Global Emissions & the World’s Carbon Market
“…..ตลาดคาร์บอน และคาร์บอนเครดิต คือ ส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ในบรรยากาศ เพื่อต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ…..”
ในปี 2567 นี้ คาดว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก Global Carbon Dioxide : CO2 Emissions อยู่ที่ 41,600 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 40,600 ล้านตัน ในปี 2566 ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ..
ทั้งนี้ ตลาดคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Market คือวิธีหนึ่งในการกำหนดวางกรอบราคาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Price on Greenhouse Gas Emissions โดยสร้างแรงจูงใจทางการเงิน กับให้รางวัลแก่ธุรกิจ และประเทศต่างๆ ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ในขณะเดียวกันก็กดดันด้านการเงินให้ถดถอยน้อยลง Creating Financial Disincentives สำหรับธุรกิจ และประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ..
ในประเด็นขนาดของ ตลาดคาร์บอน Carbon Market Size นั้น ปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า ตลาดคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Market มีมูลค่า 949 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ .. แม้ว่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credits จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นก็ตาม แต่ปัจจุบัน ระบบการซื้อขายการปล่อยคาร์บอนของสหภาพยุโรป European Union Emission Trading System : EU ETS คือตลาดคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุด Largest Carbon Market คิดเป็นประมาณ 87% ของตลาดโลก ในปี 2566 รวมทั้ง ตลาดชดเชยคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Offsets Market มีมูลค่า 938.75 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 มาพร้อมด้วย ..
อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาคาร์บอน Carbon Pricing นั้น ข้อมูลในปี 2566 แสดงให้เห็นว่า รายได้จากการกำหนดราคาคาร์บอน Carbon Pricing Revenues สูงถึง 104 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุด .. รายได้มากกว่าครึ่งหนึ่งที่จัดเก็บได้จากการกำหนดราคาคาร์บอน Revenue Collected from Carbon Pricing ถูกนำไปใช้เป็นทุนสำหรับโครงการด้านสภาพอากาศ และฟื้นฟูธรรมชาติ Fund for Climate & Nature Restoration Programs โดยการกำหนดราคาคาร์บอน Carbon Pricing สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ประเทศต่างๆ ลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างยอดเยี่ยม Powerful Tool to Help Countries Reduce Emissions ..
ตลาดคาร์บอน Carbon Markets สามารถช่วยให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงปารีส Paris Agreement และสามารถสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน Create Sustainable Energy Sources และตำแหน่งงานสีเขียว Green Jobs ได้อย่างมากมาย รวมทั้งตลาดคาร์บอน Carbon Markets ยังสามารถช่วยนำเงินทุนด้านสภาพอากาศไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาได้เป็นอย่างดีมาพร้อมอีกด้วย ..
จนถึงปัจจุบัน ธนาคารโลก World Bank ได้ติดตามตลาดคาร์บอน Tracking Carbon Markets ต่อเนื่องมาประมาณ 2 ทศวรรษแล้ว .. รายงานประจำปี 2567 เรื่อง “สถานะ และแนวโน้มของการกำหนดราคาคาร์บอน State and Trends of Carbon Pricing” ของธนาคารโลกสำหรับการทบทวนสถานะของตลาดคาร์บอน พบว่า ปัจจุบัน มีตลาดที่ครอบคลุมการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกแล้ว ประมาณ 24% .. ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ประเทศรายได้ปานกลางขนาดใหญ่ เช่น บราซิล Brazil, อินเดีย India, ชิลี Chile, โคลอมเบีย Colombia และตุรกี Turkey เป็นต้นนั้น กำลังก้าวหน้าในการกำหนดราคาคาร์บอน ในขณะที่ภาคส่วนดั้งเดิม เช่น พลังงาน และอุตสาหกรรม ยังคงครองตลาดอยู่ ..
การกำหนดราคาคาร์บอน Carbon Pricing กำลังได้รับการพิจารณาเพิ่มมากขึ้นในภาคส่วนใหม่ เช่น การบิน Aviation, การขนส่งทางทะเล Shipping และขยะ Waste .. กลไกการปรับพรมแดนคาร์บอนของสหภาพยุโรป EU’s Carbon Border Adjustment Mechanism ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ยังสนับสนุนให้ภาครัฐของประเทศต่าง ๆ พิจารณาการกำหนดราคาคาร์บอนสำหรับภาคส่วนต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก เช่น เหล็ก และเหล็กกล้า Iron & Steel, อลูมิเนียม Aluminum, ซีเมนต์ Cement, ปุ๋ย Fertilizers และกำลังไฟฟ้า Electricity เป็นต้นอีกด้วย ..
รัฐบาลของชาติต่างๆ ยังใช้กรอบการให้คาร์บอนเครดิต Carbon Crediting Frameworks มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดึงดูดเงินทุนผ่านตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ Voluntary Carbon Markets และอำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมในตลาดการปฏิบัติตามข้อกำหนดระหว่างประเทศ ..
แม้ว่าจะมีรายได้ และการเติบโตในระดับสูงสุด แต่การครอบคลุม และระดับราคาคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Price Coverage & Levels ยังคงต่ำเกินไปที่จะบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส .. ปัจจุบันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกไม่ถึง 1% ได้รับการครอบคลุมโดยราคาคาร์บอนโดยตรง หรือที่สูงกว่าช่วงของราคาที่คณะกรรมาธิการระดับสูงว่าด้วยราคาคาร์บอน High-Level Commission on Carbon Prices ได้แนะนำไว้ เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้ต่ำกว่า ณ จุดเล็งที่ 2oC .. รายงานระบุว่า การปิดช่องว่างการนำไปปฏิบัติ Closing the Implementation Gap ระหว่างพันธกรณี Countries’ Climate Commitments และนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ Climate Policies ของประเทศต่างๆ ยังคงจะต้องอาศัยความมุ่งมั่นทางการเมืองของนานาประเทศที่มากขึ้นไปกว่านี้ ..
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมนั้น ภาคส่วนหลักที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas : GHG Emissions ทั่วโลก ได้แก่ การผลิตกำลังไฟฟ้า และความร้อน Electricity & Heat Production ซึ่งถือเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดของโลก Largest Source of Global GHG Emissions คิดเป็น 34% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ในปี 2562 .. ภาคส่วนนี้ หมายถึงเช่น การเผาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ Burning of Coal, Oil & Natural Gas เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า และความร้อน เป็นต้นนั่นเอง ..
สำหรับภาคอุตสาหกรรม Industrial Sector นั้น ตามมาติดๆ ด้วยสัดส่วนความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global GHG Emissions อยู่ที่ 24% ในปี 2562 .. ภาคส่วนนี้รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เผาไหม้ในโรงงานพลังงาน Fossil Fuels Burned at Facilities for Energy, กระบวนการแปรรูปทางเคมี โลหะ และแร่ธาตุ Chemical, Metallurgical & Mineral Transformation Processes และกิจกรรมการจัดการขยะ Waste Management Activities ..
การเกษตร ป่าไม้ และการใช้ที่ดินอื่นๆ Agriculture, Forestry & Other Land Use มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global GHG Emissions อยู่ที่ 22% ในปี 2562 มาพร้อมด้วย .. ภาคส่วนนี้รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกพืชผล Crop Cultivation, ปศุสัตว์ Livestock, การทำลายป่า Deforestation, การเผาเศษซากพืชผลหลังการเก็บเกี่ยว Burning Crop Residues after Harvest และการปลูกข้าว Rice Cultivation ..
ในภาคการขนส่ง Transportation Sector นั้น พวกมันมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global GHG Emissions อยู่ที่ 15% ในปี 2562 .. ภาคส่วนนี้รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เผาไหม้ในการขนส่งทางถนน ราง ทางอากาศ และทางทะเล Fossil Fuels Burned for Road, Rail, Air & Marine Transportation ..
และในภาคอาคาร Buildings Sector นั้น พวกมันมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global GHG Emissions อยู่ที่ 6% ในปี 2562 .. ภาคส่วนนี้รวมถึงการปล่อยมลพิษจากการผลิตพลังงาน ณ สถานที่ Onsite Energy Generation, การเผาเชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนในอาคาร Burning Fuels for Heat in Buildings และการทำอาหารในครัวเรือน Cooking in Homes เป็นต้น ..
ทั้งนี้ ในภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global GHG Emissions นั้น ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Combustion of Fossil Fuels ซึ่งได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม Industrial revolution เริ่มต้นขึ้น .. ก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ของโลก World’s Greenhouse Gas Emissions แท้จริงแล้ว มาจากประเทศหลักจำนวนเพียงไม่กี่ประเทศ .. จีน China, สหรัฐฯ United States และประเทศต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสหภาพยุโรป European Union คือกลุ่มประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเมื่อพิจารณาตามปริมาณจริง โดยสหรัฐฯ United States และรัสเซีย Russia คือประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัว Per Capita Greenhouse Gas Emissions สูงที่สุด ..
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก และประเทศไทย Global & Thailand Greenhouse Gas Emissions ..
ประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดในโลกอันดับต้นๆ ได้แก่ จีน China, สหรัฐฯ United States, อินเดีย India, สหภาพยุโรป European Union, รัสเซีย Russia, ญี่ปุ่น Japan, แคนาดา Canada โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ ยังได้แก่ อินโดนีเซีย Indonesia, บราซิล Brazil และอิหร่าน Iran .. การปล่อยคายก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions ส่วนใหญ่ มีแหล่งกำเนิดจากหลายแหล่ง เช่น พลังงาน Energy, เกษตรกรรม Agriculture, ป่าไม้ และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน Forestry & Land Use Change, อุตสาหกรรม Industry และขยะ Waste ..
จีน China คือประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก World’s Largest Emitter คิดเป็น 26.4% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global Greenhouse Gas Emissions .. การปล่อยก๊าซของจีนส่วนใหญ่ เกิดจากการพึ่งพาถ่านหิน Heavy Reliance on Coal รวมทั้งการผลิต และส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค Production & Export of Consumer Goods ..
สหรัฐฯ United States คือประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัว Per Capita Emissions สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก .. ขณะที่ อินเดีย India มาเป็นอันดับ 3 โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อยู่ที่ 7.06% ของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global Greenhouse Gas Emissions ตามมาด้วยสหภาพยุโรป European Union อยู่ที่อันดับ 4 โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 7.03% ของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ..
รัสเซีย Russia คืออีกประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปล่อยก๊าซต่อหัว Per Capita Emissions สูงที่สุดของโลก .. ขณะที่ ญี่ปุ่น Japan และ แคนาดา Canada คือ อีก 2 ชาติมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูงในระดับ 1 ใน 5 ของโลกมาโดยตลอด แต่สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพวกเขา ได้เริ่มลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ..
ทั้งนี้ การจำแนกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Breakdown of Global Emissions พบว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อยู่ที่ 37.4 Gigatons : GT of CO2 ต่อปีจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels รวมถึงถ่านหิน Coal ที่เพิ่มขึ้น 0.2%, น้ำมัน Oil ที่เพิ่มขึ้น 0.9% และก๊าซ Gas ที่เพิ่มขึ้น 2.4% .. การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน Land-Use Change อยู่ที่ 4.2 Gigatons : GT of CO2 ต่อปี ซึ่งรวมไปถึงการตัดไม้ทำลายป่า Deforestation และการเสื่อมโทรมของป่า Forest Degradation ขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากไฟไหม้ Emissions from Wildfires สูงกว่าค่าเฉลี่ย เนื่องจากฤดูไฟป่าในแคนาด Canadian Wildfire Season เมื่อปี 2566 และภัยแล้งในบราซิล Drought in Brazil ..
ปัจจัยอื่นๆ Other Factors ได้แก่ ปัจจุบัน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ Carbon Dioxide : CO2 in Atmosphere อยู่ที่ 422.5 ส่วนต่อล้านส่วน Parts per Million : ppm ของ CO2 ในบรรยากาศ ซึ่งสูงกว่าระดับปี 2566 ถึง 2.8 ppm และสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 52% .. อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์เอลนีโญ El Niño Climate Event ทำให้ระบบนิเวศบนบก Terrestrial Ecosystems ดูดซับคาร์บอนน้อยลง ในปี 2566 แต่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2567 นี้ ..
ประเด็นที่เป็นนัยสำคัญซึ่งทุกผู้คน และนานาประเทศทั่วโลกจะต้องคำนึงถึง 3 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 หากปัจจุบัน ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โลกจะหมดต้นทุนการปล่อยคาร์บอน Run out of Carbon Budget เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อน Limit Warming ให้ไม่เกิน ณ จุดเล็งที่ 1.5oC ในอีก 6 ปีข้างหน้า .. ประการที่ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤติสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุด Avoid the Worst of the Climate Crisis นั้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global Emissions จะต้องลดลงอย่างน้อยประมาณครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2573 .. และประการที่ 3 พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และป่าไม้ Solar, Wind & Forests คือ ปัจจัยสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูป่าชายเลน พื้นที่ชายฝั่งทะเล และแนวปะการัง Restoration of Mangrove Forests, Coastal Areas & Coral Reefs กลายเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ขาดไม่ได้มาพร้อมด้วยจากนี้ไป ..
สำหรับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไทย Thailand’s Carbon Dioxide : CO2 Emissions นั้น ในปี 2565 ประเทศไทยปล่อยก๊าซ CO2 จากเชื้อเพลิงฟอสซิล 282,445,820 ตัน ซึ่งน้อยกว่า 1% และคิดเป็น 0.78% ของการปล่อย CO2 ทั้งหมดของโลก ..
ข้อมูลเมื่อปี 2565 ชี้ว่า ภาคพลังงาน Energy Sector คือ ภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในประเทศไทย คิดเป็น 40.05 % ของทั้งประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงจาก 69.06% เมื่อปี 2561 ก่อนหน้านี้ .. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตร Thailand’s Greenhouse Gas Emissions from Agriculture Sector อยู่ที่ประมาณ 15.69% ของปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งประเทศ โดยพืชไร่ พืชสวน และนาข้าว คิดเป็น 77.57% และมาจากปศุสัตว์ คิดเป็น 22.43% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนนี้ ..
ทั้งนี้ ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม และการใช้ผลิตภัณฑ์ Industrial Processes & Product Use Sector คือ ภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับรองลงไป อยู่ที่ประมาณ 10.77% โดยการผลิตปูนซีเมนต์ Cement Production คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนอุตสาหกรรมนี้ อยู่ที่ 51.28% .. ขณะที่ภาคส่วนขยะ Waste Sector ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนอยู่ที่ 4.88% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งประเทศ โดยการจัดการ และกำจัดขยะมูลฝอยที่เป็นของแข็ง Solid Waste Disposal คิดเป็นสัดส่วน 52.53% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนขยะ Waste Sector ทั้งหมด ..
ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ส่งผลให้ ประเทศไทย Thailand ต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น Rising Temperatures, อุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และรุนแรงขึ้น More Frequent & Severe Floods รวมทั้งภัยแล้งที่รุนแรงขึ้น Harsher Droughts เหมือนกันเช่นเดียวกับทุกประเทศทั่วโลก .. ผลกระทบเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยว สาธารณสุข และการจัดการทรัพยากรของชาติ ..
ความพยายามของประเทศไทยในการมุ่งมั่นร่วมมือกับประชาคมโลกสำหรับมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Efforts to Reduce Emissions และวางกรอบแผนการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐด้านพลังงานของประเทศที่มุ่งเน้นไปที่การลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ Thailand’s Energy Policy Focuses on Reducing Reliance on Natural Gas รวมทั้งประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี Strategic Plan on Pollution Management เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการขยะอย่างยั่งยืน Sustainable Waste Management และสังคมคาร์บอนต่ำ Low-Carbon Society ภายในปี 2579 โดยประเทศไทย ได้จัดทำรายงานการปรับปรุงทบทวนมาตรการต่าง ๆ สำหรับประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Update Report on its GHG Emissions ทุกๆ 2 ปี เพื่อให้มั่นใจว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศจะลดลงได้ สอดคล้องกับแผนงานที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
ตลาดคาร์บอน Carbon Markets สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต Carbon Credits และการดำเนินการของไทย ..
ตลาดคาร์บอน Carbon Markets และคาร์บอนเครดิต Carbon Credits คือส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ในบรรยากาศ เพื่อต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ..
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change หรือวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคมของมนุษยชาติในหลากหลายรูปแบบ .. ภัยแล้ง Drought อาจส่งผลเสียต่อการผลิตอาหาร Harm Food Production และสุขภาพของมนุษย์ Human Health .. น้ำท่วม Flooding อาจนำไปสู่การแพร่กระจายของโรค Spread of Disease, การเสียชีวิต Death และสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ และโครงสร้างพื้นฐาน Damage Ecosystems & Infrastructure .. ปัญหาสุขภาพของมนุษย์ Human Health Issues ที่เกิดจากภัยแล้ง น้ำท่วม และสภาพอากาศอื่น ๆ ส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น Increase the Death Rate, เปลี่ยนแปลงความพร้อมของอาหาร Change Food Availability และจำกัดปริมาณงานที่คนงานสามารถทำได้ Limit How Much a Worker can Get Done และท้ายที่สุดก็ส่งผลต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจของมนุษยชาติ Human’s Productivity of Economy ..
ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม Environmental Issues และการเติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Growth เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ Climate Change ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก .. หลายๆ ประเทศเริ่มกล่าวถึงประเด็นการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายใหม่ของภาคส่งออกไทยที่ต้องตระหนักรู้ และจำต้องเร่งปรับตัว โดยล่าสุด เมื่อกันยายน 2565 ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิต เตรียมศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax และกำหนดให้มีความชัดเจนในแนวทาง และอัตราภาษีให้ชัดเจน จากนี้ไปคาดหมายว่าจะเริ่มดำเนินการจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax จากสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง 5 ประเภท ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ยเคมี และการผลิตกำลังไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ ให้สำเร็จตามแผนงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยได้ ภายในปี 2608 ..
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอดีตที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจำกัด และการค้าแบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน จนทำให้ทั่วโลกต่างแสดงความกังวล และหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก การที่หลายประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol เพื่อพิจารณาหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งพิธีสารเกียวโตเองก็ได้มีการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้สำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก .. นอกจากนี้ความตกลงปารีส Paris Agreement 2015 เป็นต้นมา คืออีกหนึ่งความตกลงที่มีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยความตกลงดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักการซื้อขายก๊าชเรือนกระจก Emission Trading System : ETS และอนุญาตให้ผู้ที่ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย สามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่เหลือให้แก่ผู้อื่นได้ หรือที่เรียกกันว่า “คาร์บอนเครดิต Carbon Credits” ..
คาร์บอนเครดิต Carbon Credits หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ที่ลดลง หรือจัดเก็บไว้ได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น การลดเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การปลูกป่า การฟื้นฟูป่าชายเลน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การดักจับ และจัดเก็บก๊าซคาร์บอน เป็นต้น มีหน่วยวัดเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e .. ทั้งนี้ ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ที่ถูกควบคุมภายใต้พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol มี 7 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2, ก๊าซมีเทน Methane : CH4, ก๊าซไนตรัสออกไซด์ Nitrous Oxide : N2O, ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน Hydrofluorocarbons : HFCs, ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน Perfluorocarbons : PFCs, ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ Sulfur Hexafluoride : SF6 และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ Nitrogen Trifluoride : NF3 ..
สำหรับประเทศที่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น หากองค์กร ชุมชน หรือหน่วยงานใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลด หรือจัดเก็บไว้ได้ไปขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นๆ ขณะเดียวกันหากองค์กรใดที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินปริมาณที่กำหนด ก็สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ที่ขายคาร์บอนเครดิต เพื่อเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับองค์กรตัวเองได้อีกด้วย ..
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เข้าไปเกี่ยวข้อง และร่วมลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol ในสนธิสัญญาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตั้งแต่ปี 2545 โดยไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะไม่ถูกบังคับให้มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ..
เมื่อปี 2550 ประเทศไทย ได้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO ขึ้น มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก และคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่ได้รับการรับรอง ..
นอกจากนั้น ในปี 2559 ประเทศไทย ได้เข้าร่วมให้สัตยาบันในความตกลงปารีส Paris Agreement 2015 โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตั้งเป้าหมายควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 oC และได้กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นไว้ควบคู่กันว่าจะพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้น้อยลงไปอีกจนถึงต่ำกว่าจุดเล็งที่ 1.5 oC ..
ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 26th United Nations Climate Change Conference : COP26 เมื่อปี 2564 โดยไทยได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Carbon Emission ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero GHGs Emission ภายในปี 2608 โดยใช้กรอบนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมในรูปแบบโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economic Model : BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ..
สำหรับในประเด็นราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Price ในตลาดคาร์บอนของประเทศไทย Thailand’s Carbon Market นั้น พบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ T-VER ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2559 มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 846,000.- บาท เพิ่มขึ้นเป็น 124,762,420.- บาท ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 147 เท่า ในช่วงที่ผ่านมา โดยราคาคาร์บอนเฉลี่ยต่อตัน มีราคาเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 149.97 บาทต่อตัน .. ทั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยจาก อบก.หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO ว่า ปริมาณ และมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Trading ของประเทศไทยในช่วงปี 2566 เติบโตมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-218 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e ..
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาคาร์บอนเครดิต Price Mechanism of Carbon Credits ของต่างประเทศ พบว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ มีราคาสูงกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของไทยมาก ตัวอย่างเช่น ระบบ EU ETS : Emissions Trading System ของสหภาพยุโรป มีราคาอยู่ที่ 73.27 ยูโรต่อตัน เท่ากับประมาณ 2,707.07 บาทต่อตัน เป็นต้น .. แม้ว่าปัจจุบันราคาคาร์บอนเครดิตของไทยจะต่ำกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ แต่ในอนาคตคาดหมายได้ว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของไทย Price of Carbon Credits in Thailand มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากกรมสรรพสามิต เริ่มศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน และคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนได้ ภายในปี 2568 นี้ ..
ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี Strategic Plan on Pollution Management ของไทย วางกรอบเส้นทาง ณ เดือนตุลาคม 2570 ซึ่งกำหนดให้ราคาเฉลี่ยของคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย Average Price of a Carbon Credit in Thailand อยู่ที่ 1,500.- บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า tCO2eq สำหรับโครงการที่ลด ดูดซับ และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตร และป่าไม้ รวมทั้งราคาเฉลี่ยสำหรับโครงการจัดการขยะ Average Price for Waste Management Projects อยู่ที่ 100.- บาทต่อ tCO2eq ..
นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังมีแผนที่จะจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax ในปี 2568 ที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน Oil Products ด้วยอัตราภาษีกำหนดไว้ที่ 200.- บาทต่อเมตริกตันของคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบได้อยู่ที่ประมาณ 5.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน คาดว่า พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Act ซึ่งกำหนดกลไกการกำหนดราคาคาร์บอนภาคบังคับ Mandatory Carbon Pricing Mechanism นั้น จะมีผลบังคับใช้ ภายในปี 2572 ..
คาดการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิต/คาร์บอนชดเชยทั่วโลก Global Offset/Carbon Credit Market ..
โดยทั่วไป ตลาดคาร์บอนโลก Global Carbon Market คือการรวบรวมตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอน รวมถึง ตลาดดักจับ และจัดกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture & Storage : CCS Market ในปี 2566 มีมูลค่า 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าจะเติบโตถึง 16.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 .. ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดคาร์บอนโลก Global Carbon Market ในปี 2566 นั้น พบว่ามีมูลค่า 949 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยระบบการซื้อขายการปล่อยมลพิษของสหภาพยุโรป European Union Emission Trading System เป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตลาดนี้ ..
ผู้เล่นหลักในตลาดคาร์บอนโลก ได้แก่ Global Carbon Market Utility : GCMU ซึ่งเป็นองค์กรบริการทางการเงินในระยะเริ่มต้นที่มีภารกิจในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของตลาด Build Market Infrastructure เพื่อช่วยให้ตลาดคาร์บอน Carbon Market เติบโตได้อย่างมั่นคง .. ตลาดคาร์บอน Carbon Market นี้ มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเงินทุนเพื่อลด และขจัดการปล่อยมลพิษซึ่งเชื่อมโยงกับกระบวนการตรวจสอบทางการเงิน Financial Audit Process และการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการในระดับอุตสาหกรรม Industrial-Scale Project Financing, การพัฒนารูปแบบสำหรับตลาดบังคับในอนาคต Developing a Template for a Future Mandatory Market รวมทั้งการให้หน่วยงานกำกับดูแลเข้าถึงบัญชีแยกประเภทสาธารณะ Public Ledgers for Regulators เป็นต้น ..
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดคาร์บอนโลก Global Carbon Market ได้แก่ อุปสงค์สำหรับคาร์บอนเครดิต Demand for Carbon Credits อาจได้รับผลกระทบจากคุณภาพของเครดิต Quality of the Credits .. ตัวอย่างเช่น ในปี 2566 ความต้องการลดลง และราคาลดลง เนื่องจากเครดิตบางประเภทมีคุณภาพต่ำ .. ขณะที่กฎระเบียบ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งอาจกระทบต่อตลาดคาร์บอนโลก Global Carbon Market ได้เช่นกัน ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแล Regulators จะต้องสามารถตรวจสอบบัญชีแยกประเภทสาธารณะ Public Ledgers และดำเนินการตามความจำเป็น เพื่อให้ตลาดเป็นที่ยอมรับได้อย่างมั่นใจ ..
ทั้งนี้ ในประเด็นเฉพาะตลาดเครดิตคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Credit Market นั้น พวกมัน คือ ตลาดการเงินที่ซื้อ และขายคาร์บอนเครดิต Financial Market Where Carbon Credits are Bought & Sold ซึ่งเป็นการอนุญาตที่ให้ผู้ซื้อสามารถปล่อยคายก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases หรือคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในปริมาณหนึ่งได้ ..
อ้างอิงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Fortune Business Insights พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดคาร์บอนเครดิต/คาร์บอนชดเชยทั่วโลก Global Offset/Carbon Credit Market มีมูลค่า 938.75 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่าจะเติบโตจาก 1,067.74 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 ไปเป็น 2,549.42 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rat: CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดคาร์บอนเครดิต/คาร์บอนชดเชยทั่วโลก Global Offset/Carbon Credit Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 13.1% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2573 .. รวมทั้งคาดหมายเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ตลาดการชดเชยคาร์บอนในสหรัฐฯ Carbon Offsets Market in the U.S. จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะมีมูลค่าประมาณ 326,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 โดยได้รับแรงผลักดันจากความมุ่งมั่นขององค์กรต่อความเป็นกลางทางคาร์บอน และกรอบการกำกับดูแลที่เข้มงวด เช่น โปรแกรมจำกัด และซื้อขายคาร์บอนของรัฐแคลิฟอร์เนีย อัลเบอร์ตา รัฐบาลกลางแคนาดา และอื่น ๆ มาพร้อมด้วย ..
ความต้องการใช้คาร์บอนเครดิต Demand of Carbon Credits คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากจำนวนภาระผูกพันการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net – Zero Commitments ขององค์กรที่เพิ่มขึ้น .. การซื้อคาร์บอนเครดิต Purchasing Carbon Credits ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ กลายเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon – Neutral ในปัจจุบัน ขณะที่พวกเขา ยังคงมุ่งทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ต่อเนื่องไปพร้อมด้วย ..
ธุรกิจต่าง ๆ สามารถมุ่งสู่เป้าหมายเชิงรุก และเร็วขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากคาร์บอนเครดิต .. คาร์บอนเครดิต Carbon Credits ยังจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ มีตัวเลือกในการชดเชยการปล่อยมลพิษในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการตามขั้นตอนที่ประหยัดต้นทุน Cost-Effective Steps เพื่อลดการปล่อยมลพิษในอนาคตผ่านการหมุนเวียนของสินทรัพย์ และวิวัฒนาการของรูปแบบธุรกิจของพวกเขา .. ในระยะยาว คาร์บอนเครดิต Carbon Credits มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการชดเชยการปล่อยมลพิษที่ลดลงได้ยากจากสินค้า และผลิตภัณฑ์บางตัวที่ไม่มีตัวเลือกสำหรับการปล่อยมลพิษต่ำ หรือเป็นศูนย์สุทธิได้ ..
ในขณะที่บริษัทเอกชนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พยายามที่จะมีส่วนร่วมในตลาดชดเชย Carbon Offset Market .. ความก้าวหน้าล่าสุดได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินเชื่อที่เป็นคาร์บอนเครดิต Carbon Credits เหล่านี้โดยสมัครใจ Voluntary Demand for These Credits ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกมัน คือโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมควบคู่กับการลดการปล่อยมลพิษ Emission Reduction ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ซื้อที่สมัครใจมากกว่า บริษัทเหล่านี้ จึงได้รับแรงกดดันจากผู้ถือหุ้น และประชาชนทั่วไปให้ผลักดันโครงการนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และจากนี้ไป ..
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดชดเชย Demand Increase in the Offsetting Market เกิดจากความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ซึ่งกระตุ้นโดย COP26 .. บริษัทฯจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตระหนักถึงคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม Environmental & Social Value ของโครงการชดเชย และดำเนินการด้านสภาพอากาศด้วยการชดเชย Carbon Footprint ..
สำหรับในภาคส่วนของตลาดภาคสมัครใจ Voluntary Market Segment คาดว่าจะเติบโตอย่างมากในปีต่อ ๆ ไป .. คาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Credits ซึ่งในอดีตทำธุรกรรมผ่านข้อตกลงทวิภาคีที่จัดทำขึ้นเองระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย สามารถซื้อขายได้มากขึ้นผ่านการแลกเปลี่ยนในตลาดคาร์บอนเครดิตเฉพาะ และแพลตฟอร์มการซื้อขาย เมื่อพิจารณาจากการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจทั่วโลก Global Voluntary Carbon Credit Market พบการแลกเปลี่ยนที่จัดตั้งขึ้นจำนวนมาก กำลังมองหาช่องทางเปิดตัวข้อเสนอของตนเอง เพื่อมุ่งไปสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Economy & Society ในอนาคตให้เร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ..
ทั้งนี้ แนวโน้มและทิศทางตลาดคาร์บอนเครดิตระดับโลก Global Carbon Credit Market ที่ McKinsey คาดการณ์ไว้นั้น ความต้องการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในปี 2573 จะเติบโตสูงมากถึง 15 เท่าเทียบเคียงจากปี 2563 และเติบโตมากถึง 100 เท่าในปี 2593 สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต Future Carbon Credit Trading มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตไปทั่วโลก ..
สรุปส่งท้าย ..
แม้ว่าจะมีวิกฤติสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งเกิดจากไฟป่า พายุ น้ำท่วม และภัยแล้ง ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่การตรวจวัดอุณหภูมิโลกประจำปีของ Nationally Determined Contributions: NDCs
แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก Global Carbon Dioxide: CO2 Emissions ยังไม่ลดลง และยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง .. การคาดการณ์ภาวะโลกร้อนสำหรับปี พ.ศ.2643 หรือ ค.ศ.2100 นั้น คงที่ และไม่มีการปรับปรุงใดๆ ตั้งแต่ปี 2564 ผลกระทบโดยรวมจากนโยบายภาครัฐของนานาชาติปัจจุบัน ทำให้โลกมีแนวโน้มร้อนขึ้น 2.7oC ..
การหยุดนิ่งเป็นเวลา 3 ปีนี้ เน้นย้ำถึงความไม่สอดคล้องอย่างสำคัญระหว่างความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และความเร่งด่วนที่รัฐบาลของแต่ละประเทศมอบให้กับนโยบายภาครัฐที่จำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reduce the Greenhouse Gas Emissions ซึ่งนอกจากจะไม่เพียงพอแล้ว ยังส่งผลให้โลกร้อนขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับ 0.3oC ต่อทศวรรษ ..
ในการปรับปรุงข้อมูลครั้งนี้ เน้นไปที่ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ ได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินเดีย สหภาพยุโรป อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย รวมทั้งกลุ่มประเทศเจ้าภาพของการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 29 หรือ 2024 UN Climate Change Conference : UNFCC COP29 เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ปลายปี 2567 ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาเซอร์ไบจาน และบราซิล ซึ่งร่วมกันปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันแล้ว อยู่ที่ 63% ของโลก ในปี 2565 ..
ประเทศเหล่านี้ ต้องแสดงความเป็นผู้นำในระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซ ในปี 2573 และ 2593 ที่ทะเยอทะยาน และการเสริมสร้างมาตรการบรรเทาผลกระทบในประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ..
เนื่องจากคาดว่า รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ กำลังจะส่ง NDC ฉบับใหม่ล่าสุด จึงประเมินว่า พวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อปรับปรุงเป้าหมาย NDC โดยรวม ปี 2573 และ 2593 ใหม่ให้สอดคล้องกับจุดเล็งที่ 1.5oC ซึ่งการเสนอเป้าหมายในปี 2573 และ 2593 ที่สอดคล้องกับแนวทางในประเทศที่ Climate Action Tracker : CAT จำลองไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 1.5oC โดยแนวทางใหม่เหล่านี้ จะต้องสะท้อนถึงการบรรเทาผลกระทบจากระดับการปล่อยก๊าซโลก Global Emissions ในปัจจุบันที่ทะเยอทะยานให้สำเร็จได้ในที่สุดจากนี้ไป หมายถึง ความมุ่งมั่นทางการเมืองระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ มิฉะนั้น โลกใบนี้ อาจต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้อีก ..
ทั้งนี้ คาร์บอนเครดิต Carbon Credits คือส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ในบรรยากาศ .. ในโปรแกรมเหล่านี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกจำกัด จากนั้นตลาดจะถูกใช้เพื่อจัดสรรการปล่อยก๊าซระหว่างกลุ่มของแหล่งที่มาที่ได้รับการควบคุม .. เป้าหมายคือ เพื่อให้กลไกตลาดขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่าง ๆ เนื่องจากโครงการเหล่านี้ สร้างเครดิตชดเชยด้วยมูลค่าที่น่าสนใจ ซึ่งจะส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition ทั่วโลกจากฐานการบริโภคพลังงานหลักด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ไปสู่การใช้ฐานการบริโภคพลังงานหลักที่สะอาดกว่าที่เป็นพลังงานสีเขียว Green Energy จากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Social Economy หรือทำให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions ประสบความสำเร็จได้ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ ..
คาดหมายได้ว่า ความต้องการคาร์บอนเครดิตในอนาคต Future Carbon Credit Demand มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จากกระแสความตื่นตัว และความมุ่งมั่นทั้งในระดับชาติ ระดับองค์กร และในประชาคมโลก ซึ่งความตื่นตัวนี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย Carbon Credit Trading Market in Thailand เติบโตขึ้นได้เป็นอย่างดีไปพร้อมด้วย .. ดังนั้นนอกจากภาคพลังงาน และภาคการเกษตรแล้ว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งภาคประชาสังคม จำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และเริ่มดำเนินโครงการสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันอย่างจริงจังมากขึ้นจากนี้ไป ..
…………………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Global Emissions | The World Bank :-
GHG Emissions of All World Countries – 2024 Report | UN :-
https://edgar.jrc.ec.europa.eu/report_2024
Analysis: Global CO2 Emissions will Reach New High in 2024 Despite Slower Growth | Carbon Brief :-
How Much CO2 Does Thailand Emit? | IEA :-
https://www.iea.org/countries/thailand/emissions
Earth Overhaul | Saving Planet Earth from Climate Change Documentary :-
https://photos.app.goo.gl/3qLWAqW541RdtBLp7
The Six – Sector Solution to the Climate Crisis :-
https://photos.app.goo.gl/bpMYDhQjaAs21ByW9
Carbon Markets : Carbon Pricing Mechanisms for Climate Actions Cost Effectively :-