วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightพิษโควิดแนะใช้ 3R รีบูตทักษะยุคดิจิทัล ‘ฟื้นตัวความเร็ว 2 ระดับในรูปแบบตัว K’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พิษโควิดแนะใช้ 3R รีบูตทักษะยุคดิจิทัล ‘ฟื้นตัวความเร็ว 2 ระดับในรูปแบบตัว K’

“แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” ชี้ผลกระทบโควิด แนะใช้ 3R รีบูตทักษะยุคดิจิทัล คาดการณ์ในอีก 1 ปีต่อจากนี้จะเห็นภาพความเร็วในการฟื้นตัวที่ความเร็วสองระดับในรูปแบบตัวเค สะท้อนระดับทั้งความต้องการสูง-ความต้องการลดลง

จากสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการทำงานในรูปแบบการทำงานทางไกลที่สอดคล้องกับวิถีความปกติใหม่ (New Normal) โดยจะได้เห็นเพิ่มมากขึ้นทั้งจากฝั่งนายจ้างและแรงงาน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดผลกระทบโควิดในตลาดงาน แนะใช้หลักเดินเครื่องรีบูตทักษะรับยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงเร็ว พร้อมชี้สัญญาณอีก 1 ปี การฟื้นตัวแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความต้องการสูง และ กลุ่มที่มีความต้องการลดลง    

มร.โจนาส ไพรซิง ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานครั้งใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นวิกฤตด้านสุขภาพและพัฒนาไปสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจกับสังคม โดยในช่วงแรกภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบริการ, การเดินทางและแม้แต่การผลิตเกิดภาวะหยุดชะงักในชั่วข้ามคืน ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ เทคโนโลยี, การดูแลสุขภาพ, โลจิสติกส์และการค้าปลีก มีความต้องการด้านแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกัน องค์กรต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ในขณะที่ประชากรร้อยละ 93 มีวิธีการทำงาน รูปแบบการใช้ชีวิตและการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งนี้จากการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้นกลับเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ

บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลนับเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการคาดการณ์มาก่อน ซึ่งสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของผู้คนและสร้างโลกที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น มีความยืดหยุ่นด้านกำลังคน รวมถึงการเรียกร้องให้เกิดการผสมผสานระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานที่ดีขึ้น การมีทักษะที่สูงขึ้นและการมีอิสระในการทำงานมากขึ้น ทั้งในแง่ของวิธีการ, เวลาและสถานที่งาน ทั้งหมดเป็นผลจากการระบาดไวรัสใหญ่ครั้งนี้

จากภาพข้างต้นที่เรียกว่า THE EMERGENCE OF THE K RECOVERY หรือ การฟื้นตัวในรูปแบบตัวเค ทั้งนี้จากผลการวิจัยมีการคาดการณ์ว่าในอีก 1 ปีต่อจากนี้จะเห็นภาพและความเร็วในการฟื้นตัวในสองระดับ โดยอุตสาหกรรมบางอย่างและผู้คนจะกลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้นและดีขึ้น ได้แก่ บุคคลที่อยู่ในภาคธุรกิจที่มีการเติบโตและมีทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการสูง อาทิ นักวิเคราะห์การจัดการและองค์กร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนทางโลจิสติกส์และคลังสินค้า, ผู้จัดการโครงการ, ช่างซ่อมเครื่องจักรวิศวกรหุ่นยนต์, วิศวกรเทคโนโลยีการเงิน, พันธมิตรทางธุรกิจด้านทรัพยากรมนุษย์, นักพัฒนาแอปพลิเคชั่น นักวิเคราะห์ข้อมูลหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการอัตโนมัติ เป็นต้น ในขณะที่บางส่วนงานมีความเสี่ยงและมีความต้องการกำลังลดลง อาทิ พนักงานให้ข้อมูลลูกค้าและพนักงานบริการลูกค้า, ช่างติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม, คนงานก่อสร้าง เสมียนกรอกข้อมูล, ผู้จัดการฝ่ายบริการธุรกิจและธุรการ, พนักงานบัญชี การจัดทำบัญชีและบัญชีเงินเดือนหรือพนักงานธนาคาร เป็นต้น ทั้งนี้สิ่งสำคัญในการรับมือการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal นี้ การพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานเป็นหัวใจสำคัญ, ความสามารถในการปรับตัวทุกสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง, การคิดเชิงวิพากษ์และการวิเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดริเริ่ม ล้วนเป็นส่วนเสริมรองรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

จากการสอบถามนายจ้างมากกว่า 26,000 ราย ในกว่า 40 ประเทศ ระบุว่า วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อแผนการแปลงกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติอย่างไร ในส่วนหน้าที่การทำงาน, อุตสาหกรรมและภูมิศาสตร์ใดมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ทางด้านการจัดลำดับความสำคัญของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรอันเป็นผลมาจากวิกฤตดังกล่าว 

ส่วนนายจ้างคิดอย่างไรเกี่ยวกับแผนการเพิ่มทักษะในปัจจุบันและอนาคต ผลวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงการปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเพื่อการผสมผสานที่ดีที่สุดระหว่างบุคลากรที่มีความสามารถและเทคโนโลยีทั้งในส่วนหน้าและส่วนกลาง องค์กรจึงมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากกำลังเตรียมพร้อมโดยการมุ่งเน้นการวางแผนด้านแรงงาน และความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มขึ้นเพื่อจัดการกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยง การค้นพบครั้งนี้ทำให้เห็นว่าองค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนพนักงาน 250 รายขึ้นไปวางแผนที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้นและมีการจ้างงานมากที่สุด ในทางกลับกัน องค์กรขนาดเล็กได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดใหญ่ และมีความเป็นไปได้ว่าจะระงับแผนการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลและลดแผนการจ้างงาน สิ่งที่น่าจับตามองคือ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่สุดจากภาวะวิกฤตในช่วงเริ่มต้น ได้แก่ ภาคการผลิต, การก่อสร้าง และการค้าปลีก ได้ถูกแยกออกจากกัน อุตสาหกรรมบางอย่างใช้ระบบอัตโนมัติและระบบดิจิทัลเพื่อที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ ใช้วิธีการรอ สังเกตการณ์และระงับแผนดังกล่าว

จากผลวิจัยพบว่า ภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ, เศรษฐกิจและสังคมทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต้องใช้แนวทางการให้ความสำคัญแก่บุคลากรเป็นอันดับแรก และเห็นว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นรากฐานของกลยุทธ์ทางธุรกิจ สำหรับปีพ.ศ.2564 เป็นต้นไป ผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลเล็งเห็นว่าสุขภาพและสุขภาวะของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยมีความสำคัญเป็นสองเท่าในลำดับความสำคัญถัดจากการสร้างรูปแบบการทำงานใหม่และการผลักดันให้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มทักษะ, การเรียนรู้และการพัฒนา ผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลร้อยละ 63 เห็นว่าสุขภาพและสุขภาวะของพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

นอกจากนี้ ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของโควิด-19 ต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล โดย ทักษะด้านอารมณ์และสังคม + ทักษะด้านเทคนิค = พลังของมนุษย์ ในขณะที่องค์กรต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วและในวงกว้าง ความต้องการด้านทักษะก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ภายในปีพ.ศ.2568 มนุษย์และเครื่องจักรจะแยกหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานออกจากกันร้อยละ 50-50 โดยจะเกิดงานใหม่ 97 ล้านตำแหน่งในภาคส่วน AI (ปัญญาประดิษฐ์), เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจใส่ใจ ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือการนำทุกคนไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้และปกป้องบุคคลที่ชีวิตได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการสร้างงาน

การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนรู้: แนวโน้มการเรียนรู้แบบกระชับ การฝึกอบรมมีแนวโน้มว่าจะสั้นลงและเกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทางด้านพนักงานต้องการเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความเกี่ยวข้องกับตนเองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

การเริ่มใหม่เพื่อพัฒนาทักษะ – หลักการ 3 อาร์ (The 3 Rs): การเริ่มใหม่ (Renew), การปรับทักษะใหม่ (Reskill), การจัดสรรบุคลากรใหม่ (Redeploy) จะเข้ามาช่วยในส่วนการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัล องค์กรต่างๆ ต้องหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำสิ่งเก่าๆ หรือวิธีการใหม่ๆ ในการทำสิ่งใหม่เนื่องจากทั้งธุรกิจดั้งเดิมและธุรกิจใหม่ต่างก็ต้องปรับตัว ใช้นวัตกรรมดิจิทัลและใช้ประโยชน์จากโอกาสทางระบบออนไลน์ให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ ผลการวิจัยที่แมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้จัดทำขึ้นเป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิดในปีแรกสู่ปีถัดไป ซึ่งทักษะการทำงานนับเป็นหัวใจสำคัญที่นายจ้างต้องการและลูกจ้างต้องพัฒนาทักษะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ สิ่งเกินการคาดการณ์ การช่วยให้ผู้คนเตรียมทักษะล่วงหน้า เพิ่มทักษะและปรับทักษะใหม่สำหรับบทบาทซึ่งเป็นที่ต้องการในการพัฒนาทักษะครั้งนี้ยังคงเป็นความท้าทายของทศวรรษนี้

ซึ่งมีความสำคัญก่อนการระบาดใหญ่และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เพื่อสร้างสถานที่ทำงานที่ดียิ่งขึ้นโดยเป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และมีส่วนร่วมในความเจริญก้าวหน้าอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ถึงเวลาสำคัญที่ทุกองค์กรและบุคลากรต้องพร้อมรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลง  

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img