วันเสาร์, กันยายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“ปชน.” จี้ถามค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทมีจริงหรือไม่-ปรับเมื่อไหร่ “พิพัฒน์” ตั้งใจปรับ 1 ต.ค.แต่ไตรภาคีล่มก่อน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปชน.” จี้ถามค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทมีจริงหรือไม่-ปรับเมื่อไหร่ “พิพัฒน์” ตั้งใจปรับ 1 ต.ค.แต่ไตรภาคีล่มก่อน

“ปชน.” จี้ถามค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทมีจริงหรือไม่-ปรับเมื่อไหร่ “พิพัฒน”ยันตั้งใจปรับ 1 ต.ค.เกิดปัญหาประชุมไตรภาคีล่ม ยอมรับเป็นเทคนิค เชื่อนายจ้างไม่อยากปรับค่าแรงแน่นอน เหตุสภาวะเศรษฐกิจประเทศ ยันสิ้นปี 68 เอสเอ็มอีได้ปรับค่าแรง แจงหากทำให้สำเร็จอาจไม่ถึง 600 บาท

วันที่ 26 ก.ย.2567 เวลา 10.40 น.ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานในการประชุม มีการพิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา ของนายเซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน(ปชน.)ถาม รมว.แรงงาน เรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำ ที่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำ 600 บาทต่อวันภายในปี 70 ซึ่งเป็นนโยบายเรือธงของรัฐบาล และเมื่อได้เป็นรัฐบาลนโยบายที่ใช้หาเสียงก็ควรนำมาเป็นนโยบายที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาค่าจ้างเพื่อให้แรงงานได้มีค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ซึ่งรมว.แรงงานก็รับนโยบายมาปฏิบัติ และมักให้สัมภาษณ์ว่าจะปรับค่าแรงตามลำดับ ทำให้พี่น้องแรงงานตั้งตารอ และนับตั้งแต่ปรับค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 ม.ค.56 จนถึงปัจจุบัน รวม 11 ปีแล้ว ซึ่งมีการรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 6 ครั้งเท่านั้น แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นถี่กว่าค่าแรงด้วยซ้ำ ที่สำคัญเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 67 รมว.แรงงาน ประกาศว่าจะมีการปรับค่าแรงขึ้นต่ำทั่วประเทศ เป็น 400 บาทต่อวันแน่นอนในวันที่ 1 ต.ค. 67 และนายกฯแถลงนโยบายต่อสภา ยืนยันว่าการปรับอัตราค่าแรงเป็น 400 บาททันแน่นอน แต่ก็เทผู้ใช้แรงงานอย่างน้อย 4 ครั้ง เพราะการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างล่ม ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นทั้งที่ทุกคนก็รู้ว่าจะมีการประชุมเพื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

นายเซีย กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลที่ไม่เข้าร่วมประชุม ที่สำคัญอธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ตนสงสัยว่าอธิบดีฯมีภารกิจอื่นใดที่สำคัญกว่าภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรมว.แรงงาน จึงละทิ้งหน้าที่ไม่ยอมเข้าร่วมประชุม เรื่องนี้รมว.แรงงาน ได้สอบถามหรือไม่ หรือเป็นการวางแผนเล่นละครตบตาพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ตนหวังว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ตนยังมีคำถามว่าผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในคณะกรรมการค่าจ้างที่ผ่านมาเข้าร่วมประชุมตลอด แต่เมื่อวันที่ 20 ก.ย. กลับบอกว่าไม่ได้เป็นตัวแทนของธปท.แล้ว โดยบอกว่าต้องรอให้มีการแต่งตั้งตัวแทนคนใหม่ก่อนจึงจะสามารถประชุมได้ พี่น้องผู้ใช้แรงงานฝากผมมาว่านี่เป็นการเมืองเล่นละครตบตากันใช่หรือไม่ เล่นละครเพื่อบ่ายเบี่ยง การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใช่หรือไม่การประชุมจึงล่มแล้วล่มอีก ขอถามจากใจว่ารัฐมนตรีมีความมุ่งมั่นที่จะปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็น 400 บาทจริงๆ หรือไม่และปรับขึ้นเมื่อไหร่ และกลุ่มเอสเอ็มอีจะมีการปรับหรือไม่

ด้านนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ชี้แจงว่า ยืนยันว่าตนมีความตั้งใจที่จะปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในวันที่ 1 ต.ค.67 แต่ตนเชื่อว่า ผู้ใช้แรงงานคงทราบดีว่าเจตนารมย์ของรัฐบาลตั้งแต่นายเศรษฐา ทวีสิน ที่กำหนดไว้ในนนโยบายว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำที่ 600 บาทในปี 70 ซึ่งตนยึดถือมาโดยตลอด ถึงแม้จะเปลี่ยนนายกฯ เป็นน.ส.แพทองธาร ชินวัตร แม้จะไม่ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำไว้ในนโยบาย แต่ตนถือว่าสิ่งที่รับโจทย์มาจากรัฐบาลนายเศรษฐา ตนมั่นใจและพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไป และ การประชุมไตรภาคีเพื่อพิจารณาเรื่องค่าจ้างหากขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยที่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ครบ 2 ใน 3 เราก็ไม่สามารถที่จะเปิดประชุมได้ เพราะฉะนั้นในวันที่ 16 ก.ย.ทุกคนก็ทราบว่าฝ่ายนายจ้างไม่เข้าร่วมประชุมทั้ง 5 คน และวันที่ 20 ก.ย.มีกาปรระชุมอีกครั้ง หากผู้เข้าประชุมครบ 2 ใน3 เราสามารถโหวตได้ทันที แต่ก็ไม่สามารถประชุมได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือสิ่งที่ตนกำกับหรือบังคับได้ เพราะรมว.แรงงาน ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงและเข้าไปนั่งในห้องประชุมได้ และการที่ตนให้สัมภาษณ์ เป็นการให้นโยบายไม่ใช่การแทรกแซง

“การที่มีผู้มาประชุมไม่ครบในวันที่ 20 ก.ย.หากจะพูดว่าเป็นเทคนิคก็ได้เพราะ หากมีการประชุม ผมเชื่อว่าเราไม่สามารถที่จะหมดได้แต่ถ้ามีการโหวตในวันนั้นฝ่ายนายจ้างยืนยันคัดค้านทั้ง 5 คน ฝ่ายรัฐบาลถ้ามีครบนอกเหนือจากตัวแทนธปท.ไม่เข้าประชุม ผมก็ขอถามสมาชิกว่าถ้ามีการประชุมในวันนั้น ผู้ที่จะเสียหายคือกลุ่มใด แน่นอนว่าอย่างไรฝ่ายนายจ้างก็ไม่อยากขึ้นค่าแรง เพราะสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้พวกเราทุกคนทราบ สิ่งที่เพิ่มต้นทุนให้กับฝ่ายนายจ้างคือดอกเบี้ยที่สูงเกินความจริงนอกเหนือจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งผมคิดว่าในรัฐบาลมีหลายฝ่ายที่พยายามจะเจรจากับทางธปท.ว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะสามารถลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือฝ่ายนายจ้างซึ่งตลอดเวลาธปท.อ้างว่า หนี้สินครัวเรือนเราสูงมาก ผมไม่เถียง แต่ถามว่าวันนี้ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของภาครัฐ มีปล่อยกู้ให้ใครได้บ้าง เต็นท์รถมือสองทยอยปิดตัวเองตลอดเวลา และการยึดรถมีการยึดมาจนล้นลานจอดรถ”นายพิพัฒน์ กล่าว

นายพิพัฒน์ ชี้แจงอีกว่า การที่เราปรับไซส์แรงงาน 200 คน แรงงานไทยได้ประโยชน์ประมาณ 1.7 ล้านคน แรงงานต่างด้าว 5.4 แสนคน ฝ่ายนายจ้างก็จะได้รับผลกระทบ ฝ่ายนายจ้างก็จะได้รับผลกระทบต่อคนประมาณ 72.78 บาท กระทบค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้วหากถามว่าเราพักภาระตรงนี้ไปให้กับเอสเอ็มอีหรือไม่และถ้าเอสเอ็มอีล้ม ความรับผิดชอบก็ต้องอยู่ที่กระทรวงแรงงานเพราะประกาศแบบปูพรหม แต่ถ้าเราประกาศ ไซส์ L ไปก่อน หลังจากนั้นมากู้เอสเอ็มอี เมื่อสถานะของเอสเอ็มอีเดินหน้าต่อไปได้แล้ว ไม่ได้หมายความว่าปีนี้เอสเอ็มอีจะไม่ได้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำโดยทางกระทรวงมีนโยบายว่าในช่วงสิ้นปีต่อเนื่องปี 2568 เราจะมีการประกาศค่าแรงขั้นต่ำเฉพาะเอสเอ็มอีอีกครั้งหนึ่ง ตามที่อนุไตรภาคีในแต่ละจังหวัดส่งข้อมูลมาให้กับทางกระทรวง

“ผมมีความมุ่งมั่นก้าวแรกให้จบไปให้ได้ก่อนคือค่าแรงขั้นต่ำของเดือน ต.ค.นี้ให้จบที่ 400 บาท เมื่อเราสามารถประกาศค่าแรงขั้นต่ำที่ 400 บาทจบแล้ว ผมจะขอชี้แจงให้ทราบว่าเราจะมีไทม์ไลน์ในการที่จะประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนอกเหนือไปจากนี้อีกเมื่อไหร่ เพราะถ้าจะพูดว่ามีไทม์ไลน์ 1,2,3,4,5 แล้วผมไม่ดูถึงสถานะของผู้ประกอบการหรือสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ประกาศไปก็เป็นเพียงลมปาก แต่ถ้าจะทำให้สำเร็จจริงก็อาจจะไม่ถึง 600 บาทก็ได้ แต่ ขอให้มีความก้าวหน้าในการขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ชาวแรงงานต้องอยู่ให้ได้”รมว.แรงงาน กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img