วันอาทิตย์, กันยายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘กัลยพัชร’แจงปมอภิปรายงบ'รง.ยาทหาร' ขออภัยข้อความบางประเด็นคลาดเคลื่อน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘กัลยพัชร’แจงปมอภิปรายงบ’รง.ยาทหาร’ ขออภัยข้อความบางประเด็นคลาดเคลื่อน

‘สส.กัลยพัชร’ โพสต์ ชี้แจงเรื่อง ‘อัลฟ่าโซแรม-ซูโดอีเฟดรีน’ ขออภัย ข้อความบางประเด็นคลาดเคลื่อน ยัน ต้องการสื่อสาร ประเด็นการถ่ายโอนธุรกิจหรือกิจการของกองทัพที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจความมั่นคง

เมื่อวันที่ 4 ก.ย.67 นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์ข้อความระบุว่า

”จากกรณีที่ดิฉันอภิปรายเรื่องงบประมาณโรงงานเภสัชกรรมทหาร และมีหลายท่านท้วงติงเกี่ยวกับข้อมูลของยา Alprazolam และ Pseudoephedrine ขอชี้แจงดังนี้.

(1) ดิฉันขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมติดตามการอภิปราย #งบ68 วาระ 2-3 ในสภาฯ เมื่อวานนี้ และขออภัยอย่างยิ่งสำหรับข้อความบางประเด็นที่คลาดเคลื่อนและสร้างความไม่สบายใจให้กับทุกคน จึงขอชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

(2) ประเด็นหลักที่ดิฉันต้องการสื่อสาร คือการพิจารณาถ่ายโอนธุรกิจหรือกิจการของกองทัพซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจความมั่นคง ให้ไปอยู่กับหน่วยงานด้านสาธารณสุข ความมั่นคงทางยาควรอยู่ในมือขององค์กรที่มีภารกิจโดยตรง ในที่นี้คือ อย. และองค์การเภสัชกรรม (GPO).

สำหรับยาที่ผลิตน้อย บริษัทเอกชนผลิตไม่คุ้มค่า แต่ยังจำเป็นต้องใช้ในการทหาร ก็สามารถใช้จ้างผลิตได้ กองทัพไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงานผลิตเอง ซึ่งจะเป็นภาระงบประมาณของประเทศโดยไม่จำเป็น.

(3) ดิฉันไม่ได้มีความตั้งใจที่จะด้อยค่าองค์ความรู้ของเภสัชกรในสังกัดกลาโหมตามที่หลายท่านตั้งข้อสังเกต หากแต่ต้องการตั้งคำถามถึงระบบและการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะงบประมาณภายใต้กระทรวงกลาโหมในสัดส่วนนี้ซึ่งอาจซ้ำซ้อนกับงบประมาณกระทรวงสาธารณสุข จึงชวนตั้งคำถามว่า การที่กองทัพมีโรงงานผลิตยาเป็นของตนเองนั้นคือภารกิจที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็สามารถถกเถียงแลกเปลี่ยนกันต่อได้ค่ะ.

(4) กรณีที่โรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตยา Alprazolam และ Pseudoephedrine ดิฉันขอชี้แจงว่า ยาทั้งสองรายการเป็นยาที่ให้ประโยชน์สูงในการรักษา แต่ถูกกำหนดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 โดยยา Alprazolam (หรือที่ อย. เรียกว่ายาเสียตัว) เป็นยาที่แพทย์จะจ่ายให้กับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอน ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น.

ส่วนยา Pseudoephedrine เป็นยาที่ใช้แก้อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล แต่มีโครงสร้างของยาใกล้เคียงกับยาเสพติด จึงมีเกณฑ์ควบคุมที่เข้มงวด ปัจจุบันห้ามวางจำหน่ายในร้านขายยาและจ่ายได้เฉพาะแพทย์ในโรงพยาบาล(ที่มีใบอนุญาติ)เท่านั้น.

– Alprazolam: narcotic.moph.go.th/information-ab

– Pseudoephedrine: narcotic.fda.moph.go.th/information-ab.

*** สิ่งที่น่าสนใจคือ ตัวแทนจากกองทัพชี้แจงต่อ กมธ.งบประมาณฯ ว่า โรงงานเภสัชกรรมทหาร ได้รับอนุญาตจาก อย. ให้เป็นผู้ผลิตยา Pseudoephedrine สูตรเดี่ยวเพียงเจ้าเดียว ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งที่เผยแพร่ว่า อย. อนุญาตให้ 2 หน่วยงาน คือ องค์การเภสัชกรรม (GPO) และโรงงานเภสัชกรรมทหาร hfocus.org/content/2012/0

อย่างไรก็ตาม ข้อน่ากังวลเกี่ยวกับการผลิตยาโดยกองทัพ คือหน่วยงานตรวจสอบของพลเรือนแทบไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ ดิฉันขอเอกสารจากกองทัพแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับอะไรกลับมา ***

(5) เนื่องด้วยเวลาการอภิปรายที่จำกัด ดิฉันจึงยังไม่ได้พูดถึงความกังวลอีกข้อ นั่นก็คือความสุ่มเสี่ยงที่จะละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น มาตรา 29 ว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับนโยบายด้านยาเสพติด ของกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน หรือ PCA ระหว่างไทย-อียู ที่เพิ่งผ่านการรับรองจากสภาไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ระบุให้มีการป้องกันการแปรสารเคมีตั้งต้น รวมถึงเคมีภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมเพื่อใช้ในการผลิตยาเสพติด

(6) สำหรับข้อความที่ดิฉันขึ้นในสไลด์การอภิปรายว่า “ทั่วโลกเลิกผลิต (ยา Pseudoephedrine) แล้ว” เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อน ข้อเท็จจริงคือ “แทบทุกประเทศที่ห่วงความปลอดภัยของประชาชน มีการควบคุมยา Pseudoephedrine อย่างเข้มข้น” และประเทศไทยเองก็เป็นประเทศหนึ่งที่จำกัดการครอบครองค่ะ

ดิฉันขอขอบคุณความคิดเห็นของทุกท่าน และจะติดตามเรื่องนี้ต่อไปตามกลไกของรัฐสภา ได้แก่ การเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลในชั้นกรรมาธิการ การตรวจเยี่ยมโรงงาน และการอภิปรายในวาระต่อไปค่ะ“

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img