วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 5, 2024
spot_imgspot_img
หน้าแรกHighlight‘กมธ.ประชามติ’เคาะใช้เสียงข้างมาก2ชั้น แก้รธน.ทั้งฉบับรับเสร็จไม่ทันรัฐบาลชุดนี้
spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘กมธ.ประชามติ’เคาะใช้เสียงข้างมาก2ชั้น แก้รธน.ทั้งฉบับรับเสร็จไม่ทันรัฐบาลชุดนี้

‘กมธ.ประชามติ’ เคาะใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้นทำประชามติแก้รธน.ทั้งฉบับ รับเสร็จไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ ด้าน ‘สว.’ แทงกั๊กแก้ม.256 ตั้ง “ส.ส.ร.”ยกร่างใหม่

วันที่ 4 ธ.ค.2567 เวลา 13.50 น. ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง เลขานุการกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ แถลงว่า ที่ประชุมกมธ.ได้ประชุมนัดสุดท้าย โดยสรุปรายงานกมธ.ร่วมฯ เห็นชอบกับร่างกฎหมายประชามติของวุฒิสภาที่ให้ใช้เสียงข้างมากสองชั้นทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญคือ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง และมีคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง โดยพล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สว. ในฐานะประธานกมธ.ลงนามในรายงานฉบับนี้แล้ว จะเสนอไปยังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในวันที่ 4 ธ.ค. เบื้องต้นทราบว่า สว.จะนำเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภาในวันที่ 17ธ.ค. ขณะที่สส.จะนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 18 ธ.ค. หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของทั้งสองสภา เชื่อว่า สส.และสว.จะยืนยันจุดยืนตัวเอง ส่งผลให้ร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ จะถูกแขวน 180วัน จากนั้นหากสส.ยังยืนยันในหลักการของตัวเองจึงประกาศบังคับใช้ได้

เมื่อถามว่า การพักร่างกฎหมายฉบับนี้ 6 เดือน จะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ทันในรัฐบาลหรือไม่ นายนิกรตอบว่า หากแก้ทั้งฉบับไม่ทันสภาฯชุดนี้แน่ นอกจากต้องรอ 180วันแล้ว ต้องรอคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ออกอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องอีก 1เดือน จึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ขณะที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีต้องเชิญกกต.และสำนักงบประมาณมาหารือจะใช้งบประมาณทำประชามติเท่าใด เพื่อส่งให้ครม.ลงมติ จึงเข้าสู่ขั้นตอนทำประชามติ รวมแล้วใช้เวลาเกือบปี คาดว่าจะทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญได้ ช่วงปลายเดือนธ.ค.2568 ถึงต้นเดือนม.ค. 2569 จึงได้แก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 จึงไม่น่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ทันรัฐบาลชุดนี้ ส่วนการทำประชามติมองว่า ต้องทำ 3ครั้งในการแก้รัฐธรรมนูญ แม้จะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็มีเวลาไม่เยอะ อาจต้องขอเวลาคุยกับสว.ให้การแก้ไขเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงอยากให้รัฐบาลมีร่างหลักในการแก้รัฐธรรมนูญในนามพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปในทางเดียวกัน

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. ในฐานะโฆษกกมธ. กล่าวว่า สว.ไม่ได้เหนื่อยฟรีในการแก้ไขกฎหมายประชามติ ต่างคนต่างเคารพความเห็นกันและกัน หากแก้ไม่ทันก็ต้องมาพิจารณาแก้รายมาตรา สว.ไม่ได้ยึดหลักเสียงข้างมากสองชั้นทั้งหมด หากจะแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ต้องดูจะแก้เรื่องใด ประชาชนมีส่วนร่วมมากแค่ไหน กรณีแก้มาตรา 256 สว.ยังไม่มีความเห็น แต่สว.ไม่มีธงพร้อมรับฟังความคิดเห็น

นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษกกมธ. กล่าวว่า หากทำประชามติ 3 ครั้ง เคยประมาณคร่าวๆจะใช้เวลา 2 ปี จะพ้นระยะเวลาสภาฯชุดนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดช่วงเวลานี้จะมี ส.ส.ร.มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่หากทำประชามติ 2 ครั้งเวลาจะสั้นลงอย่างน้อย 180 วัน อาจทันอายุสภาชุดนี้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้คำตอบสุดท้ายต้องทำประชามติกี่ครั้ง ส่วนการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา256 จะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วย หากไม่ได้รับความเห็นชอบจะไปสู่ทางตัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img