วันพุธ, ตุลาคม 2, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightนายกฯเป็นห่วง'พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา-กทม.' สั่งรอรับมือ'น้ำเหนือ'ใกล้ชิดตลอด24ชม.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นายกฯเป็นห่วง’พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา-กทม.’ สั่งรอรับมือ’น้ำเหนือ’ใกล้ชิดตลอด24ชม.

นายกฯ ลุยติดตามการจัดการน้ำในเจ้าพระยา มอบกรมชลฯ ผู้ว่าชัชชาติ ติดตามสถานการณ์น้ำเหนืออย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ในช่วงที่ไปประชุมกาตาร์

เมื่อวันที่ 2 ต.ค.67 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เผยว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ตรวจการบริหารจัดการน้ำ โดยมี นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายชัชชาติ  สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสุริยพล  นุชอนงค์  รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้างรักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย

นายกรัฐมนตรีรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์และแนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากรองอธิบดีฝ่ายก่อสร้างรักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า สถานการณ์น้ำจากพื้นที่ตอนบนในลุ่มน้ำปิง วัง  ยม  และน่าน  ยังคงมีฝนตกอยู่ในบางพื้นที่  ส่งผลให้มีปริมาณน้ำตอนบนทยอยไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์  มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 2,128 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น  ส่งผลต่อเนื่องให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้นตามลำดับ  กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตามศักยภาพของคลองและสอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่  พร้อมควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ให้อยู่ในอัตรา  1,899 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนให้ได้มากที่สุด 

นายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาว่าจะสร้างผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่   ซึ่งได้สั่งการ ให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำ ให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือกระทบน้อยที่สุด และประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่นอกคันกั้นน้ำตั้งแต่ท้ายเชื่อนเจ้าพระยาในขณะนี้บริเวณจังหวัดอ่างทอง และพระนครศรีอยุธยาทราบข้อมูลการปล่อยน้ำล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 วัน เพื่อเตรียมขนย้ายของต่าง ๆ ไว้ในที่ปลอดภัย รวมถึงฝากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำการพร่องน้ำในคลองสาขาต่าง ๆ เพื่อรองรับน้ำ หากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยให้ประสานความร่วมมือกับกรมชลประทาน ให้สอดคล้องกันในการดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่

นอกจากนั้นยังได้ขอให้เร่งกำจัดขยะและผักตบชวาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการสูบน้ำและการระบายน้ำออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานอย่างเต็มกำลังอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และฝากศึกษาการจัดการน้ำแม่น้ำยม กรณี “แก่งเสือเต้น” โดยให้อัพเดทข้อมูล นำเรื่องกลับมาศึกษาเพื่อประโยชน์ในระยะยาว และสแตนด์บายรายงานผลตลอด 24 ชั่วโมงในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำที่เมืองโดฮารัฐกาตาร์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img