วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEเปิดเล่ห์เหลี่ยมเอาตัวรอด“ดิไอคอนกรุ๊ป” เคยชี้แจง“อนุฯกมธ.สคบ.” 2 คำร้องเก่า
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดเล่ห์เหลี่ยมเอาตัวรอด“ดิไอคอนกรุ๊ป” เคยชี้แจง“อนุฯกมธ.สคบ.” 2 คำร้องเก่า

ยังเป็นเพียง “ปฐมบท” การเอาผิด “บิ๊กบอสพอล” และ “บอสคนอื่นๆ” รวม 18 คน แห่ง “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” ในข้อกล่าวหา ฉ้อโกงประชาชน และ ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่คาดว่าจะมีความเสียหายหลักหมื่นล้านบาท

ก่อนหน้านี้ ในปี 2565 และปี 2566 ได้มีผู้ร้องเรียนบริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป มายังอนุกรรมาธิการ สคบ. รัฐสภา ชุดที่ 25 และพบข้อมูลในคำชี้แจงของบริษัทเอกชน ที่กำลังเป็นข่าวฉาว อย่างน่าสนใจ

ในครั้งแรก การประชุมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 มี นายชนะชล ชนะชาติไพรี ผู้ก่อตั้งชมรมช่วยเหลือผู้เสียหายคดีแชร์ลูกโซ่ เป็นผู้เสนอเรื่อง “ให้ตรวจสอบการทำธุรกิจ”

เนื่องจากมีการจดทะเบียนตลาดแบบตรง แต่ดำเนินธุรกิจในลักษณะขายตรง โดยไม่มีการจดทะเบียนขายตรง

มีตัวแทนจำหน่าย มีการจัดระดับ มีชื่อตำแหน่ง และให้รถประจำตำแหน่ง ครั้งนั้น มีการแจ้งความไว้ที่ บก.ปคบ. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565

ด้าน “ผู้บริหารดิ ไอคอน กรุ๊ป” ที่เข้าชี้แจง ระบุว่า…ในปี 2561 บริษัทยื่นขอจดทะเบียน “ขายตรง” จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ สคบ.ไม่รับจดทะเบียน เพราะขาดองค์ประกอบขายตรง

ต่อมาปี 2562 บริษัทจดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ต่อ สคบ.แทน

ส่วนการจัดอบรมลูกค้าที่มาซื้อสินค้าเพื่อนำไปขายต่อ เพื่อให้ผู้จำหน่ายสินค้ามีความรู้เรื่องเทคนิค และวิธีจำหน่ายสินค้า

ทีเด็ดอยู่ตรงประโยคนี้ ที่ผู้แทนบริษัทฯชี้แจง ว่า “ไม่เคยแจ้งกับลูกค้า ว่าหากขายสินค้าของบริษัทฯ แล้วจะร่ำรวย ลูกค้าบางคนขายของออนไลน์อยู่แล้ว และซื้อสินค้าบริษัทไปจำหน่ายภายหลัง”

ทาง อนุกรรมาธิการฯ เลยซักว่า บริษัทดำเนินการตลาดแบบตรง แต่เหตุใดจึงดำเนินการธุรกิจแบบขายตรง มีตัวแทนจำหน่าย จัดระดับตำแหน่ง มีรถประจำตำแหน่ง

ทาง ผู้แทนประธานบริษัทฯ ชี้แจงว่า “บริษัทต้องการหาตัวแทนรายใหญ่ เพื่อกระจายสินค้าราคาถูก เพราะยิ่งซื้อมากราคายิ่งถูกลง”

ส่วนการจัดระดับชื่อตำแหน่งต่างๆ เพื่อให้ผู้จำหน่าย นำไปใช้ทำมาค้าขายคล่องตัว

ครั้งนั้น มีการฝากให้ สคบ.ตรวจสอบโฆษณาชวนเชื่อของบริษัท และย้ำไม่ให้บริษัทโฆษณาเกินจริง ว่าขายสินค้าบริษัทแล้ว จะได้กำไรมาก ร่ำรวย

ส่วนครั้งที่สอง ในปี 2566 เมื่อวันที่ 12 มกราคม นางพัชรินทร์ ผู้เสียหาย ได้ร้องเรียนว่า ลงทุนกับ “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” แล้ว ไม่ดำเนินการเป็นไปตามสัญญา

ผู้ร้องเรียน บอกว่า เห็นโฆษณาทาง “โทรทัศน์” แล้วสนใจลงทุนกับ “ดิ ไอคอน” ชำระเงินไป 2.1 แสนบาทให้ตัวแทนจำหน่าย ในลักษณะ “ร่วมลงทุน”

พอบริษัทส่งสินค้ามาให้จำหน่าย ทางคุณพัชรินทร์ เห็นว่าเป็นการผิดสัญญาร่วมลงทุน ตามที่ตกลงไว้ เลยคืนสินค้าและไปแจ้งความ

ทาง บริษัทฯชี้แจง โดยนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้ร้องเรียนมาแสดงยืนยัน โดยมีข้อความระบุบนสำเนาว่า “ใช้สำหรับทำสัญญา หรือสมัครเป็นสมาชิกตัวแทนจำหน่ายกับบริษัทเท่านั้น”

สุดท้ายแล้ว เรื่องนี้มีการเสนอให้มีการไกล่เกลี่ยระหว่าง “เอกชน” กับ “ผู้บริโภค”

………….

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img