‘เพื่อไทย’ โต้ยิบ ‘พรรคประชาชน’ ปมสัมปทานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนส่วนขยาย 3600 MW ไม่กระทบต่อค่าไฟอย่างที่ฝ่ายค้านพยายาม ‘บิดเบือน’
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.67 นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.พรรคเพื่อไทย ทวิตข้อความระบุว่า “ยาวนิด..แต่ตอบคำถาม ค่าไฟแพงขึ้น ไม่จริงเลยนะคะ
หญิงอยากให้ใจเย็นๆ ชวนอ่านข้อความเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริง ว่า ทำไมสัมปทานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนส่วนขยาย 3600 MW ที่เพิ่มขึ้น ถึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าไฟอย่างที่ ฝ่ายค้านพยายามบิดเบือน หรือกล่าวอ้าง
หญิงขอเริ่มแบบนี้นะคะ การรับซื้อพลังงานสีเขียวรอบ 3600 MW นี้ เป็นการรับซื้อเพิ่มเติม และต่อเนื่องจากการรับซื้อรอบแรก 5000 MW จากแผน PDP เดิม ที่ไทยต้องการจะมีพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาก เช่น Microsoft Google Amazon เพื่อสร้าง Data Center ไม่หรืออุตสาหกรรม Semiconductors ที่เลือกจะมาลงทุนในไทย รวมถึง Could Computing และ AI ที่ต้องใช้พลังงานมหาศาลในการประมวลผล นี่ยังไม่รวมภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการใช้พลังงานสะอาด รวมถึงร้านค้าในห้างพวกแบรนด์ใหญ่ๆ ก็ต้องการใช้พลังงานสะอาดนะคะ
หนูจัมไม ถาม: ทำไมต้องทำสัญญายาว 25 ปี ทำไมไม่รับซื้อทุกปี หรือ 3 ปี เพราะราคาพลังงานสะอาดอาจถูกลงในอนาคต
ตอบ ราคาพลังงานสะอาดไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงพลังงาน มีแต่ต้นทุนการก่อสร้าง นะคะ “อย่ามโน” เพราะเป็นพลังงานสีเขียว ตัวเลขอัตราค่าไฟ 2:20 บาท/หน่วย เกิดจากการประเมินที่ EGAT คำนวณราคา และคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งถือเป็นต้นทุนพลังงานที่ถูก..ถูกที่สุด..เมื่อเทียบกับพลังงานในรูปแบบอื่นๆ โดยไม่ต้องมีค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งหากเราเติมเข้ามาในระบบ ก็จะเป็นการถัวเฉลี่ยค่าไฟลง ช่วยให้ค่าไฟฟ้าในภาพรวมถูกลงได้ด้วย และเมื่อโรงไฟฟ้าก๊าซ ถ่านหิน หมดอายุไป รัฐบาลจะลดการต่ออายุโรงไฟฟ้าพลังงานเหล่านี้ลง พลังงานสีเขียวนี้ยังไม่มีความเสี่ยงต้นทุนเพิ่มขึ้นที่อาจจะกระทบจากตลาดโลก เช่น ราคาน้ำมัน ราคาก๊าซ หรือราคาถ่านหินอีกด้วย
“ค่าไฟแพงขึ้นตรงไหน อย่ามโน” ถ้ามองอะไรไม่เคยเห็นภาพใหญ่ ก็ช่วยเห็นแก่ประเทศชาติ และประชาชน
และหากเกิดวิกฤตในอนาคตมีการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ เหมือนช่วง โควิดมีความต้องการใช้ไฟเพิ่ม เอกชนที่ได้สัมปทานต้องมีการแบกรับต้นทุนจากค่าซ่อมบำรุงเอง หรือถ้าเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใดๆ ก็จะไม่มีผลต่อราคาค่าไฟ เพราะรัฐบาลรับซื้อโดยประกันค่าไฟไปแล้วที่ 2:20บาท/หน่วย ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดเอกชนรับผิดชอบ
หนูจัมไม ถาม: รัฐบาลเอื้อทุนใหญ่ ทำไมไม่ให้มีการประมูลเหมือนที่ผ่านมาจะได้แข่งขันด้านราคาได้
ตอบ ที่ผ่านมาในอดีตแนวนโยบายพลังงานแห่งชาติ ก่อนมี PDP2018 เราเคยใช้การประมูลราคามาแล้ว แต่มันพบปัญหาผู้ที่ได้สัญญาไปขายสัญญาต่อ ไม่ได้ผลิตเอง ความเชี่ยวชาญ ความพร้อมไม่มี สุดท้ายก็ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ ดังนั้นการประมูลราคาเน้นราคาถูกได้ไปทำ จึงไม่ใช่คำตอบที่ถูกที่สุด ยกตัวอย่าง เหมือนสินค้าจีนราคาถูกแต่คุณภาพไม่ได้ ความปลอดภัยไม่มี ความน่าเชื่อถือไม่มี คุณจะซื้อไหม จะเอาการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นไปเสี่ยงไหมคะ
รัฐบาลจึงหาทางแก้ไข เพราะพลังงานเป็นหนึ่งในมิติความมั่นคง ที่ต้องมีทั้ง 3 ด้าน เป็น 1.ความมั่นคงพลังงาน 2.ความมั่นคงทางราคา และ 3.ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม
ที่ชัดก็คือ เกณฑ์การคัดเลือกจะพิจารณาความพร้อมทั้งในด้านราคา คุณสมบัติ และเทคนิค ร่วมกัน
– ราคา : ต้องยอมรับ และปฏิบัติตามค่าไฟที่รัฐกำหนด ซึ่งรัฐได้กำหนดไว้ถูกมาก
– คุณสมบัติ : เช่น เป็นนิติบุคคลไทย ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ การวางหลักค้ำประกัน มีจุดเชื่อมโยง เป็นต้น
– เทคนิค : มีความพร้อมด้านพื้นที่ เทคโนโลยี เชื้อเพลิง การเงิน และความเหมาะสมของแผนดำเนินงาน
ถ้าคุณเป็นบริษัทที่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้คุณก็มีสิทธิในการได้สัมปทาน ไม่มีการเอื้อกลุ่มทุนใดๆ เป็นเรื่องเกณฑ์ที่เหมาะสมและคำนึงถึงประโยชน์ประเทศและพี่น้องประชาชน
สรุปทั้งหมด เรื่อง พลังงานสีเขียว เราต้องมองอนาคต เปรียบเหมือนเตรียมบ้านให้สวย ให้พร้อม คนจะอยากมาอยู่ อยากมาซื้อนะคะ มองภาพใหญ่บ้าง
สัมปทานไหม ค่าไฟฟ้าไม่แพง แต่ถูกสุด เมื่อเทียบทุกพลังงาน 2:20บาท/หน่วยค่ะ และไม่มีค่าความพร้อมจ่ายใดๆ
เอื้อกลุ่มทุนตรงไหน เกณฑ์ที่กำหนดใครเข้าเกณฑ์มีสิทธิหมด และพลังงานเป็นเรื่อง ความมั่นคง 3 มิติ 1.ความมั่นคงพลังงาน 2.ความมั่นคงทางราคา และ 3.ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม นะคะ
การลงทุนต่างชาติไม่เกิด -> เศรษฐกิจไม่โต ฝ่ายค้านรับผิดชอบอะไร นอกจากด่าเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างเดียว“