วันเสาร์, ธันวาคม 28, 2024
หน้าแรกNEWS“ธปท.”ชี้เศรษฐกิจซบ ! หลังหมดมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท-การบริโภคหดตัว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ธปท.”ชี้เศรษฐกิจซบ ! หลังหมดมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท-การบริโภคหดตัว

“ธปท.” ระบุเศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ย. 67 ชะลอลง หลังหมดมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท ขณะที่เงินเฟ้อยังบวกตามราคาน้ำมัน คาดท่องเที่ยว-ส่งออกเป็นแรงส่งสำคัญในปีหน้า พร้อมจับตานโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ

นางปราณี สุทธิศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจและการเงิน เดือน พ.ย.67 ว่า ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ขยายตัวได้ 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการบริโภคที่เร่งไปในเดือนก่อนหน้าจากมาตรการโอนเงินภาครัฐ 10,000 บาทในกลุ่มเปราะบาง สอดคล้องกับกิจกรรมในภาคการค้า ด้านการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลงจากทั้งหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดก่อสร้าง

ขณะที่การส่งออกในเดือน พ.ย. ขยายตัว 9.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดยานยนต์เพิ่มขึ้นตามการส่งออกรถยนต์นั่งและรถกระบะไปออสเตรเลียและอาเซียน รวมถึงการส่งออกยางล้อไปยังสหรัฐฯ สำหรับหมวดสินค้าเกษตรแปรรูป เพิ่มขึ้นตามการส่งออกยางสังเคราะห์ไปจีนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปสหรัฐฯในหลายสินค้าลดลง ได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ด้านการท่องเที่ยวต่างชาติรายรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยติดลบ 2.3% อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ 3.2 ล้านคน จากเดือนก่อนหน้าที่ 2.7 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นในหลายสัญชาติ โดยเฉพาะ อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ขณะที่นักท่องเที่ยวมาเลเซียลดลงชั่วคราวจากผลของน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ของไทย

สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. อยู่ที่ 0.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นตามหมวดพลังงาน จากผลของฐานต่ำในปีก่อนที่มีมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 0.80% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นจากผลของภัยแล้งในช่วงก่อนหน้า

ด้านอัตราเงินบาทเทียบดอลลาร์ในเดือน พ.ย. 67 อ่อนค่าลง ตามการคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินสหรัฐ ขณะที่ในเดือน ธ.ค. 67 เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยเชิงฤดูกาลเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้า คาดว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแรงส่งจากภาคการท่องเที่ยว แต่ยังต้องติดตามความต่อเนื่องของภาคการส่งออก ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเดือน ธ.ค. ปรับลดลงจากภาคการผลิตเป็นสำคัญ ขณะที่การแข่งขันในประเทศที่รุนแรงมีสัดส่วนความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากต้นปี 67

“กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า มีแรงส่งจากภาคการท่องเที่ยวและบริการ ส่วนส่งออกสินค้าขยายตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและการแข่งขันที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการฟื้นตัวของรายรับธุรกิจและรายได้ครัวเรือนกลุ่มเปราะบางโดยในระยะข้างหน้า ยังต้องติดตาม ผลกระทบจากความไม่แน่นอนของแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ”นางปราณี กล่าว

ด้านนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ในเฟส 2 และ 3 มองว่า การแจกเงินทั้ง 3 เฟส ได้คำนึงถึงการประมาณการเศรษฐกิจแล้ว และการกระตุ้นการบริโภค พบว่า มีการบริโภคเพิ่มขึ้น รวมถึงมองไปข้างหน้า ผลของมารตรการขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้จ่าย และกลุ่มคนที่จะได้รับจากมาตรการ ดังนั้นยังต้องติดตามว่าผลต่อเศรษฐกิจ ผลต่อการผลิตและการบริโภคได้มากน้อยอย่างไร

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img