วันเสาร์, ธันวาคม 21, 2024
หน้าแรกNEWSคลังปรับเกณฑ์ลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt เตรียมเสนอครม.สัปดาห์หน้า
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คลังปรับเกณฑ์ลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt เตรียมเสนอครม.สัปดาห์หน้า

“จุลพันธ์” เผยคลังเตรียมเสนอมาตรการลดหย่อนภาษี โครงการ Easy E-Receipt เป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชน ต่อ ครม. 24 ธ.ค.นี้  พร้อมปรับเกณฑ์การใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการลดหย่อนภาษี โครงการ Easy E-Receipt (อีซี่ อี-รีซีท) เป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชน ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ 

ทั้งนี้ โครงการ  Easy E-Receipt สำหรับให้ประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องชำระภาษี ไปจับจ่ายใช้สอยใน กับร้านค้าที่ออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt วงเงิน 50,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 15 ม.ค.-28 ก.พ.2568 โดยสามารถนำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2568

โดยมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1.สำหรับการใช้จ่ายสินค้าทั่วไปและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น ทัวร์ เช่ารถ โรงแรม และร้านอาหาร กำหนดวงเงินลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท 

2.สำหรับการใช้จ่ายร้านวิสาหกิจชุมชน SME และร้านค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ 20,000 – 50,000 บาท

กระทรวงการคลังมีแผนที่จะจัดทำมาตรการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งสัญญาณเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวก็จะได้ประโยชน์ตรงที่มาตรการจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น”

นายจุลพันธ์ กล่าวต่อว่า โครงการ Easy E-Receipt ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีร้านค้าที่เข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น 20% ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถลงทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งระยะเวลาในการลงทะเบียนเพียง 1 สัปดาห์

นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำว่าการเข้าระบบภาษี ไม่ได้หมายความว่าต้องเสียภาษี หากร้านค้ามีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ทั้งยังง่ายต่อการยื่นแบบภาษีอีกด้วย

ทั้งนี้กระทรวงการคลังคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 70,000 ล้านบาท และทำให้รัฐสูญเสียการจัดเก็บรายได้ราว 10,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ค่าสินค้าหรือค่าบริการที่สามารถหักลดหย่อนได้ไม่รวมถึง 
(1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ 
(2) ค่าซื้อยาสูบ 
(3) ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ 
(4) ค่าน้ำมันและก๊าซ ค่ายริการประจุไฟฟ้า สำหรับเติมยานพาหนะ 
(5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 15 ม.ค. 2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 ก.พ.2568 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 15 ม.ค.2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2568 ก็ตาม 
(6) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img