วันอังคาร, มกราคม 7, 2025
หน้าแรกHighlightนักลงทุนยังคงแห่ถือเงินสกุล“ดอลลาร์” ทุบ“เงินบาท”อ่อนค่าหนักต้อนรับปีใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นักลงทุนยังคงแห่ถือเงินสกุล“ดอลลาร์” ทุบ“เงินบาท”อ่อนค่าหนักต้อนรับปีใหม่

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.31 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงหนัก” หลังเงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงวันหยุดตลาดการเงินไทย ท่ามกลางภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาดช่วงท้ายปี หนุนความต้องการถือเงินดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.31 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงหนัก” จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ที่ระดับ 34.07 บาทต่อดอลลาร์ (ระดับปิด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2567) โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) ทยอยอ่อนค่าลงทะลุโซนแนวต้าน 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์ ตามการกลับมาแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของตลาดการเงินไทย โดยบรรยากาศระมัดระวังตัวของตลาดการเงินสหรัฐฯยังคงหนุนความต้องการถือเงินดอลลาร์อยู่

อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินดอลลาร์จะทยอยแข็งค่าขึ้น ทว่าเงินบาทก็ยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ (XAUUSD) ที่สามารถกลับมาแกว่งตัวแถวโซน 2,620-2,630 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อีกครั้ง ทำให้โดยรวมเงินบาทยังไม่ได้อ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 34.30 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้อย่างชัดเจน

แม้ว่าตลาดการเงินจะปิดทำการเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม ทว่าหากประเมินจากสัญญาฟิวเจอร์สของดัชนีตลาดหุ้น อย่างตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า บรรดาผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่กลับมาเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงอย่างเต็มที่ โดยล่าสุด สัญญาฟิวเจอร์สดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงราว -0.31% เช่นเดียวกันกับสัญญาฟิวเจอร์สดัชนีหุ้นเทคฯ และสัญญาฟิวเจอร์สหุ้นขนาดเล็กของสหรัฐฯ ที่ต่างปรับตัวลงราว -0.3%

ทางด้านตลาดค่าเงินนั้น เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวันหยุดตลาดการเงินไทย ท่ามกลางภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาดช่วงท้ายปี หนุนความต้องการถือเงินดอลลาร์ ทำให้โดยรวมเงินดอลลาร์สามารถปรับตัวขึ้นสู่โซน 108.5 จุด ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปีได้ (แกว่งตัวในกรอบ 107.8-108.6 จุด)

ส่วนของราคาทองคำ แม้ว่าเงินดอลลาร์จะทยอยแข็งค่าขึ้น แต่ภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาด รวมถึงจังหวะการย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯก็พอช่วยหนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.2025) สามารถปรับตัวขึ้นสู่โซน 2,630-2,640 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำดังกล่าว ก็สามารถช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้ในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับวันนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจอาจมีไม่มากนัก โดยบรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) ของสหรัฐฯ หลังในรายงานล่าสุด รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง (Continuing Jobless Claims) กลับปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับการปรับตัวลดลงของยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนประเมินว่า ภาพดังกล่าวอาจสะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ

ส่วนในฝั่งเอเชีย ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมของจีน (Caixin Manufacturing PMI) ในเดือนธันวาคม ซึ่งจะเน้นบริษัทขนาดเล็ก-กลาง มากกว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตโดยทางการจีน ที่ได้รายงานในวันที่ 31 ธันวาคม โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ดัชนี Caixin PMI ภาคการผลิตมีแนวโน้มทรงตัวแถวระดับ 51.5 จุด สะท้อนว่า ภาคการผลิตของจีนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง หนุนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

และในฝั่งไทย ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต และดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) ในเดือนธันวาคม

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราคงมองว่า เงินบาทก็อาจแกว่งตัว Sideways โดยมีโซน 34.30 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวต้านแรกในช่วงนี้ ขณะที่โซนแนวรับอาจอยู่ในช่วง 34.00-34.10 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าผู้เล่นในตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม ถึงจะเริ่มเห็นการเลือกทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนของเงินบาทในระยะข้างหน้า โดยเราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทก็อาจยังมีแนวโน้มทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ตามกลยุทธ์ Trend-Following ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้กลับมาอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านทั้ง 34.30 บาทต่อดอลลาร์ และโซน 34.50 บาทต่อดอลลาร์ อย่างชัดเจน

อนึ่ง ในช่วงระหว่างวันมองว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทก็อาจขึ้นอยู่กับ แนวโน้มราคาทองคำ โดยหากราคาทองคำยังสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ ก็อาจช่วยลดทอนแรงกดดันเงินบาทจากการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ในช่วงระยะสั้น นอกจากนี้ ควรจับตาการเคลื่อนไหวของเงินหยวนจีน (CNY) หลังตลาดรับรู้รายงานดัชนี Caixin PMI ภาคการผลิตด้วยเช่นกัน เพราะหากผู้เล่นในตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมากขึ้น ในกรณีที่รายงานดัชนี Caixin PMI ภาคการผลิตออกมาตามคาด หรือ ดีกว่าคาด ก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินหยวนจีนได้ หรือช่วยหนุนให้เงินหยวนจีนกลับมาแข็งค่าขึ้นบ้าง

นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว เรามองว่า ควรติดตามฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติเช่นกัน หลังหลายตลาดการเงินจะเริ่มกลับมาทำการตามปกติ ทำให้โฟลว์ธุรกรรมซื้อ ขาย สินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติอาจคึกคักมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) ของสหรัฐฯ โดยสถิติในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ชี้ว่า เงินบาท (USDTHB) อาจแกว่งตัว +/-0.20% ได้ในช่วง 30 นาที หลังตลาดรับรู้รายงานข้อมูลดังกล่าว

ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าที่จะเผชิญกับ Trump’s Uncertainty ทำให้เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.10-34.40 บาทต่อดอลลาร์    

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img