วันพฤหัสบดี, มกราคม 2, 2025
หน้าแรกCOLUMNISTS“Clean Energy Roadmap”แผนการเงิน การลงทุนพลังงานสะอาดของไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“Clean Energy Roadmap”แผนการเงิน การลงทุนพลังงานสะอาดของไทย

Clean Energy Finance & Investment Plans in Thailand

“….แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า Power Development Plan: PDP ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity Generation ให้เป็น 36% ภายในปี 2580….”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ได้เพิ่มเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scaled up its Ambition to Reduce Greenhouse Gas : GHG Emissions โดยปรับปรุงการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม หรือชุมชนที่กำหนดไว้ในแผนงาน และโครงการระดับชาติมาตั้งแต่ปี 2565 โดยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ให้ได้ภายในปี 2573 จากระดับในปี 2548 ขณะเดียวกันก็ดำเนินความพยายามต่อไปเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการเป็นกลางทางคาร์บอน Long-Term Goal of Carbon Neutrality ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero GHG Emissions ภายในปี 2608 ..

ทั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในระยะยาวของประเทศไทย Thailand’s Long-Term Low Emissions Development Strategy : LT-LEDS มีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่จากพลังงานหมุนเวียน Increase New Power Generation Capacity from Renewables เนื่องจากการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน Reaching Carbon Neutrality นั้น จะต้องเพิ่มส่วนแบ่งของกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Increasing the Share of Renewable Electricity จาก 13% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2565 เป็น 68% ภายในปี 2583 และ 74% ภายในปี 2593 ..

Thailand’s Long Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy | Credit : NSTDA / Ministry of Natural Resources and Environment

การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ จะต้องเร่งรัดการดำเนินมาตรการอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นอีก โดยเฉพาะสำหรับแผนงานด้านการลงทุน และการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Rapid Acceleration of Finance & Investment in Renewable Power & Energy Efficiency โดยคาดหวังว่า ประเทศไทย Thailand จะมีการลงทุนรวมประมาณ 779,000 ล้านบาท หรือ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ New Renewable Power ระหว่างปี 2565-2580 ในขณะที่การลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements ในภาคอุตสาหกรรม Industrial, พาณิชยกรรม Commercial, ที่อยู่อาศัย Residential และภาคเกษตรกรรม Agricultural Sectors จะมีมูลค่าสูงถึง 974,000 ล้านบาท หรือ 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกัน ..

อย่างไรก็ตาม ถือเป็นความจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องระดมใช้เงินลงทุนภาครัฐซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งในและต่างประเทศ Domestic & International Public Finance อย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น และรวมถึงการแสวงความร่วมมือ และการใช้ประโยชน์จากเงินทุนภาคเอกชน ผนวกกับมาตรการลดความเสี่ยงในการลงทุนด้านพลังงานสะอาดของภาคเอกชนไปพร้อมด้วย ..

Net Zero Thailand | Credit : Petromat

แผนงานการเงิน และการลงทุนด้านพลังงานสะอาดของประเทศไทย Clean Energy Finance & Investment Roadmap of Thailand ได้วางกรอบสำหรับรัฐบาลไทยเพื่อช่วยปลดล็อคการเงิน และการลงทุนในพลังงานสะอาด Unlock Finance & Investment in Clean Energy โดยอิงจากการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครอบคลุม .. การสร้างแบบจำลอง และการวิเคราะห์ใหม่ รวมถึงแนวปฏิบัติตามความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในประเทศของไทย .. แผนงานดังกล่าว ได้รับการพัฒนาขึ้นให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดมเงินทุน และการลงทุนด้านพลังงานสะอาด Clean Energy Finance & Investment Mobilization : CEFIM Programme ขององค์การเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ Organisation for Economic Co – Operation & Development : OECD ซึ่งมุ่งหวังที่จะเร่งรัดการเงิน และการลงทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ได้รับการคัดเลือกในด้านพลังงานสะอาด รวมถึงกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Power, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency และการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม Decarbonisation of Industry Sector ..

แผนงานเหล่านี้ มุ่งเน้นไปที่ภาคส่วนพลังงานสะอาด 2 ภาคส่วนที่ได้รับการระบุ และคัดเลือก ด้วยข้อเสอแนะจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน หรือ “พพ.” Department of Alternative Energy Development and Efficiency : DEDE ของกระทรวงพลังงานของประเทศไทย Ministry of Energy of Thailand ได้แก่ กำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก Small-Scale Renewable Power และประสิทธิภาพพลังงานในภาคส่วนอาคาร Energy Efficiency in the Building Sector โดยเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการทำความเย็น Cooling ..

ทั้งนี้ นอกจากการบรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว การนำระบบกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก Deployment of Small-Scale Renewables Systems รูปแบบกระจายในชุมชนมาใช้ในประเทศไทย จะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน Increase Energy Security, ลดต้นทุนด้านพลังงาน Deliver Energy Cost Savings, สร้างงานสีเขียวให้กับธุรกิจในท้องถิ่น Provide Green Jobs for Local Businesses และปรับปรุงการเข้าถึงกำลังไฟฟ้าพลังงานสะอาดในชุมชนชนบทห่างไกล และเกาะที่อยู่นอกโครงข่ายระบบสายส่ง Improve Access to Clean Power in Rural Communities & Off-Grid Islands เพื่อสนับสนุนรัฐบาลไทย Government of Thailand ในการส่งเสริม และลดความเสี่ยงในการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก Promoting & De-Risking Small-Scale Renewable Power Investment .. แผนงานนี้ จึงให้แนวทางเกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงิน Recommendations on Financial Support รวมถึงนโยบาย กฎระเบียบ และการกำกับดูแล และการสร้างขีดความสามารถที่ชัดเจนไปพร้อมด้วยนั่นเอง ..

การให้แรงจูงใจด้านการเงิน และการลงทุนด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร และอุปกรณ์ทำความเย็น คือ อีกหนึ่งพื้นที่ดำเนินการที่สำคัญสำหรับประเทศไทย .. เนื่องจากประเทศไทย มีผู้บริโภคกำลังไฟฟ้าขนาดใหญ่ในภาคอาคาร โดยคิดเป็นประมาณ 25% ของปริมาณไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในประเทศไทย ในปี 2565 และเนื่องจากอุณหภูมิยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคส่วนอาคาร จึงมีความต้องการอุปกรณ์ทำความเย็นที่ใช้พลังงานสูง เนื่องจากภาคส่วนอาคารพาณิชย์ของไทยใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่าครึ่งหนึ่ง และปล่อยก๊าซเรือนกระจก อยู่ที่ 20% .. ดังนั้น การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์ทำความเย็น Improving the Energy Efficiency of Cooling Applications จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายการลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลง 30% ของประเทศไทย ภายในปี 2580 เมื่อเทียบกับระดับในปี 2553 ตามร่างแผนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Plan : EEP ..

คาดหมายได้ว่า แผนงานพลังงานสะอาดด้านการเงิน และการลงทุน Clean Energy Finance & Investment Plans ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในระยะยาวของประเทศไทย Thailand’s Long-Term Low Emissions Development Strategy : LT-LEDS จะช่วยให้ประเทศไทยเสริมสร้างเงื่อนไขเพื่อปลดล็อคเงินทุน และการลงทุนที่จำเป็นอย่างยิ่ง Unlock the Much-Needed Finance & Investment เพื่อบรรลุการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด Clean Energy Transition .. ในอนาคต องค์การเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ Organisation for Economic Co-Operation & Development : OECD รวมทั้งความร่วมมือในระดับนานาชาติอื่นๆ ทั่วโลกนั้น สามารถสนับสนุนรัฐบาลไทยในการดำเนินการตามคำแนะนำในแผนงาน รวมถึงผ่านการวิเคราะห์เฉพาะ การสร้างขีดความสามารถ Capacity Building และกิจกรรมแบ่งปันความรู้ Knowledge Sharing Activities เพื่อกระตุ้นการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน และประสิทธิภาพด้านพลังงาน Investments in Renewables & Energy Efficiency ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

แผนงานพลังงานสะอาดล่าสุดของประเทศไทย Thailand’s Latest Clean Energy Plans ..

กระทรวงพลังงานของไทย Ministry of Energy of Thailand ได้ดำเนินการจัดทำแผนงานพลังงานแห่งชาติฉบับสมบูรณ์ ปี 2567 หรือ National Energy Plan : NEP 2024 ล่าสุดที่มีแนวทางการมุ่งสู่เป้าหมาย “ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์สุทธิ Net Zero CO2 Emissions ด้วยแนวคิดความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ภายในปี พ.ศ.2608-2613 หรือปี ค.ศ.2065-2070” ซึ่งจะรวมแผนงานด้านพลังงานย่อย ๆ สำคัญ 5 แผนงาน เช่นเดียวกับในฉบับก่อนหน้านี้

ประกอบด้วย แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า Power Development Plan : PDP, แผนพัฒนาพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan : AEDP, แผนประสิทธิภาพพลังงาน Energy Efficiency Plan : EEP, แผนการจัดการก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Management Plan : Gas Plan และ แผนการจัดการเชื้อเพลิง Fuel Management Plan : Oil Plan ..

ในส่วนของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า Power Development Plan: PDP นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในประเทศไทย ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังไฟฟ้า และการกระจายเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น Increasing Demand for Power & Fuel Diversification ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ National Economic & Social Development Plan, ด้านเศรษฐกิจ Economy เพื่อรักษาต้นทุนการผลิตกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสม Maintain a Proper Cost of Power Generation เพื่อให้มั่นใจถึงความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระยะยาว Ensuring Long-Term Economic Competitiveness และด้านสิ่งแวดล้อม Environment เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตกำลังไฟฟ้า Reduce the Carbon Dioxide : CO2 Footprint of Power Generation และเน้นย้ำการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศ Emphasize Renewable Energy Sources in Country ..

ทั้งนี้ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า Power Development Plan : PDP ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity Generation ให้เป็น 36% ภายในปี 2580 โดยตามแผนดังกล่าว คาดว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขาย รวมทั้งสิ้น 77,211 MW ภายในปี 2580 ซึ่ง 18,696 MW หรือ 24% จะมาจากกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแห่งใหม่ New Renewable Energy Power Plants ..

สำหรับเป้าหมายโดยรวมของแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan : AEDP ของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 นั้น เป็นแผนงานการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการบริโภคพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดให้เป็น 30% ภายในปี 2580 ซึ่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด Total Renewable Energy จะถูกใช้ใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ การให้ความร้อน Heating อยู่ที่ 26,901 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ Thousand Tonnes of Oil Equivalent: ktoe, กำลังไฟฟ้า Power อยู่ที่ 7,298 ktoe และเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels อยู่ที่ 4,085 ktoe .. อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการบริโภคพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด เมื่อต้นปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 14% หรือเพียง 11,524 ktoe ซึ่งยังคงต่ำกว่าเป้าหมายตามแผนงานอย่างมาก ..

Total Installed Electricity Generation Capacity Development According to The AEDP in Thailand | Credit : OECD

เชื่อมั่นได้ว่า การบรรลุแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan : AEDP จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และทำให้ภาคส่วนพลังงาน สามารถเดินหน้าไปในเส้นทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในระยะยาวของไทยได้อย่างมั่นใจ .. ทั้งนี้ AEDP มีเป้าหมายที่จะขยายกำลังการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจาก 12,666 MW ในปี 2565 เป็น 29,411 MW รวมพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่มาพร้อมด้วย ในปี 2580 ซึ่งจะคิดเป็น 23% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมด .. กำลังไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ Solar Photovoltaic : PV จะเป็นกำลังการผลิตที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่ 14.9 GW รองลงมา คือ พลังงานชีวภาพจากชีวมวล Biomass Energy อยู่ที่ 5.8 GW, พลังน้ำ Hydropower อยู่ที่ 3.2 GW และพลังงานลม Wind Energy อยู่ที่ 3 GW ..

ทั้งนี้ ในส่วนของแผนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Plan : EEP ฉบับล่าสุดของไทยที่เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนนั้น มีเป้าหมายที่จะลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลง 36 % ภายในปี 2580 โดยใช้ปี 2553 เป็นปีฐาน หรือลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย Final Energy Consumption : FEC ลง 52,318 ktoe .. อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปี 2564 ปริมาณการประหยัดพลังงานที่สะสมได้ คือ 16,821 ktoe ดังนั้น จึงตั้งเป้าลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย Final Energy Consumption : FEC ลงประมาณ 35,497 ktoe หรือ 68% ภายใต้แผนงานนี้จนถึงปี 2580 ..

New Renewable Energy Installations in the Thailand Power Sector and Estimates of Related Investment Needs in 2022-2037 | Credit : OECD

นอกจากนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังมีแผนงานที่จะมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยการปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมทั้งประหยัดความต้องการกำลังไฟฟ้า และความร้อน แบ่งเป็น 8,761 ktoe หรือ 25% ของความต้องการกำลังไฟฟ้าทั้งหมด และ 26,736 ktoe หรือ 75% ของความต้องการความร้อน ตามลำดับ .. ภาคการขนส่ง และอุตสาหกรรม Transportation & Industrial Sectors คือ 2 ภาคเศรษฐกิจหลักที่มีส่วนแบ่งสูงในเป้าหมายประสิทธิภาพพลังงาน อยู่ที่ 48% และ 35% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคการพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย และเกษตรกรรม Commercial, Residential & Agricultural Sectors มีส่วนแบ่ง อยู่ที่ 10%, 5% และ 2% ตามลำดับ ..

ปัจจุบัน กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน หรือ “พพ.” Alternative Energy Development & Efficiency : DEDE กำลังจัดทำ และปรับปรุงแผนงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประโยชน์สูงสุดจากพลังงานหมุนเวียน และสอดคล้องกับความพยายามระดับโลกในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Global Efforts to Combat Climate Change ..

“วัฒนพงษ์ คุโรวาท” ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน อดีตอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. Alternative Energy Development and Efficiency: DEDE กล่าวไว้ว่า กรมฯ กำลังปรับปรุงแผนพลังงานในปีนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านพลังงานสะอาดของประเทศไทย โดยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ภายในปี 2593 และลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net – Zero Carbon Emissions ภายในปี 2608 ..

“วัฒนพงษ์” ได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า การวางแผนนโยบายพลังงานของประเทศไทย Thailand’s Energy Policy Planning นั้น มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ท่ามกลางการมุ่งเน้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวทั่วโลก Global Focus on Long-Term Environmental Impacts ไปพร้อมด้วย โดยร่างแผนงาน 2 ฉบับ ได้แก่ แผนพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน Alternative Energy Development Plan : AEDP และแผนการประสิทธิภาพพลังงาน Energy Efficiency Plan : EEP ฉบับล่าสุด ผ่านกระบวนการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาแล้ว และทั้ง 2 แผนงานจะรวมอยู่ในแผนพลังงานแห่งชาติ ปี 2567 ร่วมกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า Power Development Plan : PDP, แผนก๊าซ Gas Plan และแผนน้ำมัน Oil Plan โดยจะมุ่งเน้นไปที่พลังงานสะอาดสีเขียว Focus on Green & Clean Energy เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางของอุตสาหกรรมพลังงาน Shift in Direction of the Energy Industry จากนี้ไป ..

แผนพลังงานใหม่ New Energy Plan ล่าสุดของไทยนั้น มีเป้าหมายที่จะเพิ่มการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Production of Electricity from Renewable Energy ให้ได้มากกว่า 50% โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ Solar, พลังงานลม Wind และชีวมวล Biomass ที่ผลิตจากภาคเกษตรกรรม Agriculture Sector .. ถึงแม้ว่าพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy จะมีต้นทุนสูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels แต่ภาคอุตสาหกรรมของไทย จะต้องนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบการค้าโลกฉบับใหม่ เช่น กลไกการปรับพรมแดนคาร์บอน Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM เป็นต้น ..

กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน หรือ “พพ.” Alternative Energy Development and Efficiency : DEDE กำลังตรวจสอบว่า โครงการ และแผนงานพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ Existing Renewable Energy Projects เช่น พลังงานน้ำ Hydropower, การอนุรักษ์พลังงาน Energy Preservation และประสิทธิภาพ Efficiency สามารถปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อกำหนดได้ หรือไม่ ..

ตามกฎระเบียบการค้าโลกฉบับใหม่ เช่น Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM นั้น เมื่อผู้นำเข้าใน 6 ภาคส่วนที่ใช้คาร์บอนเข้มข้น Six Carbon-Intensive Sectors ได้แก่ อะลูมิเนียม Aluminium, ซีเมนต์ Cement, ไฟฟ้า Electricity, ปุ๋ย Fertilizers, ไฮโดรเจน hydrogen และเหล็ก และเหล็กกล้า Iron & Steel จะต้องรายงานชี้แจงการปล่อยมลพิษของตนให้สาธารณะได้รับทราบด้วย รวมทั้ง ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป พวกเขาจะต้องเริ่มจ่ายภาษีคาร์บอนข้ามชายแดน หรือนำเข้า Border Carbon Tax สำหรับผลิตภัณฑ์ตามราคาในระบบการซื้อขายการปล่อยมลพิษของสหภาพยุโรป European Union Emissions Trading System Prices มาพร้อมด้วย ..

สำหรับการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน Investment of Renewable Energy นั้น ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ Estimated Economic Impacts จากการดำเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan : AEDP ได้แก่ การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด Total Investment of Renewable Energy ในช่วงปี 2565-2580 มีมูลค่า 779,000 ล้านบาท หรือ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ย 292,000 ล้านบาท หรือ 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 37.5% ของการลงทุนทั้งหมด และการลงทุนนี้ คาดว่าจะสร้างงานได้เฉลี่ย 722,000 ตำแหน่งในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งแปลงเป็นตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 45,000 ตำแหน่งต่อปี หรือ 2.4 ตำแหน่งต่อเมกะวัตต์ Jobs per MW ..

ทั้งนี้ การลงทุนด้านประสิทธิภาพพลังงาน Investment of Energy Efficiency นั้น ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ Estimated Economic Impacts จากการดำเนินการตามแผนการประสิทธิภาพพลังงาน Energy Efficiency Plan : EEP ฉบับล่าสุด ได้แก่ การลงทุนด้านประสิทธิภาพพลังงานทั้งหมด Total Investment of Energy Efficiency ในช่วงปี 2565-2580 มีมูลค่าประมาณ 974,000 ล้านบาท หรือ 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างน้อย 187,000 ล้านบาท หรือ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 19% ของมูลค่าการลงทุนรวม .. นอกจากนั้น การลงทุนนี้ได้รับการคาดหมายว่าจะสร้างงานได้อย่างน้อย 387,000 ตำแหน่งในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเฉลี่ยแล้ว 119,000 ตำแหน่ง หรือ 31% เป็นงานโดยตรง และอีก 268,000 ตำแหน่ง หรือ 69% เป็นงานทางอ้อมที่เกี่ยวเนื่อง ..

คาดการณ์ตลาดพลังงานสะอาด Clean Energy Market และการผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานหมุนเวียน Electricity Generation in Renewable Energy Market ทั่วโลก และประเทศไทย ..

ความต้องการเงินทุน และการลงทุนในประเทศไทยโดยประมาณสำหรับการดำเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan : AEDP เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ การเพิ่มขีดความสามารถตามสัญญาของการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Power Generation รวมทั้งสิ้น เป็น 29,411 MW หรือ 29.4 GW ภายในปี 2580 จากนี้ไป ผนวกกับความต้องการกำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และกำลังการผลิตที่เลิกใช้ 1,554 MW ระหว่างปี 2565-2580 หมายถึง ไทยจะต้องใช้กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น อยู่ที่ประมาณ 18.6 GW จากระบบที่ติดตั้งใหม่ ระหว่างปี 2565-2580 นั่นเอง ..

Estimates of Total Energy Efficiency Investment Needs in Four economic Sectors, as per the Draft EEP in 2022-2037 | Credit : OECD

การสร้างแบบจำลองที่ดำเนินการสำหรับแผนงานนี้นั้น ได้ประมาณเงิน และการลงทุน Finance & Investment ที่จำเป็น เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญจากแบบจำลอง สรุปได้เป็น 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ :-

ประเด็นที่ 1 การลงทุนทั้งหมดสำหรับกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ Total Investment for New Renewable Power ที่จำเป็นในประเทศไทย ระหว่างปี 2565-2580 จะมีมูลค่าประมาณ 779 พันล้านบาท หรือ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ .. การลงทุนในโซลาร์เซลล์แบบติดตั้งบนหลังคา Solar PV Rooftop, พลังงานแสงอาทิตย์ในระดับสาธารณูปโภค Utility-Scale Solar Energy และโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำ Floating Solar PV มีส่วนสนับสนุนการติดตั้งใหม่ด้วยสัดส่วนมากถึง 56% ..

และในประเด็นที่ 2 นั้น แม้ว่า ความต้องการปริมาณการลงทุนจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่การจัดหาเงินทุนสำหรับการติดตั้งกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ New Renewable Power จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ Government Support, การลงทุนจากภาคเอกชน Private Equity และหนี้ภาคเอกชน Private Debt โดยสัดส่วนของการสนับสนุนจากรัฐบาล การลงทุนจากภาคเอกชน และหนี้ภาคเอกชน อยู่ที่ 4%, 23% และ 72% ตามลำดับ .. ทั้งนี้ คาดหมายว่า การดำเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan : AEDP ล่าสุดนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากเงินลงทุนภาครัฐอย่างน้อย 35,000 ล้านบาท หรือ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การสนับสนุนดังกล่าวน่าจะมาจากเครื่องมือทางการเงิน 5 ประเภท Five Financial Instruments ได้แก่ เงินอุดหนุน Grants, เงินอุดหนุนการลงทุน และการดำเนินงาน Investment & Performance Subsidies, การจัดหาเงินทุนจากหนี้ และหุ้น Debt & Equity Financing และคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ..

อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมตลาดพลังงานสะอาด Clean Energy Market โดยอ้างอิงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Allied Market Research แล้ว พบว่า มูลค่าขนาดธุรกิจในตลาดพลังงานสะอาดทั่วโลก Global Clean Energy Market อยู่ที่ 0.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่าจะสูงถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR  หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดพลังงานสะอาดทั่วโลก Global Clean Energy Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 9.1% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2575 ..

ธุรกิจพลังงานสีเขียว Green Energy Businesses กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คาดหมายว่า ขนาดตลาดพลังงานสีเขียวทั่วโลก Global Green Energy Market Size จะสูงถึง 3,637.99 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2574 ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจน และไม่มีอะไรต้องสงสัยอีกเลยว่า โลกกำลังมุ่งหน้าสู่แนวทางแก้ปัญหา และแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น More Sustainable Solutions & Practices .. แนวคิดธุรกิจพลังงานสีเขียวที่หลากหลาย Many Diverse Green Energy Business Ideas พร้อมที่จะตื่นตัวทะยานขึ้น เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ มิใช่เพียงแค่กระแสเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่มีศักยภาพมหาศาล Long-Term Change with Enormous Potential ในการสร้างกำไร และผลกระทบเชิงบวก Profit Generation & Positive Impact ..

สำหรับแนวโน้มในประเทศไทยนั้น ส่วนผสมของพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย Thailand’s Renewable Energy Mix ประกอบไปด้วยพลังงานชีวมวล Biomass 30%, ไฟฟ้าพลังน้ำ Hydropower 25%, พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Power 24%, พลังงานลม Wind Power 13% และแหล่งอื่นๆ อีกอย่างน้อยประมาณ 8% เช่น ขยะ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ Waste & Geothermal Power .. ประมาณ 14.9% ของพลังงานของประเทศไทยทั้งหมดสร้างขึ้นจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources แม้ว่า รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเพิ่มทั้งหมดเป็น 30% ภายในปี 2580 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Power ซึ่งมีกำลังการผลิต 2,633 MW ในปัจจุบัน โดยมีแผนที่จะไปให้ถึงแตะระดับ 14,864 MW ภายในปี 2580 ..

National Energy Plan of Thailand for Carbon Neutrality Goals | Credit : Thailand’s Ministry of Energy

ทั้งนี้ ภาพรวมการผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานหมุนเวียน Electricity Generation in Renewable Energy Market ทั้งหมดของไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 28,140 ล้าน KWh ในปี 2567 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 2.04% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2567-2572 ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ Electricity Generation in Solar Energy Market ของไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 5.08 พันล้าน KWh ในปี 2567 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 0.20% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2567-2572 ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดไฟฟ้าพลังงานน้ำ Electricity Generation in Hydropower Market ของไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 5.21 พันล้าน KWh ในปี 2567 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR -1.10% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2567-2572 ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานลม Electricity Generation in Wind Energy Market ของไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 3.47 พันล้าน KWh ในปี 2567 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 11.46% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2567-2572 ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานชีวภาพ Electricity Generation in Bioenergy Market ของไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 14.38 พันล้าน KWh ในปี 2567 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 0.98% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2567-2572 ..

และการผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานความร้อนใต้พิภพ Electricity Generation in Geothermal Energy Market ของไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 1.61 ล้าน KWh ในปี 2567 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 0.98% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2567-2572 ..

การมีส่วนร่วมของไทยทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในระดับนานาชาติทั่วโลกเพื่อร่วมต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis นั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญในระดับยุทธศาสตร์ที่ต้องการการลงทุนที่เหมาะสม ประมาณการไว้ว่า ภายในปี 2569 กำลังการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนทั่วโลก Global Renewable – Electricity Capacity จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 80% จากระดับปี 2563 เป็นมากกว่า 5,022 GW .. ด้วยการเติบโตนี้ 2 ใน 3 จะมาจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ Wind & Solar Energy ซึ่งเพิ่มขึ้น 150% เป็น 3,404 GW .. ในอดีตก่อนหน้านี้ คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2578 พลังงานหมุนเวียน Renewables จะผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 60% ของความต้องการกำลังไฟฟ้าทั่วทั้งโลก Global Electricity Demand แต่การคาดการณ์เหล่านี้ ก็อาจต่ำเกินไป เนื่องจาก ในช่วงเมื่อ 3 ปีก่อนหน้านี้ ความก้าวหน้าที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียน Advances Made by Renewable Energy นั้น พบว่า พวกมันเติบโตขึ้นได้รวดเร็วกว่าที่คาดคิดว่าจะทำได้เป็นอย่างมาก ซึ่งหมายความว่า ตลาดธุรกิจพลังงานสีเขียวทั่วโลก Global Green Energy Businesses Market ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย กำลังจะขยายตัวได้อย่างมั่นคงด้วยความเร่งจากนี้ไป ..

สรุปส่งท้าย ..

โลกกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาดสีเขียว New Age of Green & Clean Technology Manufacturing และกลยุทธ์ทางอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ Countries’ Industrial Strategies ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น ถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จไปพร้อมกันทั่วโลก .. ทั้งนี้ อ้างถึงรายงานล่าสุดของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA Report เมื่อต้นปี 2566 นั้น ชี้ให้เห็นว่า โลกของพลังงาน Energy World กำลังเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ New Industrial Age และเป็นยุคของเทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาดสีเขียว Age of Clean & Green Energy Technology Manufacturing ซึ่งกำลังสร้างตลาดในธุรกิจพลังงานสีเขียว Green Energy Business เกี่ยวเนื่องใหม่ๆ ที่สำคัญ และตำแหน่งงานนับล้านตำแหน่ง แต่ก็ยังเพิ่มความเสี่ยงใหม่ๆ มาพร้อมด้วยที่กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก จำต้องกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ และอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรการ และแผนงานด้านการเงิน และการลงทุนมาพร้อมด้วย เพื่อรักษาตำแหน่งของตนไว้ ในระบบเศรษฐกิจพลังงานโลกยุคใหม่ New Global Energy Economy ที่กำลังจะมาถึงจากนี้ไป ..

เทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาดสีเขียวทั่วโลก Global Manufacturing of Green & Clean Energy Technologies ในปัจจุบัน เช่น แผงโซลาร์เซลล์ Solar PV Panels, กังหันลม Wind Turbines, แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV Batteries, อิเล็กโทรไลเซอร์สำหรับผลิตไฮโดรเจน Electrolysers for Hydrogen และปั๊มความร้อน Heat Pumps รวมทั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก Supply Chains around the World ตลอดจนการจัดทำแผนงาน และโครงการที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกับเทคโนโลยีเหล่านี้ กำลังวิวัฒนาการก้าวหน้าไปด้วยความเร่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition สำหรับอนาคตระบบเศรษฐกิจพลังงานสะอาด Future of the Green & Clean Energy Economy จากนี้ไป ..

การวิเคราะห์จากหลายสำนัก แสดงให้เห็นตรงกันว่า ตลาดโลก ซึ่งต้องการปริมาณเงิน และการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ผลิตเป็นจำนวนมาก Global Market for Key Mass-Manufactured Clean Energy Technologies นั้น ได้รับการคาดหมายว่าจะมีมูลค่าประมาณ 650 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ภายในปี 2573 ซึ่งมากกว่าระดับปัจจุบันถึง 3 เท่า โดยหากประเทศต่างๆ ทั่วโลกปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาด้านพลังงาน และสภาพอากาศที่ประกาศไว้อย่างเต็มที่แล้ว ตำแหน่งงานด้านการผลิตพลังงานสะอาดที่เกี่ยวข้อง จะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจาก 6 ล้านตำแหน่งงานในปัจจุบัน เป็นเกือบ 14 ล้านตำแหน่ง ภายในปี 2573 และคาดว่าจะมีการเติบโตของอุตสาหกรรม และการจ้างงานอย่างรวดเร็วในทศวรรษต่อๆ ไปตามความคืบหน้าของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transitions Progress ในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติที่เหนือชั้นกว่าในอนาคตอันใกล้ ..

การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition จากการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ไปเป็นการบริโภคแหล่งเชื้อเพลิงพลังงานสีเขียว Green Energy เป็นหลักในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาตินั้น จำเป็นต้องเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น จะปล่อยให้เกิดความชะงักงันขึ้นนั้นไม่ได้ .. เชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานทางเลือก Alternative Energy Sources ในระดับราคาที่ไม่แพงเกินไป สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่สำคัญๆ ที่ทำให้ ‘การลงทุนในธุรกิจพลังงานสีเขียว Green Energy Business’ ในภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และภาคพลังงาน โดยเฉพาะการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Electricity Generation in Renewable Energy ในแต่ละประเทศ เติบโตขึ้น และดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคง ด้วยการเปลี่ยนจากระบบพลังงานรูปแบบรวมศูนย์ Centralize เดิมไปสู่รูปแบบกระจาย Decentralize ตั้งแต่บริการสาธารณะในระบบสาธารณูปโภค การขนส่งสาธารณะ และส่วนบุคคล ไปจนถึงความสะดวกสบายในสังคม ชุมชน และในครัวเรือน ..

ปัจจุบัน ประเทศไทย มีตลาดการจัดการพลังงานของกลุ่มบริษัทเอกชนในชื่อ “ธุรกิจจัดการพลังงานไทย Energy Service Company : ESCO Thailand” ที่คึกคัก และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจเกิดใหม่ เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการจัดการพลังงานภาคอุตสาหกรรมให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ เพราะว่าตลาดยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้น ดังนั้น ภาคเอกชนไทยจึงต้องการการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐเพิ่มเติมอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้บรรลุการเติบโตไปสู่ความมั่นคงทางธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมั่นใจ ในขณะที่พวกเขายังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคอีกมากมายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนราคาไม่แพงสำหรับแผนงาน และโครงการต่างๆ ซึ่งมักถูกมองว่ามีความเสี่ยงมากเกินไปโดยธนาคารพาณิชย์ Commercial Banks .. อย่างไรก็ตาม ลำดับความสำคัญหลักในการเร่งจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับแผนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Plan : EEP ในอาคาร และการใช้งานระบบทำความเย็นในประเทศไทย ถือเป็นความสำคัญจำเป็นมาพร้อมด้วย เช่นเดียวกับแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan : AEDP สำหรับโครงการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ New Renewable Energy Power Generation Projects ..

Solar Rooftop / การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปของอาสาสมัคร Solar Generation | Credit : EGAT

จนถึงวันนี้ ต้นทุนเทคโนโลยีสะอาด และราคาพลังงานสีเขียว Clean Technologies & Green Energy Cost ยังคงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญอยู่บ้างในปัจจุบัน ซึ่งพวกมันจะแพงเกินไปนั้นไม่ได้ .. อย่างไรก็ตาม Clean Technologies & Green Energy จะช่วยให้เกิดโอกาสทางธุรกิจสีเขียว Green Energy Business ในประเทศไทยที่เป็นนวัตกรรม และรูปแบบใหม่ของ Valued Chain, การกระจายทางเศรษฐกิจ Redistribute Economic Power สู่ภาคประชาสังคม ชุมชน และการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ๆ ที่มีผู้คนเป็นศูนย์กลาง People-Centered Ways มากขึ้น ..

ทั้งนี้ ด้วยมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐสำหรับแผนงานการเงิน และการลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Investment ที่เหมาะสมนั้น คาดหวังได้ว่า พลังงานสีเขียว Green Energy คือ แหล่งพลังงานเพียงแหล่งเดียวที่เปิดโอกาสให้ทุกประเทศในโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้รับอิสระภาพทางพลังงาน และไม่ตกเป็นทาสการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่เป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินลึกลงไปใต้เปลือกโลก หรือ Shale Gas & Shale Oil จากต่างประเทศที่ผูกขาดโดยเพียงบางชาติยักษ์ใหญ่เท่านั้นอีกต่อไป ซึ่งส่งผลให้ระบบพลังงานของแต่ละประเทศทั่วโลกจากนี้ไป จะได้ถูกปลดล็อคให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง หมายถึง ความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security จะได้รับการประกันเพื่อไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้สำเร็จในที่สุด ..

………………………………….

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Energy – Thailand | Statista :-
https://www.statista.com/outlook/io/energy/thailand?currency=usd

Clean Energy Finance and Investment Roadmap of Thailand | OECD :-

https://www.oecd.org/en/publications/clean-energy-finance-and-investment-roadmap-of-thailand_d0cd6ffc-en/full-report.html

Estimated Finance & Investment Needs to Reach Thailand’s Clean Energy Plans | OECD :-

https://www.oecd.org/en/publications/clean-energy-finance-and-investment-roadmap-of-thailand_d0cd6ffc-en/full-report/component-7.html#chapter-d1e6187-a64b233970

Thailand’s Alternative Energy Chief Unveils 51 % Renewable Power Plan | The Nation :-

https://www.nationthailand.com/sustainability/renewable-green-energy/40038917

Green Energy Business โอกาสทางธุรกิจพลังงานสีเขียว :-

https://drive.google.com/file/d/1gLgovQLkKGAUgK4-rp3uOJvKWtiFk6vj/view?usp=sharing

Global Clean Energy Market | Allied Market Research :-

https://www.alliedmarketresearch.com/clean-energy-market-A43785#:~:text=The%20global%20clean%20energy%20market,9.1%25%20from%202023%20to%202032

The Renewable Energy & How to Save the World Documentary :-

https://goo.gl/photos/TusY3UndbtWjDfXx9

Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-

https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img