วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ไพบูลย์”ซัด“อุ๊งอิ๊ง”ผิดคำมั่นร่วมรัฐบาล ขาดคุณสมบัติไม่ซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ไพบูลย์”ซัด“อุ๊งอิ๊ง”ผิดคำมั่นร่วมรัฐบาล ขาดคุณสมบัติไม่ซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์

“ไพบูลย์” ยกข้อกฎหมาย-คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญชี้ “อุ๊งอิ๊ง” ผิดคำมั่นให้ “พปชร.” ร่วมรัฐบาล เสี่ยงขาดคุณสมบัติไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ บอกสื่อให้ห่วงนายกฯ ไม่ต้องห่วงพปชร. ปัดไม่รู้เรื่อคลิปคนบ้านจัทร์เรียก รมต.และไม่คิดขับ ร.อ.ธรรมนัส

เมื่อวันที่ 29 ส.ค.67 นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐว่า ส่วนตัวได้แจ้งในที่ประชุมทราบว่ามีปรากฏตามข่าวว่ากรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยมีมติไม่ให้พรรคพลังประชารัฐร่วมรัฐบาล ซึ่งส่วนตัวได้แจ้งเพิ่มเติมว่าเรื่องของพรรคพลังประชารัฐไม่เกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย แต่เกี่ยวตรงกับนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก นายกรัฐมนตรีเคยมีสัญญาประชาคมหรือเรียกว่าข้อตกลง ที่เสมือนเป็นคำมั่นกับพรรคพลังประชารัฐที่แสดงออกต่อสาธารณะว่าจะให้พรรคพลังประชารัฐลงมติเห็นชอบให้ตัวตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วจะให้พปชร.ได้มีที่นั่งในคณะรัฐมนตรีด้วยตามสัดส่วนเดิม ซึ่งทางพรรคเองได้ให้ส.ส. ไปลงมติสนับสนุนให้นางสาวแพรทองทาชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งสาม 39 คนมีเพียงพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ติดภารกิจไม่สามารถไปร่วมออกเสียงได้ แสดงว่าพรรคได้ทำตามคำมั่นแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงควรต้องทำตามคำมั่นที่ให้ไว้เช่นกัน

โดยนายไพบูลย์ ได้ยกกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 362 บัญญัติว่า “บุคคลออกโฆษณาให้คำมั่น ว่าให้รางวัลแก่ผู้ ซึ่งกระทำการอันใดก็จำต้องให้รางวัลใดๆ ผู้ได้กระทำการอันนั้น แม้ถึงไม่ใช่ว่า ผู้นั้นจะกระทำการโดยเห็นแก่รางวัล” ยืนยันว่านี่ไม่ใช่การกดดันเป็นเพียงการพูดข้อกฎหมายเท่านั้น ซึ่งในกรณีของนายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นกับพรรคพลังประชารัฐ และในครั้งหลังสุดนายกรัฐมนตรีก็ได้ออกมายืนยันว่าพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรครวมรัฐบาล จึงถือว่าครบสมบูรณ์ตามหลักการของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

‘“ยืนยันกับสื่อมวลชนว่า พรรคพลังประชารัฐสบายมาก หัวหน้าพรรคมีความสุข มีความเข้มแข็งและแน่วแน่ที่จะดูแล ในฐานะหัวหน้าพรรคไปตลอดจนกว่าจะไม่ไหว ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้น หากเป็นไปตามนั้น ก็ถือว่าเฉยๆ ที่ประชุมไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้เลย เพราะไม่ถือว่าต้องเป็นห่วง แต่คนที่ควรเป็นห่วงคือนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันมากกว่า เพราะการที่ให้คำมั่นสัญญาครบถ้วนสมบูรณ์แบบแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามคำมั่น วิญญูชนโดยทั่วไปก็จะว่าได้ว่านายกรัฐมนตรี ขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์หรือไม่”นายไพบูลย์ กล่าว

ดังนั้นสื่อมวลชนควรเป็นห่วงนายกรัฐมนตรีมากกว่า เพราะหลักการมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ถือมีมีความสำคัญ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 14 ส.ค.67 บอกว่าการพิจารณาเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญตามคำปรารภที่รัฐธรรมนูญวางไว้กลไกป้องกันตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบที่เข้มงวดเด็ดขาด เพื่อไม่ให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ

“การที่ผู้ถูกฟ้องที่ 1 รู้หรือควรรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ถูกร้องที่ 2 แต่ยังเสนอแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องที่ 1 ซึ่งก็คือนายกรัฐมนตรีคนที่แล้ว ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ก็ถือว่าขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และศาลรัฐธรรมนูญยังพิจารณาต่อไปว่า เมื่อขาดคุณสมบัติ เรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมในหมวด 1 ข้อ 8 ที่บัญญัติว่า “ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต” ดังนั้นศาลจึงเสียงข้างมากวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่หนึ่งนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เนื่องจากไม่มีความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ตนตามหลักวิชาการเท่านั้น”นายไพบูลย์ กล่าว

ทั้งนี้นายไพบูลย์ กล่าวยืนยันว่า แม้ในอนาคตจะไม่ได้ร่วมรัฐบาลและต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน ก็จะไม่มีการยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี เพราะพรรคพลังประชารัรฐเป็นพรรคผู้ใหญ่ ไม่ไปทำอะไรอย่างนั้น เพียงแค่ต้องการบอกว่า เป็นเรื่องของคำมั่น ซึ่งไม่ต้องมีสัญญาหรือลงลายมือชื่อ เพราะเป็นเรื่องของการแสดงเจตนา จึงอยากถามกับนายกรัฐมนตรี ว่ามีคำมั่นแล้วไม่ปฏิบัติตาม ก็จะกลายเป็นข้อครหา ศาลรัฐธรรมนูญได้วางบรรทัดฐานไว้อย่างชัดเจน ซึ่งพลังประชารัฐไม่ได้หวังจะให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร เมื่อทำแล้ว ก็ทำต่อไปให้มันจบ ในส่วนพลังประชารัฐมีความมั่นคง และพร้อมทำทุกหน้าที่ที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน และขอฝากไปถึงพรรคเพื่อไทยว่า

“เราไม่ได้ไปเกี่ยวอะไรกับพรรคท่าน ท่านไม่ต้องมามีมติเรื่องอะไรกับเรากับนายกรัฐมนตรี”นายไพบูลย์ กล่าวและว่า ส่วนที่มีกระข่าวว่า “คนบ้านป่า” มีคลิปวิดีโอของ “คนบ้านจัทร์ส่องหล้า” ที่เรียกรัฐมนตรีหารือ ในวันที่นายเศรษฐา ทวีสิน หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนตัวไม่ทราบ แล้วต่อให้รู้ก็ไม่รู้จะพูดทำไม

ถามว่า หากมีคลิปจริง จะเป็นไม้เด็ดในเรื่องของการครอบงำพรรคหรือไม่ นายไพบูลย์ ตอบว่า เรื่องราวทั้งหมดไม่ได้มีเพียงเท่านี้ เท่าที่ดูจากสื่อมวลชน แต่วันนี้ที่ให้สัมภาษณ์ ยังต้องการจะบอกว่าให้สื่อมวลชนไปห่วงนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องห่วงพรรคพลังประชารัฐ เราสบายมาก หัวหน้าพรรคอารมณ์ดีเป็นอย่างมากในระยะนี้ ไม่รู้เพราะอะไร สิ่งที่ตนเป็นห่วง คือสถานะของรัฐบาล หากเริ่มต้นอย่างนี้ จะอยู่ไปได้นานสักเท่าไหร่ ตอนนี้ไม่สำคัญแล้วว่า จะมีชื่อพลังประชารัฐร่วมรัฐบาลหรือไม่ ยิ่งไม่มีชื่อจะกลายเป็นเรื่องดี ขอแสดงให้เห็นว่า ท่านไม่ทำตามคำมั่น และสส.ก็จะมีความสุข ทำงานอย่างเป็นอิสระไม่มีข้อจำกัดอะไร ส่วนที่ถามว่า ต้องไปเป็นฝ่ายค้าน ก็เป็นเพียงระเบียบของสภาที่กำหนดว่า เมื่อไม่มีนายกรัฐมนตรีอยู่ ก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน แต่ในการทำงานจริงๆ ก็เป็นพลังประชารัฐ ที่ทำงานตามอุดมการณ์ของตัวเองเหมือนเดิม หากไม่ได้ร่วมรัฐบาลก็ไปเป็นฝ่ายค้านไม่เห็นเป็นไร เป็นฝ่ายค้านเสียหายตรงไหน เพราะพรรคร่วมรัฐบาลตอนนี้ ก็เป็นอดีตฝ่ายค้าน ส่วนตัวมองว่าเป็นประโยชน์ หากต้องไปเป็นร่วมกับนายกรัฐมนตรี ที่ยังไม่ทันไรก็ ปฏิบัติตามคำมั่นไม่ได้ หากต้องอยู่ด้วย ก็เสียชื่อ พรรคประชาชนอาจมองเราในด้านไม่ดี ลองไปสำรวจความเห็นที่มีต่อนายกรัฐมนตรีดูว่า เป็นอย่างไร ส่วนตัวไม่อยากไปวิจารณ์ และส่วนตัวก็ดีใจที่ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวอะไรกัน

นายไพบูลย์ กล่าวย้ำว่า เป็นเรื่องภายในครอบครัวพลังประชารัฐ คนอื่นไม่อยากให้มาเกี่ยว ยืนยันว่าพรรคจะไม่มีมติขับร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ออกจากพรรค เพราะเป็นครอบครัว ใครจะขับคนในครอบครัวตัวเอง เรามีความสุขที่จะอยู่ด้วยกัน สส.พรรคพลังประชารัฐยังกินข้าวด้วยกัน มีความสุขปกติเป็นหนึ่งเดียวกันหมด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img