วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 14, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEย้อนคำวินิจฉัย “ฉ้อโกงเป็นปกติธุระ” พฤติการณ์แห่งคดี“ทนายตั้ม”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ย้อนคำวินิจฉัย “ฉ้อโกงเป็นปกติธุระ” พฤติการณ์แห่งคดี“ทนายตั้ม”

ก่อนหน้านี้ มี “อัยการ” ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับความผิดฐาน “ฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ” ที่บัญญัติอยู่ใน พ.ร.บ.ฟอกเงินฯ เป็นการผสมผสานของกฎหมาย ตัดวงจรอาชญากรรม คุ้มครองให้ความเป็นธรรมกับสุจริตชน

สำหรับคำร้องฝากขัง “ทนายตั้ม-ษิทรา เบี้ยบังเกิด” ได้มีการบรรยายพฤติกรรม ว่าการกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 คือ “ทนายตั้ม” เป็นความผิดฐานฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อยู่ด้วยนั้น

เเหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ความเห็นทางกฎหมายว่า การดำเนินคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงเป็นปกติธุระ ถือว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญ ของการนำกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมาผสมผสานกัน

คือ ข้อหาฉ้อโกง เป็นความผิดที่อยู่ในกฎหมายอาญา ที่เป็นการฉ้อโกงบุคคลทั่วไป กับการฉ้อโกงประชาชน ส่วนคำว่า การฉ้อโกงเป็นปกติธุระ จะอยู่ในกฎหมายฟอกเงิน ซึ่งเป็นมาตรการดำเนินคดีกับผู้โอน รับโอนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด และการยึดอายัดทรัพย์สิน

ทั้งนี้ คำว่า เป็นปกติธุระ อาจมีความหมายความว่า เป็นบุคคลผู้มีหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการทรัพย์สิน แล้วกระทำการ ฉ้อโกง โดยหลอกลวง แล้วเอาไปซึ่งทรัพย์สินของบุคคลอื่น ไปจำนวนหลายครั้งหลายคราเป็นอาจิณ

สำหรับทนายความ ถือว่าเป็นบุคคลซึ่งลูกความให้ความไว้วางใจมอบหมายให้ทำหน้าที่ในทางกฎหมาย แต่ทนายความดังกล่าว กลับกระทำการผิดหน้าที่ หลอกลวง เอาทรัพย์สินของลูกความ ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

การกระทำการดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดหน้าที่ ที่ตนได้รับมอบหมาย และเป็นการกระทำที่ผิดมรรยาททนายอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินคดีกับทนายความในข้อหาดังกล่าว

จึงถือเป็นปรากฏการณ์ทางกฎหมาย ที่จะตัดวงจรอาชญากรรม และบังคับใช้กฎหมาย เพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมกับสุจริตชนด้วย โดยหลังจากนี้ก็จะต้องมีการยึดอายัดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติการฟอกเงินต่อไปอีก

เมื่อลองตรวจสอบคดียึดทรัพย์ของ ปปง. พบตัวอย่างการฉ้อโกงเป็นปกติธุระ อันนำมาซึ่งการยึดทรัพย์ ในคดีหลอกลวงโอนเงินเข้าบัญชีม้าในปี 2559

เอกสารบรรยายว่า พฤติกรรมของผู้ต้องหา ได้เปิดบัญชีเงินฝากหลายธนาคาร และมีการทำธุรกรรมทางการเงินลักษณะ หลอกให้ผู้เสียหายในต่างพื้นที่ โอนเงินเข้าบัญชีและทยอยถอนเงิน จนเกือบหมดภายในวันเดียวกัน เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น เมื่อมีการหลอกลวงผู้เสียหายในหลายพื้นที่ ให้โอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้เพื่อรองรับเงินของผู้เสียหาย พฤติการณ์จึงมีลักษณะกระทำความผิด ซ้ำๆ “อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ”

เข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐาน ตามนัยมาตรา 3 (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์สิน ที่เกี่ยวกับการกระทำผิดไว้ชั่วคราว

…………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

OR กับอนาคตที่กำลังเปลี่ยนผ่าน

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img