วันพฤหัสบดี, มกราคม 16, 2025
หน้าแรกHighlight‘สนธิญา’ลุยยื่นหลักฐานเพิ่มให้‘ศาลรธน.’ เอาผิด‘เพื่อไทย’แจกเงิน1หมื่นไม่ตรงปก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สนธิญา’ลุยยื่นหลักฐานเพิ่มให้‘ศาลรธน.’ เอาผิด‘เพื่อไทย’แจกเงิน1หมื่นไม่ตรงปก

“สนธิญา” ลุยยื่นหลักฐานเพิ่มให้ “ศาลรธน.” เอาผิด “เพื่อไทย” แจกเงินดิจิทัลวอลเลตไม่ตรงปกตามที่หาเสียง

วันที่ 9 ธ.ค.2567 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายสนธิญา สวัสดี ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ที่รัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเลต 10,000 บาท ที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงในการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 โดยมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การแจกและกลุ่มบุคคล ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป ว่าด้วยการการเลือกตั้ง ส.ส.2561 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีหรือไม่ และหากศาลรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัย ขอให้สั่งให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยุติการปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ทั้งนี้ เอกสารที่นายสนธิญานำมายื่นวันนี้เป็นคำร้อง 4 ฉบับที่ได้เคยยื่นต่อกกต.และผู้ตรวจการแผ่นดิน ในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2566 เพื่อให้ตรวจสอบนโยบายหาเสียงดังกล่าว รวมถึงหนังสือตอบกลับจากผู้ตรวจการแผ่นดินที่นายสนธิญามองว่า ทำให้ตนเองสามารถมาใช้สิทธิ์ยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

นายสนธิญา กล่าวว่า เอกสารเพิ่มเติมที่นำมายื่นต่อศาลในวันนี้เป็นหลักฐานที่ทำให้ศาลเห็นว่านโยบายดิจิตอล 10,000 บาท รัฐบาลไม่ได้ทำแม้แต่ประการเดียว การทำที่ผ่านมาทำในรูปแบบของการแจกเงิน โดยใช้รูปแบบเดียวกับรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นการแจกเงินทำเพราะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด -19 แต่ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นกลับคืนขึ้นมาแล้ว ตนจึงไม่เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินในโครงการดังกล่าว ที่สำคัญกลุ่มคนตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไปที่พรรคเพื่อไทยเคยประกาศว่าจะได้รับเงินตามนโยบายดิจิตอล10,000 บาทนั้น วันนี้คนกลุ่มนี้ผิดหวังไปแล้ว 40 ล้านคน จากจำนวนคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 56 ล้านคน และการแจกของรัฐบาลไม่ตรงปก จึงขัดต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และรัฐธรรมนูญมาตรา 258 พ.ร.ป ว่าด้วยการการเลือกตั้ง ส.ส.2561

“ผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่ชัดเจนว่าประเด็นนี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะรัฐบาลแจกเงินหมื่นและแจกให้เฉพาะผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่นโยบายที่หาเสียงไว้คือจะแจกเป็นเงินดิจิตอล ผ่านระบบสื่อสารออนไลน์และให้ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไป ใช้จ่ายในรัศมี 4 กิโล เขาก็กำลังพยายามสืบเสาะหาเอกสาร แต่เนื่องจากมันจะเกินระยะเวลา 60 วันที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียโอกาสในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทางผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงมีหนังสือแจ้งกลับมาให้ผมยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเลย” นายสนธิญา กล่าว

นายสนธิญา กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้กกต. ระบุว่าได้มีการสอบถามพรรคเพื่อไทยไปแล้ว และเห็นว่าพรรคเพื่อไทยทำถูกต้อง แต่ตนอยากถามกลับไปว่ากรณีที่น.ส.แพทองธาร ออกมายืนยันว่าจะทำดิจิตอลวอลเลตต่อไปแล้วทำไม่ได้ กกต.จะรับผิดชอบอย่างไร ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคเพื่อไทยกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กกต.ก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะไม่เช่นนั้นในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ละพรรคก็จะแข่งกันประกาศนโยบายที่พอถึงเวลาแล้วก็ทำให้เป็นจริงไม่ได้ สุดท้ายประชาชนก็เบื่อหน่ายการเมือง เพราะนักการเมืองโกหก

“ผมไปดูข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าช่วงอายุของคนที่มากที่สุดในขณะนี้คือ 20-45 ปี มีจำนวนเกือบ 35 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้นโยบายดิจิตอลวอลเลต ไม่ได้ให้เขาเลย ไม่รวมคนอายุ 16-24 ปีซึ่งมี 7 ล้านคนถ้ารวมคนกลุ่มนี้แล้ว จะอยู่ที่ 37 – 40 ล้านคน คนกลุ่มนี้ไม่ได้เงินตามที่นโยบายของพรรคเพื่อไทยประกาศเท่ากับว่าหลอกเขา ถามว่าคนเหล่านี้ได้เลือกพรรคเพื่อไทยไปแล้วทำอย่างไร คนที่ได้เงินไปแล้ว ผมแสดงความยินดีด้วยแต่คนที่ไม่ได้ รัฐหรือพรรคเพื่อไทยจะชดเชยอย่างไร” นายสนธิญากล่าว

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img