วันเสาร์, มกราคม 11, 2025
หน้าแรกHighlight‘ดุสิตโพล’เผยเด็กไทยมี‘ลิซ่า’เป็นไอดอล อยากได้ทุนเรียนจากรัฐบาลเป็นของขวัญ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ดุสิตโพล’เผยเด็กไทยมี‘ลิซ่า’เป็นไอดอล อยากได้ทุนเรียนจากรัฐบาลเป็นของขวัญ

“สวนดุสิตโพล”เผยเด็กไทยมี“ลิซ่า”เป็นแรงบันดาลใจ และได้อยากทุนการศึกษาจากรัฐบาลเป็นของขวัญวันเด็กปี 68

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  เปิดเผยผล สำรวจความคิดเห็นเด็กไทยทั่วประเทศ เรื่อง “เสียงสะท้อนจากเด็กไทย ปี 2568” ระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กไทยอายุระหว่าง 6-18 ปี จำนวน 1,030 คน สำรวจทาง ออนไลน์และภาคสนามพบว่า สิ่งที่เด็กไทยชอบหรือประทับใจที่สุดในวัยเรียน คือ การเล่นกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน ร้อยละ 66.21 นอกเหนือจากห้องเรียน เด็กไทยชอบเรียนรู้จากการดูคลิปหรือเรียนรู้จากมือถือ/แท็บเล็ตมากที่สุด ร้อยละ 76.99 ทักษะที่สำคัญสำหรับอนาคต คือ ทักษะการรู้จักป้องกันและรับมือกับภัยอันตรายทั้งในชีวิตจริงและออนไลน์ ร้อยละ 74.76

ทั้งนี้เด็กไทยอยากเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลง คือ โรงเรียนและการเรียนสนุกขึ้น ร้อยละ 61.26 ของขวัญที่อยากได้จาก รัฐบาล/นายกรัฐมนตรีในวันเด็กปีนี้ คือ ทุนการศึกษา เงินช่วยเหลือ ร้อยละ 74.37 นอกจากคุณพ่อคุณแม่ คนที่เด็กไทยชื่นชม และเป็นแรงบันดาลใจ คือ ลิซ่า ลลิษา ร้อยละ 47.09 รองลงมาคือ คุณครู ร้อยละ 41.26

จากผลโพลสะท้อนเสียงของเด็กไทยอายุ6-18 ปีว่า “ความ สนุก” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของช่วงวัยนี้ทั้งการเล่นกับเพื่อนในโรงเรียนและคาดหวังให้การเรียนในห้องเรียนสนุกมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้น “เรียนดีมีความสุข” หากสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้ย่อมตอบโจทย์ ผู้เรียนอย่างแท้จริง

ผลโพลยังชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยตระหนักถึงภัยมิจฉาชีพออนไลน์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีรวมถึงชื่นชม บุคคลศิลปินระดับโลกอย่าง “ลิซ่า ลลิษา” คุณครูนักกีฬา ไปจนถึงนักการเมืองอย่าง “พิธา” และ “แพทองธาร”

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ ฐิติเพชรกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า การสำรวจนี้สะท้อนประเด็นสำคัญหลายด้านเกี่ยวกับเด็กไทยในปัจจุบัน พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงของเด็กไทยคือ เรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลจากมือถือหรือแท็บเล็ต ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างชัดเจน แต่ขณะเดียวกันเด็กยังให้ ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในโรงเรียน แสดงถึงความจำเป็นในการคงไว้ซึ่ง Social Learning ควบคู่กับ Digital Learning ด้านการตระหนักถึงความปลอดภัย เด็กไทยก็ให้ความสำคัญกับทักษะการป้องกันภัยทั้งในโลกจริงและออนไลน์สูง แสดงถึงความกังวลต่อภัยคุกคามในยุคดิจิทัล และการที่เด็กไทยต้องการทุนการศึกษาและอุปกรณ์การเรียนแท็บเล็ตหรือ คอมพิวเตอร์สำหรับเรียนนั้นเป็นการยืนยันว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังคงมีอยู่ สุดท้ายที่เด็กไทยชื่นชมและเป็นแรง บันดาลใจ

น่าสนใจที่ศิลปินและนักกีฬาได้รับความนิยมมากกว่านักการเมือง แต่ครูยังคงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของเด็กไทย แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของครูและบุคคลสาธารณะยืนยันถึงความสำคัญของตัวแบบทางสังคมต่อการพัฒนาเยาวชนไทย

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img