วันอาทิตย์, มกราคม 5, 2025
หน้าแรกHighlightปีใหม่3วันเซ่นอุบัติเหตุทางถนน143ราย ดำเนินคดีแล้ว1.7พันคน-เข้ม‘ดื่มแล้วขับ’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ปีใหม่3วันเซ่นอุบัติเหตุทางถนน143ราย ดำเนินคดีแล้ว1.7พันคน-เข้ม‘ดื่มแล้วขับ’

“ศปถ.” แถลงปีใหม่ 3 วันเซ่นอุบัติเหตุทางถนน 143 ราย อยุธยาเกิดอุบัติเหตุ เสียชีวิตเยอะสุด “ทวี” เผย ดำเนินคดีกว่า 1.7 พันคน ใส่กำไลอีเอ็ม 4 ราย ประสานจังหวัดคุมเข้มสร้างความปลอดภัยถนน ปรับแผนตั้งจุดตรวจด่านตรวจคุมเข้มพื้นที่จัดงานปีใหม่ กวดขันดื่มแล้วขับ-เข้มข้นเรียกตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน หากกระทำผิดให้ใช้บทลงโทษสูงสุด

เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.67 เวลา 10.30 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศปถ.ว่า ข้อมูลวันที่ 29 ธ.ค. 2567 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” พบเกิดอุบัติเหตุ 280 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 269 คน ผู้เสียชีวิต 47 ราย สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว 38.57 เปอร์เซ็นต์ ดื่มแล้วขับ 23.21 เปอร์เซ็นต์ ตัดหน้ากระชั้นชิด 19.29 เปอร์เซ็นต์ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ 82.98 เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง 82.14 เปอร์เซ็นต์ถนนกรมทางหลวง 40.36 เปอร์เซ็นต์ ถนนใน อบต./หมู่บ้าน 31.07 เปอร์เซ็นต์

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01-17.00 น. 7.14 เปอร์เซ็นต์ ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี 22.47เปอร์เซ็นต์ จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,778 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 50,882 คน โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 12 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ ลพบุรี และสุราษฎร์ธานี (จังหวัดละ 10 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ สกลนคร 4 ราย ดังนั้น สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 3 วันของการรณรงค์ตั้งแต่ วันที่ 27-29 ธ.ค. เกิดอุบัติเหตุรวม 872 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 841 คน ผู้เสียชีวิต รวม 143 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 19 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา 35 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา 32 คน จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 7 ราย

พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่อว่า วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางถึงที่หมายแล้ว และเริ่มมีการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กับครอบครัวและเพื่อน ซึ่งอาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มแล้วขับ จึงได้กำชับให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง โดยให้ปรับแผนการตั้งจุดตรวจด่านตรวจในบริเวณที่มีการจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และดำเนินการอย่างเข้มข้นในการเรียกตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขับขี่ยานพาหนะ รวมถึงให้ควบคุมดูแลการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด โดยเฉพาะการจำหน่ายให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี และการจำหน่ายในลักษณะเร่ขายในบริเวณสถานที่จัดงาน นอกจากนี้ ให้จังหวัดเข้มงวดเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ โดยเฉพาะกรณีผู้ขับขี่อายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ดื่มแล้วขับ ให้ขยายผลสอบสวนดำเนินคดีไปที่ต้นทาง ส่วนผู้ที่กระทำผิดที่มีภาวะติดสุรา ต้องส่งเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ ในส่วนการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรม ได้บูรณาการกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครคุมประพฤติ และผู้ถูกคุมประพฤติคดีเมาแล้วขับและอื่นๆ กว่า 400,000 คน ทั่วประเทศ สนับสนุนการปฏิบัติงานตามจุดบริการประชาชนทั่วประเทศ เน้นย้ำกรณีเด็กและเยาวชนเกิดอุบัติเหตุจากดื่มสุราต้องดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายด้วยหรือยึดรถจักรยานยนต์หากเสี่ยงกระทำผิด พร้อมเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน 4 ฐานความผิด โดยศาลจะมีคำสั่งคุมประพฤติ ประกอบด้วย การขับรถขณะเมาสุรา การขับรถโดยประมาท การขับรถซิ่ง และการขับเสพ โดยตั้งแต่วันที่ 27-29 ธ.ค. 2567 ได้ดำเนินคดี จำนวน 1,763 คดี และติดกำไล EM กับผู้กระทำผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา จำนวน 4 ราย.

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img