วันเสาร์, กันยายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight'สุรพงษ์'นัดถกสางปมหนี้สะสม'ร.ฟ.ท.' 2.3แสนล.หลังภาครัฐจ่ายPSOไม่ครบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สุรพงษ์’นัดถกสางปมหนี้สะสม’ร.ฟ.ท.’ 2.3แสนล.หลังภาครัฐจ่ายPSOไม่ครบ

“สุรพงษ์” เร่งหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ปัญหาหนี้สะสมของร.ฟ.ท. เหตุภาครัฐจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ไม่ครบตามที่กำหนด เดินหน้าแผนการปรับโครงสร้างหนี้จ่อชงครม.อนุมัติ

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงแนวทางขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า กระทรวงฯเตรียมหารือกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สะสมจากการจัดสรรเงินอุดหนุน บริการสาธารณะ (PSO) โดย ร.ฟ.ท.มีหนี้สะสมสูงระดับ 2.3 แสนล้านบาท ซึ่งสาเหตุบางส่วนมาจากการวิ่งให้บริการรถไฟเชิงสังคม และข้อเท็จจริงพบว่า ภาครัฐจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ไม่ครบตามที่กำหนดโดยจากการบันทึกทางบัญชีของ ร.ฟ.ท.มีการระบุขอเงินอุดหนุน PSO ปีละ 5,000-6,000 ล้านบาทต่อปี แต่ได้รับงบประมาณอุดหนุนเพียงปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท ส่วนต่างที่เหลือจึงถูกบรรจุเป็นหนี้สะสม

“ต้องหาแนวทางปรับรายละเอียดทางบัญชีของการรถไฟฯ เพื่อไม่นำเอาบริการรถไฟเชิงสังคม ไปบรรจุเป็นหนี้แต่ละปีของการรถไฟฯ เพราะเรื่องนี้การรถไฟฯ ให้บริการเพื่อสังคม ซึ่งเชื่อว่าแนวทางนี้จะสามารถเป็นไปได้ ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หากมีการหารือแล้วเสร็จ เชื่อว่าจะช่วยปลดหนี้ให้การรถไฟเป็นอิสระ โดยที่ไม่กระทบต่อการใช้บริการของผู้โดยสาร”นายสุรพงษ์ กล่าว

สำหรับเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ของ ร.ฟ.ท.จะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ เพราะหากไม่แก้ไขในเรื่องนี้จะทำให้ ร.ฟ.ท.กลายเป็นจำเลย ประเด็นการบริหารธุรกิจไม่ได้จนเกิดหนี้ ทั้งที่เป็นนโยบายเพื่อสังคม ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้นั้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปี 2568

ขณะที่แนวทางในการจัดตั้งกองทุนเพื่อซื้อหนี้ ร.ฟ.ท. รวมไปถึงการยกเลิกบริการรถไฟเชิงสังคม เพื่อยกเลิกการขอรับเงินอุดหนุน PSO จากภาครัฐ ส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้เป็นแนวคิดที่อยากดำเนินการ เพราะไม่ต้องการเห็น ร.ฟ.ท.อยู่ในสภาพองค์กรขาดทุนต่อไป แต่จะดำเนินการอย่างไรคงต้องหาแนวทางและจัดหาพันธมิตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริการรถไฟเชิงสังคม ได้กำหนดให้มีผู้โดยสารใช้บริการ 26 ล้านที่นั่งต่อปี แต่ปัจจุบันพบว่ามีผู้โดยสารมาใช้บริการเพียง 18.7 ล้านที่นั่งต่อปี โดยขณะนี้ ร.ฟ.ท.มีแนวคิดทยอยปรับรูปแบบการให้บริการ โดยบริหารจัดการที่นั่งโดยสาร จัดสรรที่นั่งรองรับบริการเชิงสังคมให้สอดคล้องต่อความต้องการที่แท้จริง และปรับที่นั่งที่เหลือราว 7.3 ล้านที่นั่งต่อปี มารองรับความต้องการของบริการเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้

ทั้งนี้เห็นว่าหากร่างพระราชบัญญัติกรมการขนส่งทางราง พ.ศ. …. มีผลบังคับใช้ รวมทั้งมีการเปิดให้บริการรถไฟทางคู่และโครงการระบบรางอื่นๆ เพิ่มขึ้น จะสร้างโอกาสทางการหารายได้แก่ ร.ฟ.ท.จากการปลดล็อคกฎหมายให้เอกชนเข้ามาเดินรถด้านระบบขนส่งทางราง ส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบขนส่งทางรางเพิ่มขึ้น 75-80% จากปัจจุบันที่มีการใช้ประโยชน์อยู่กว่า 20% เป็นแนวทางสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท.เพิ่มขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img