วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘บิ๊กป้อม’สั่งพรรคกดดันรบ.เลิก‘MOU 44’ ส่อขัดรธน.อ้างตอนเซ็นไม่รู้ว่าจะมีปัญหา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘บิ๊กป้อม’สั่งพรรคกดดันรบ.เลิก‘MOU 44’ ส่อขัดรธน.อ้างตอนเซ็นไม่รู้ว่าจะมีปัญหา

“บิ๊กป้อม” สั่งลูกพรรคพปชร.กดดันรบ.ยกเลิก MOU44 เหตุเป็นหนังสือสัญญาร่างทำให้ไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา ยกคำพูด “ทักษิณ” โชว์วิชั่นงานเนชั่น ชี้เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ ส่อขัดรธน..

วันที่ 7 พ.ย.2567 นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพปชร.ได้ให้นโยบายกำชับกรรมการบริหารพรรคและสส.พรรค ทุกคน ให้ร่วมแรงร่วมใจกัน ดำเนินนโยบายยกเลิก MOU 44 ให้ได้ เพื่อปกป้องเขตอธิปไตยของไทยทางทะเลอ่าวไทยพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร(16 ล้านไร่)และผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติ มูลค่า 20 ล้านล้านบาทของไทยในทะเลอ่าวไทยที่เป็นของไทยทั้งหมดตามกฏหมายทะเลระหว่างประเทศ ถึงแม้ พล.อ.ประวิตร จะเคยเป็นประธานคณะเจรจาฯตามกรอบ MOU44 แต่ขณะนั้นไม่ทราบมาก่อนว่า MOU 44 จะมีปัญหาทางกฏหมาย จนกระทั่งในเดือนมิ.ย.67 ตนได้เรียนให้ทราบว่าใช้สิทธิ์ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะพบว่า MOU 44 มีปัญหาสำคัญทางกฏหมายอย่างน้อย 2 ประการ คือ 1.การที่ฝ่ายกัมพูชา ลากเส้นไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาเริ่มจากหลักหมุดที่ 73 จุดแบ่งดินแดนทางบกของไทย-กัมพูชา ลากเส้นไหล่ทวีปตัดตรงมาทางทิศตะวันตกผ่านกลางเกาะกูด ที่เป็นดินแดนของไทย ตัดเส้นตรงเลยเกาะกูด ไปทางอ่าวไทยตอนใน การกระทำของฝ่ายกัมพูชาเป็นการลากเส้นไหล่ทวีปที่ผิดกฏหมายทะเลระหว่างประเทศอย่างสิ้นเชิง จึงทำให้เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากต่อลงมาทางทิศใต้ เป็นเส้นไหล่ทวีปที่ผิดกฏหมายทะเลระหว่างประเทศไปด้วย กินพื้นที่อธิปไตยทางทะเลของไทยไป 26,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 16 ล้านไร่ แต่ MOU 2544 ไปรับรองเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวเป็นเส้นถูกต้องที่นำใช้มาอ้างสิทธิกับไทยว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน เพื่อเจรจาแบ่งทรัพยากรทางทะเลของไทย ให้ประเทศกัมพูชาฝ่ายละ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แสดงวิสัยทัศน์ ในงานเดินเนอร์ทอล์ค

“ทักษิณ ชินวัตร โชว์วิชั่นเศรษฐกิจประเทศไทย” เมื่อวันที่22 ส.ค. 2567 มีความบางตอนว่า “อีกอันหนึ่ง ที่อดพูดไม่ได้ เรื่องของเขตทับซ้อนทางทะเล ความจริงเขตทับซ้อนทางทะเลนี่ไม่ใช่เป็นเรื่องเส้นเขตแดนหลัก ก็คือว่าประเทศเราอยู่ตรงนี้มีไหล่ทวีปอยู่ตรงนี้ลากไป 200 ไมล์ทะเล อันนี้ตามหลักกฎหมายสากลประเทศเพื่อนบ้านสมมุติกัมพูชาไหล่ทวีปอยู่ตรงนู้นลากมา200 ไมล์ทะเล เกยกันตรงไหนเราถือว่าเป็นเขตทับซ้อน เขตทับซ้อนตรงนั้นถ้ามีทรัพยากรอยู่ ก็ถือว่าแบ่งคนละ 50 ดังนั้นหากรัฐบาลไปดำเนินเจรจาตาม MOU 2544 แบ่งผลประโยชน์พลังงานธรรมชาติทางทะเลให้ฝ่ายกัมพูชา 50 เปอร์เซ็นต์ตามที่นายทักษิณ ชี้แนะรัฐบาลไว้ อาจเข้าข่ายกระทำผิดทั้งกฏหมายทะเลระหว่างประเทศและกฏหมายภายในประเทศ เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย”นายไพบูลย์ กล่าว

นายไพบูลย์ กล่าวว่า ประการที่ 2 พบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่า MOU 44 มีสถานะเป็นหนังสือสัญญา มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ตามบรรทัดฐานคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/2542 คำวินิจฉัยที่ 33 /2543 และคำวินิจฉัยที่6-7/2551 เมื่อ MOU 44 มีสถานะเป็นหนังสือสัญญาจึงต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 มาตรา 224,ปี 2550 มาตรา 190 และ ปี 2560 มาตรา 178 แต่ปรากฏว่า MOU 44 ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบันไม่มีการเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบ MOU 44 จึงเป็นหนังสือสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาไทย มีผลให้ MOU เป็นบทบัญญัติใดหรือการกระทำใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 5 และมีผลให้ MOU 44 ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ตั้งแต่เริ่มแรกและมีผลในทางกฎหมายไม่ผูกพันรัฐภาคีทั้งสอง ตามหลักการเรื่องความไม่สมบูรณ์แห่งสนธิสัญญา ซึ่งบัญญัติไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969

“ดังนั้นเมื่อ MOU 44 มีสถานะเป็นหนังสือสัญญาที่ทำขึ้นโดยขัดรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ การที่รัฐบาลปัจจุบันหากนำMOU44 ไปดำเนินการแบ่งทรัพยากรพลังงานธรรมชาติทางทะเลให้กับกัมพูชาต่อไป ทั้งที่รู้หรือควรรู้ว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มีข้อควรระวังว่า อาจถูกฟ้องไปว่าเข้าข่ายกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ“เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img