วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightร้อง‘กกต.’ตรวจสอบ‘พรรคกลิ่นกาขาวชาววิไล’ ยกรธน.หลายมาตรามีเหตุสิ้นสภาพไปแล้วหรือไม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ร้อง‘กกต.’ตรวจสอบ‘พรรคกลิ่นกาขาวชาววิไล’ ยกรธน.หลายมาตรามีเหตุสิ้นสภาพไปแล้วหรือไม่

“เรืองไกร” ร้อง กกต. ตรวจสอบ “พรรคกลิ่นกาขาวชาววิไล” ยกรธน.หลายมาตราเกี่ยวข้อง มีเหตุสิ้นสภาพไปแล้ว หรือไม่

วันที่ 18 ส.ค. 2567 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า ช่วงนี้กำลังรวบรวมเรื่องนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ตามรัฐธรรมนูญหลายมาตรา ตามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีมากมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญหลายมาตรา กฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรม ด้วย รวมทั้งกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มีประเด็นที่ต้องขอให้ กกต. ตรวจสอบว่า พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ที่เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคประชาชน และมี สส. ในนามพรรคประชาชน เข้าไปร่วมเป็นองค์ประชุมในวันดังกล่าวนั้น หากพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล มีเหตุสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองไปแล้ว การเลือกนายกรัฐมนตรีจะชอบหรือไม่ จะเป็นโมฆะหรือไม่

นายเรืองไกร กล่าวว่า ในวันนี้ ตนจึงส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS ถึง กกตเพื่อขอให้ตรวจสอบ ดังนี้ ข้อ 1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตราที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ “มาตรา 33 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนพรรคการเมืองต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการให้มีจำนวนสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าพันคน และต้องเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนภายในสี่ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน 2. จัดให้มีสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่คณะกรรมการกำหนดอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา โดยสาขาพรรคการเมืองแต่ละสาขาต้องมีสมาชิกที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของสาขานั้นตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป”

“มาตรา 90 พรรคการเมืองสิ้นสุดลงเมื่อ1.สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองตามมาตรา 91”
“มาตรา 91 พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อ
1.ไม่แก้ไขข้อบังคับให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 17 วรรคสาม หรือไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา 33 (1) หรือ (2) ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด”
“มาตรา 141/1 เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวมีผลใช้บังคับ พรรคการเมืองใดประสงค์จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้แจ้งให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวัน และเมื่อได้แจ้งเรื่องดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง
3.จัดตั้งสาขาพรรคการเมืองหรือแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด พร้อมทั้งแจ้งรายการตามมาตรา 33 หรือมาตรา 35”

นายเรืองไกร กล่าวว่า ข้อ 2. เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2567 เว็บไซต์มติชน หัวข้อ กกต.คอนเฟิร์ม ‘ถิ่นกาขาว’ ตั้งสาขาครบ4ภาค ใน1 ปีตามกม.กำหนดแล้ว แต่ยังไม่อัพเดตระบบ ลงข่าวไว้ส่วนหนึ่งว่า
“เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนายทะเบียนพรรคการเมือง กล่าวกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี จะยื่น กกต.ยุบพรรคประชาชน เนื่องจากพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคประชาชน มีการจัดตั้งสาขาพรรคไม่ครบ 4 สาขา ว่า ตามกฎหมายพรรคการเมือง ทุกกิจกรรมของพรรคจะสมบูรณ์ทันทีเมื่อพรรคได้ดำเนินการ แต่เมื่อยื่นต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้วหากพบว่าดำเนินการไม่ถูกต้องก็จะมีผลย้อนหลังให้การกระทำนั้นเสียไป ซึ่งในกรณีการจัดตั้งสาขาพรรคของพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลนั้นพบว่า 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้มีการประชุมจัดตั้งสาขาพรรคในส่วนที่ขาดอยู่จนครบ และระยะเวลาการจัดตั้งก็อยู่ภายใน 1 ปีที่กฎหมายกำหนด ขณะนี้มีการจะส่งเรื่องมาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบตามขั้นตอน”
ข้อ 3. กรณีตามข่าวที่ระบุว่า “… ซึ่งในกรณีการจัดตั้งสาขาพรรคของพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลนั้นพบว่า 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้มีการประชุมจัดตั้งสาขาพรรคในส่วนที่ขาดอยู่จนครบ และระยะเวลาการจัดตั้งก็อยู่ภายใน 1 ปีที่กฎหมายกำหนด …” นั้น อาจจะคลาดเคลื่อนไปจากมาตรา 33 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ เทียบเคียงกรณีตามประกาศกกต. เรื่องพรรคสยามพลสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
ข้อ 4. ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง พรรคสยามพลสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 (ลงราชกิจจา วันที่ 25 มกราคม 2567) มีความว่า
“ตามที่นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มีประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2565 เรื่อง การจดทะเบียนจัดตั้งพรรคสยามพล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 นั้น

นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคสยามพลไม่สามารถดำเนินการให้มีจำนวนสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าพันคน และจัดให้มีสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดทะเบียน จึงเป็นเหตุให้สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศให้พรรคสยามพลสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”

ข้อ 5. จากการตรวจสอบในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา พบประกาศของนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562 ที่ระบุไว้บางส่วน ดังนี้
“ตามที่มาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ลงวันที่ 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2560 กำหนดให้พรรคการเมืองที่จัดตั้ง หรือเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 และยังดำรงอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ใช้บังคับเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นั้น บัดนี้ หัวหน้าพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ได้มีหนังสือแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 กรณี พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ได้ดำเนินการจัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค จัดทำคำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง นโยบายของพรรค และการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลชุดใหม่ ซึ่งพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ได้ดำเนินการตามมาตรา 141/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2561 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2561 ดังนี้
1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค คำประกาศอุดมการณ์ และนโยบายของ พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล พ.ศ. 2561 ดังนี้
ข้อบังคับพรรคพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล พ.ศ. 2561”
ข้อ 6. ข้อบังคับพรรคพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล พ.ศ. 2561 ข้อ 28 ระบุว่า
“ข้อ 28 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษา ต้องดำเนินการให้มีสาขาพรรคในแต่ละภาค ตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด อย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา โดยสาขาพรรคแต่ละสาขาต้องมีสมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเขตจังหวัดตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป”
ข้อ 7. กรณีตามข่าวของเว็บไซต์มติชน วันที่ 11 สิงหาคม 2567 ที่นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนายทะเบียนพรรคการเมือง ระบุว่า “… ซึ่งในกรณีการจัดตั้งสาขาพรรคของพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลนั้นพบว่า 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้มีการประชุมจัดตั้งสาขาพรรคในส่วนที่ขาดอยู่จนครบ และระยะเวลาการจัดตั้งก็อยู่ภายใน 1 ปีที่กฎหมายกำหนด …” นั้น อาจไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดบังคับไว้ เพราะหากพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลพึ่งมีการจัดตั้งสาขาของพรรคถิ่นกาขาวเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2567 ทั้งที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับพรรคการเมืองไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 ดังนั้น การที่นายทะเบียนพรรคการเมืองให้ข่าวว่า พรรคถิ่นกาขาวชาววิไลพึ่งมาตั้งสาขาพรรคเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2567 กรณี ย่อมมีเหตุให้พิจารณาว่า การตั้งสาขาพรรคเมื่อต้นสิงหาคม 2567 นั้น เกินกำหนดระยะเวลาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนพรรคการเมืองกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หรือไม่ และเป็นเหตุให้พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ต้องสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง ไปแล้วหรือไม่
ข้อ 8. ดังนั้น หากเทียบกับกรณีของพรรคสยามพลที่สิ้นสภาพตามประกาศ กกต. ดังกล่าว กรณี จึงมีเหตุอันควรขอให้ กกต. ตรวจสอบต่อไปว่า พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล มีเหตุต้องสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 แล้วหรือไม่
ข้อ 9. หากพรรคพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลมีเหตุต้องสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง ปัญหาการเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคประชาชนจะชอบหรือไม่ และบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นองค์ประชุมในนามพรรคประชาชน ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 จะชอบหรือไม่ และผลโหวตให้บุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีจะจะตกเป็นโมฆะ หรือไม่
นายเรืองไกร สรุปในท้ายหนังสือว่า จึงเรียนมาเพื่อขอให้ กกต. ตรวจสอบว่า พรรคถิ่นกาขาวชาววิไลสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคประชาชน ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 แล้วหรือไม่ และส่งเรื่องต่อให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยว่า ชอบหรือไม่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img