วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightมั่นใจ!“ร่างประชามติ”ไม่ใช่“ก.ม.การเงิน” “นิกร”ชี้ลดเวลาจาก180เหลือ10วันไม่ได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มั่นใจ!“ร่างประชามติ”ไม่ใช่“ก.ม.การเงิน” “นิกร”ชี้ลดเวลาจาก180เหลือ10วันไม่ได้

“นิกร” ยัน ร่างพรบ.ประชามติ ไม่ใช่ ก.ม.การเงิน ลดจาก 180 เหลือ 10 วันไม่ได้ ยอมรับกังวลล่าช้าไปเป็นปี อาจทำครั้งแรกยืดไปปี 69 จับตา 4 ธค. กมธ. ถก ก่อนชงรายงานให้ ส.ส.-ส.ว.

วันที่ 24 พ.ย.67 นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … เปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567 จะมีการประชุมเพื่อพิจารณา (ร่าง) รายงานของคณะกรรมาธิการร่วมกันฯ และคาดว่าจะเสนอรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในวันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567 โดยเพื่อให้สามารถบรรจุระเบียบวาระการประชุมของแต่ละสภาเมื่อเปิดสมัยประชุม โดยคาดว่าวุฒิสภาจะพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการร่วมกันฯ ในวันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม ส่วนสภาผู้แทนราษฎรคาดว่าจะพิจารณาในวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2567 ซึ่งในทางการเมืองตนเชื่อว่ารายงานจะได้รับความเห็นชอบจากฝั่งวุฒิสภาอย่างแน่นอน เพราะเป็นหลักการสองชั้นตามร่างที่วุฒิสภาได้แก้ไขไว้เดิม แต่ตนก็เชื่ออีกว่าในชั้นการพิจารณาของฝั่งสภาผู้แทนราษฎรจะไม่ให้ความเห็นชอบด้วยอย่างแน่นอน เพราะจะถูกยับยั้งไว้ก่อน 180 วัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 137 เพื่อที่จากนั้นสภาผู้แทนจะได้ยกร่างฉบับของตนขึ้นพิจารณาใหม่แล้วยืนยันเพื่อให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วโดยไม่ต้องอาศัยวุฒิสภาแต่อย่างใด จากนั้นก็นำไปดำเนินการ มาตรา 81 เพื่อประกาศเป็นกฏหมายบังคับใช้ต่อไป

นายนิกร กล่าวว่า ตามที่ได้มีความคิดเห็นที่จะนำเสนอให้ร่างกฏหมายฉบับนี้เป็นร่างพรบ.เกี่ยวกับการเงิน เพื่อลดเวลาการยับยั้งไว้จาก 180 วันให้เหลือเพียงแค่ 10 วันนั้น ตนเห็นว่าถ้าทำได้จริงก็จะเป็นเรื่องดี เพราะขณะนี้จากสภาพบังคับของกฏหมายประชามติตามที่เป็นอยู่จะทำให้การทำประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งแรกมิได้ล่าช้าไปเพียง 180 วันเท่านั้น หากแต่จะต้องรวมเอาเวลาของขั้นตอนอื่นๆตามกฏหมายอื่นด้วย แล้วจะทำให้เวลาต้องยืดไปอีกมากเป็นปี โดยประมาณว่าจะสามารถทำประชามติครั้งแรกได้ช่วงเดือนมกราคม 2569 ทีเดียว ไม่สามารถจะลดเวลาโดยอาศัยช่องทางว่าเป็นกฏหมายเกี่ยวกับการเงินได้ ถ้าฝืนกระทำไปก็อาจสุ่มเสี่ยงถูกร้องว่าออกกฏหมายโดยมิชอบได้ โดยให้เหตุผลว่า จนถึงขณะนี้เป็นกรณีเป็นที่เด็ดขาดแล้วว่าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….ไม่ใช่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

“สภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปยังวุฒิสภา ตามมาตรา 136 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎรจะหยิบยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….ที่ต้องยับยั้ง ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวด้วยการเงินขึ้นพิจารณาใหม่ เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ กรณีจึงล่วงพ้นช่วงเวลาในการสงสัยว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่นั้นไปแล้ว ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ จึงไม่มีอำนาจในการวินิจฉัยอีก หากมีการดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลถึงกระบวนการตรากฎหมายที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้” นายนิกร กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img