วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 12, 2024
หน้าแรกHighlightเริ่มวันนี้!เปิดให้ลงทะเบียน‘คุณสู้ เราช่วย’ ลูกหนี้รายย่อย-SMEsสกัดหนี้เอ็นพีแอล
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เริ่มวันนี้!เปิดให้ลงทะเบียน‘คุณสู้ เราช่วย’ ลูกหนี้รายย่อย-SMEsสกัดหนี้เอ็นพีแอล

ธปท.จับมือคลัง-สมาคมธนาคารไทย-สมาคมธนาคารนานาชาติเปิดตัว “โครงการคุณสู้ เราช่วย” ช่วยลูกหนี้รายย่อย- SMEs สกัดหนี้เอ็นพีแอล เปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 67 ถึง 28 ก.พ.68 คาดความช่วยเหลือรวม 1.9 ล้านราย วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับกระทรวงการคลัง สมาคมธนาคารไทย (TBA) และสมาคมธนาคารนานาชาติ (AIB) เปิดตัว “โครงการคุณสู้ เราช่วย” ภายใต้แนวคิด “ปิดหนี้ได้ไว ไม่ต่อได้เร็ว” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้สิน 

โดยโครงการนี้มีเป้าหมายในการปรับโครงสร้างหนี้ ลดภาระดอกเบี้ย และช่วยปิดหนี้ได้อย่างรวดเร็ว

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคุณสู้ เราช่วย

-เป็นลูกหนี้ที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567

-มีสถานะบัญชีหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567

-ค่างวดค้างไม่เกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน 365 วัน ณ วันที่ลงทะเบียน

-เป็นลูกหนี้รายย่อยที่ไม่ได้กู้เพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

-ไม่มีสถานะปรับโครงสร้างหนี้จากมาตรการก่อนหน้า

ขั้นตอนการลงทะเบียนโครงการคุณสู้ เราช่วย

-ตรวจสอบรายละเอียด: เข้าไปที่เว็บไซต์ www.bot.or.th/khunsoo และตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

-สมัครใช้งานด้วย ThaiID: ยืนยันตัวตนผ่านระบบด้วยอีเมล หรือแอปพลิเคชัน ThaiID โดยการสแกน QR Code

-กรอกข้อมูลการลงทะเบียน: ใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล

-เลือกเจ้าหนี้: ระบุผู้ให้บริการทางการเงินที่ต้องการเข้าร่วม เช่น สถาบันการเงินหรือผลิตภัณฑ์หนี้

-ยืนยันการลงทะเบียน: เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วน ระบบจะแสดงหมายเลขคำร้องให้เก็บไว้เพื่อติดตามสถานะ

ระยะเวลาและช่องทางลงทะเบียนคุณสู้ เราช่วย

  • ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 – 28 กุมภาพันธ์ 2568
  • ลูกหนี้สามารถตรวจสอบสถานะคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทะเบียน สามารถติดต่อสายด่วนธนาคารแห่งประเทศไทยที่เบอร์ 1213 หรือ Call Center ของเจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ต้องการเข้าร่วม โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถจัดการภาระหนี้ได้อย่างยั่งยืน พร้อมสร้างโอกาสในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนทั่วประเทศ สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th/khunsoo

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ระบุว่า โครงการ “คุณสู้ เราช่วย ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว” ว่า มาตรการแก้ไขหนี้ รัฐบาลมีโจทย์ที่ช่วยเหลือเป็นเฟส 2 เติมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่มั่นใจว่าจะเพิ่มขึ้น จากภาคเศรษฐกิจหลายตัว เช่น การลงทุนในประเทศและต่างประเทศ เป็นจังหวะดีที่เราจะใส่เม็ดเงิน เข้าไป น่าจะเป็นเฟสที่ 2 ระยะต่อไปรัฐบาลจะพิจารณาเติมเงินเข้าไปช่วยผู้เข้าไม่ถึงสินเชื่อที่อยู่ในชนบทผ่านกลไกแบงก์รัฐ เกือบ 1 ล้านล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์ จะหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางดำเนินนโยบายการให้สินเชื่อผ่อนปรน โดยจะมีการพิจารณาอีกครั้ง อย่างถี่ถ้วน

ขณะที่การช่วยเหลือจากสมาคมธนาคาร คลังและสถาบันการเงินอื่น ใช้เม็ดเงินในการช่วย เมื่อช่วงเช้า ครม.ได้ผ่านวาระ FIDF ขอลดลงแค่ครึ่งเดียว โดยมีหลักการช่วยประมาณ 3 ปี แต่อย่างไรก็ตามจะทดลองทำเป็นปีๆไป ในส่วนของกระทรวงการคลังวงเงินช่วยเหลือไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 3.9 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนนี้จะมีส่วนที่สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือในสัดส่วนใกล้เคียงกัน หรือเท่ากัน หรือเงินช่วยเหลือถึงปีละ 7.8 พันล้านบาท รวม 3 ปี 2 แสนกว่าล้าน

ในส่วนโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs กรณีมีมูลหนี้วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายนั้น เงื่อนไขกำหนดให้ลูกหนี้กลับมาชำระหนี้ 10% ของวงเงิน ส่วนที่เหลือจะยกหนี้ให้พบว่ามีจำนวนไม่เยอะ ประชาชนจะต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าโครงการ

“ดังนั้นเมื่อโครงการดำเนินเสร็จสิ้นไปแล้ว เศรษฐกิจดีขึ้น เราจะเห็นเงินต้นลดลง จะเห็นเอ็นพีแอลในระบบลดลง 10% กว่าๆ จากปัจจุบันอยู่ 16 ล้านล้านบาท โดยเป็นหนี้เอ็นพีแอลกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ธนาคารพาณิชย์อาจต้องรอ 12 เดือนบวกลบ จะเห็นยอดเอ็นพีแอลลดลง ยอมรับว่าอยากเห็นยอดเอ็นพีแอลต่ำกว่า 80%” นายพิชัยกล่าว

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศมานาน เป็นภารกิจหลักของธปท.ที่พยายามผลักดันต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ออกมาตรการแบบปูพรม หลังจากนั้นเมื่อเห็นเหตุการณ์ยืดเยื้อ ไม่เท่าเทียมมีการปรับมาตรการให้ตรงจุดมากขึ้น ผ่านมาตรการฟื้นฟูและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ รวมวงเงินกว่า 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งมีการเบิกใช้วงเงินไป 99.4% และหลังจากนั้นปรับมาตรการระยะยาวผ่านมาตรการฟ้า-ส้ม และเมื่อต้นปี 2567 ออกมาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ เน้นการช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ช่วง 9 เดือนแรกปรับโครงสร้างแล้ว 6 ล้านบัญชี มูลหนี้ 2 ล้านล้านบาท

โครงการ “คุณสู้ เราช่วย ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว” ผ่าน 2 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” มีวัตถุประสงค์หลักช่วยเหลือลูกหนี้ที่วงเงินไม่สูงมาก ให้รักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทั้งบ้าน รถ และสถานประกอบการไว้ได้ จะช่วยบรรเทาภาระหนี้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ค่างวดที่ลดลงจะทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเหลือสำหรับดำรงชีพเพิ่มเติม ขณะที่ดอกเบี้ยได้รับยกเว้นจะช่วยให้ภาระหนี้โดยรวมของลูกหนี้ลดลง

มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” ช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) แต่ยอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) ลูกหนี้จะต้องเข้ามาเจรจาโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้บางส่วน ซึ่งมาตรการ “จ่าย ปิด จบ”นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียและยอดหนี้ไม่สูง เปลี่ยนสถานะการเป็นหนี้ จาก “หนี้เสีย” เป็น“ปิดจบหนี้” และเริ่มต้นใหม่ได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ มาตรการ “คุณสู้ เราช่วย ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว” จะแตกต่างจากมาตรการอื่นๆ ที่ผ่านมา จุดสำคัญ คือ เน้นการปรับโครงสร้างหนี้ ตัดเงินต้นในระยะ 3 ปี และการชำระเงินแบบ Co Payment ภาครัฐช่วยลดเงินสมทบเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และเงินสมทบจากธนาคารส่วนหนึ่ง จะเน้นกลุ่มลูกค้าเปราะบางและต้องการความช่วยเหลือรวม 1.9 ล้านราย วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

“SMR”…รอบนี้มีสิทธิ์ลุ้นไหม?

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img