‘อนุทิน’ ยัน ‘มท.’ พร้อมเยียวยาเหยื่อน้ำท่วม ‘เชียงราย’ จ่อชงให้วงประชุม ‘นายกฯ’ ทบทวน ‘งบป้องกันน้ำท่วม’ ของ ‘สทนช.’ หลังเกิดเหตุน้ำท่วมซ้ำทุกปี
เมื่อวันที่ 16 ก.ย.67 เวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวถึงการเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จ.เชียงรายและหลายพื้นที่ โดยยืนยันถึงความพร้อมต่อการช่วยเหลือ เวชภัณฑ์ ที่พักพิง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นากฯ ได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยให้สำรวจความเดือดรร้อนของประชาชนและให้กระทรวงมหาดไทยเสนอบัญชีรายครัวเรือนว่า จะได้รับการเยียวยาจากรัฐบาลอย่างไร ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีแนวทางไว้แล้ว และในบ่ายวันนี้ (16 ก.ย.) จะมีการประชุมเพื่อตั้งศูนย์บัญชาการแห่งชาติ ซึ่งนายกฯเป็นประธาน โดยกระทวงมหาดไทย ฐานะที่กำกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนภูมิภาค ตนได้สั่งการ และให้นโยบาย ไปยังกรรมการที่กำกับรัฐวิสาหกิจตั้ง 2 แห่ง เพื่อช่วยเหลือค่าไฟ ค่าน้ำ โดยเดือนก.ย. นี้หากยกเว้นได้จะยกเว้น แต่หากยกเว้นไม่ได้เพราะติดขัดข้อกฎหมาย ต้องลดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา
เมื่อถามถึงมาตรการป้องกันภัยพิบัติ นายอนุทิน กล่าวว่า ตามกฎหมายว่าด้วยแผนป้องกัน ในประเด็นประสบอุทกภัยนั้น กำหนดให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นผู้ดูแล โดยกระทรวงมหาดไทยนั้น เรื่องงบป้องกันถูกตัดทั้งหมด ซึ่งในงบประมาณปี2569 ต้องมาคุยใหม่ ว่า หากจะทำป้องกันต้องอัดงบป้องกันไปที่ สทนช. และเพิ่มบุคคลากรให้ทำงาน ส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงหมาดไทยนั้น อำนาจป้องกันถูกดึงออกไป ขนาดจะสร้างฝายยังทำไม่ได้ และมีบทบาทเรื่องการบรรเทา
“การประชุมบ่ายนี้ ต้องนำเรื่องพวกนี้มา เพราะกฎหมายดังกล่าวทำมาก่อนหน้ารัฐบาลชุดนี้และชุดที่แล้ว เพื่อจัดตั้งองค์กรที่ป้องกันชัดเจน ดังนั้นต้องยกมาหารือว่า ป้องกันอย่างไร ถึงเกิดเหตุเช่นนี้ทุกปี เขายังขาดอะไร เพราะความร่วมมือไม่ขาดอยู่แล้ว” นายอนุทิน กล่าว
เมื่อถามว่าเรื่องระบบเตือนภัยไม่มีปัญหาหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ไม่มี ทั้งนี้การเตือนภัยมีหลากหลายรูปแบบ ผ่านเครื่องมือสื่อสาร ป่าวประกาศ ส่งเจ้าหนาที่อาสาสมัครออกไป ทั้งนี้ต้องไปดูหน้างาน ว่าการช่วยเหลือดูแล อพยพขนย้ายในพื้นที่เสี่ยงเราทำได้ ขณะที่มาตรการเยียวยา ในประเด็นการชดเชยแต่ละครัวเรือน จะมีเกณฑ์กำหนดไว้ ทั้งนี้การเยียวยาไม่สามารถเยียวยารายหัว แบบทุกบาททุกสตางค์ไม่ได้ แต่ต้องเป็นไปตามแนวทางกลาง
“งบประมาณเพื่อเยียวยามีเพียงพอแต่ต้องหาวิธีป้องกันรูปแบบต่างๆไม่ให้เกิดอุทกภัยซ้ำซาก ทั้งนี้ยอมรับว่าเหตุเกิดมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งต้องใช้กลไก เช่น รอบนี้มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนมาตามน้ำโขงต้องใช้กรรมการที่มีประเทศภาคี จะวางแผน รับน้ำ ระบายน้ำอ่างไร หลายกระทรวงต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง” นายอนุทิน กล่าว