหน้า “กฎหมายชาติพันธุ์” ฉบับแรกของไทย เพื่อนับถอยหลังสู่เป้าหมายและหาฉันทมติร่วมกัน

ศักดา แสนมี่ กมธ.วิสามัญ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สัดส่วนสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ได้เห็นภาพของชนพื้นเมืองหรือคนจากกลุ่มชาติพันธุ์ได้เข้ามาเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ได้มีส่วนร่วมกับกระบวนการทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากนี้ แต่ละฝ่าย
แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมถึงเปิดพื้นที่จัดเวทีพูดคุย เพื่อจะได้คลายข้อกังวลต่าง ๆ และร่วมกันสนับสนุน ส่งเสริมให้กฎหมายฉบับนี้ได้เดินไปในเส้นทางที่วาดหวัง

ในด้านของความคืบหน้าการพิจารณา “กฎหมายชาติพันธุ์” อภินันท์ ธรรมเสนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สรุปไว้ว่า ขณะนี้ได้พิจารณาแล้วครบทุกมาตรา เพียงแต่เหลือการทบทวนถ้อยคำหรือข้อความในร่างกฎหมายให้มีความสม่ำเสมอและครอบคลุมต่อคนทุกกลุ่ม ซึ่งมีประเด็นที่ละเอียดอ่อน ดังเช่นเรื่องการนิยามคำศัพท์ บทบาทและหน้าที่ของสภาชนเผ่าพื้นเมือง และเรื่องเขตพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ในชั้นกรรมาธิการน่าจะพิจารณากฏหมายเสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2567 และนำไปสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ผศ. สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการภูมิวัฒนธรรม วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ข้อเสนอแนะว่า ชุมชนชาติพันธุ์มีพลวัตทางสังคมและมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน จึงสำคัญที่เราต้องออกแบบกฎหมายที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่หลากหลายของผู้คน ต่อมาคือปรับนิเวศทางสังคมเพื่อเอื้อต่อการปรับตัวและยกระดับศักยภาพของผู้คนกลุ่มชาติพันธุ์ สุดท้ายคือการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ กล่าวคือ กลไกการพิจารณากฎหมายจะต้องอยู่บนฐานของภาคประชาชน และได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการร่วมออกแบบ เพื่อเคารพความคิดที่หลากหลายและป้องกันการเกิดอำนาจรวมศูนย์จากภาครัฐ

ณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือแนวทางการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม คือ การยอมรับความหลากหลาย การมีเจตจำนงร่วมกันของทุกฝ่าย การก้าวข้ามการเป็นพรรคการเมือง และการเปิดข้อถกเถียงในสภา เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและบรรลุเป้าหมาย ซึ่งคือการผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์ให้สำเร็จลุล่วง 

“ไทยพีบีเอสได้จัดทำ “Policy Watch” แพลตฟอร์มที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมบนระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของประเทศที่เชื่อมโยงกับประชาชน เป็นพื้นที่ในการให้ข้อมูล ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการกระบวนการกฎหมาย รวมถึงการติดตามคืบหน้านโยบายการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ การผลักดันกฎหมาย ความเคลื่อนไหวในการพิจารณากฎหมายแต่ละขั้นตอน และการประกาศพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรม โดยสามารถติดตามได้ที่ https://policywatch.thaipbs.or.th/ณาตยา กล่าว

สามารถติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที่

▪ Website : www.thaipbs.or.th
▪ Application : Thai PBS

▪ Social Media Thai PBS : FacebookYouTubeX (Twitter)LINETikTokInstagramThreads

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img