วันจันทร์, มกราคม 13, 2025
หน้าแรกHighlightเช้าเปิดตลาดเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังการจ้างงานสหรัฐฯออกมาดีกว่าคาด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เช้าเปิดตลาดเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังการจ้างงานสหรัฐฯออกมาดีกว่าคาด

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.66 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” หลังข้อมูลการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ออกมาแข็งแกร่ง โดยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นกว่า 2.56 แสนตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 4.1% ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า เฟดมีโอกาสเพียง 15% ที่จะลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.66 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 34.59 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง ในลักษณะ Sideways Up (แกว่งตัวในกรอบ 34.52-34.79 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ทดสอบโซนแนวต้าน 34.80 บาทต่อดอลลาร์ จริง ตามที่เราได้ประเมินไว้ หลังเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ต่างปรับตัวสูงขึ้น ตามรายงานข้อมูลการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด โดยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เพิ่มขึ้นกว่า 2.56 แสนตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานก็ลดลงเหลือ 4.1% ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า เฟดมีโอกาสเพียง 15% ที่จะลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้ ลดลงจากที่ผู้เล่นในตลาดได้ให้โอกาสถึง 70% ในช่วงก่อนรับรู้รายงานข้อมูลดังกล่าว

อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทก็ถูกชะลอลงบ้าง จากการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาทองคำ (XAUUSD) สู่โซน 2,690-2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังบรรยากาศในตลาดการเงินสหรัฐฯ อยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) จากความกังวลแนวโน้มเฟดอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งหนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทะลุระดับ 4.75% (ตามที่เราประเมินเผื่อไว้เช่นกัน) ทำให้บรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ ต่างปรับตัวลงหนัก อาทิ Nvidia -3.0%, Apple -2.4%

สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากธีม US Exceptionalism หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด ส่วนเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ก็อ่อนค่าลงหนัก ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลอังกฤษ ทั้งนี้แม้เงินบาทจะถูกกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ และแรงขายสินทรัพย์ไทย แต่เงินบาทยังพอได้แรงหนุนบ้าง ตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ

สำหรับในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดควรเตรียมรับมือความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดได้

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
▪ ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนธันวาคม พร้อมทั้งจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด หลังรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดมองว่า เฟดมีโอกาสราว 15% ในการลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ และผู้เล่นในตลาดเริ่มไม่แน่ใจว่า เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนมิถุนายน นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน อาทิ กลุ่มการเงิน (Citi, Wells Fargo, BofA, GS และ MS) และกลุ่ม AI/Semiconductor อย่าง TSMC

▪ ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE และ ECB รวมถึงรายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจแบบรายเดือน (Monthly GDP) และยอดค้าปลีกของอังกฤษ

▪ ฝั่งเอเชีย – ประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของจีนในเดือนธันวาคม อาทิ ยอดค้าปลีก ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ภาวร (Fixed Assets Investment) และยอดการส่งออก-นำเข้า โดยผู้เล่นในตลาดจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ในส่วนนโยบายการเงิน เราประเมินว่า ธนาคารกลางฝั่งเอเชียอาจเลือกที่จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ก่อน เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 โดยธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) อาจคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 6.00% เช่นเดียวกันกับธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ที่อาจคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 3.00% แต่ก็มีโอกาสที่ BOK จะลดดอกเบี้ยเหลือ 2.75% เพื่อช่วยประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

▪ ฝั่งไทย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลการดำเนินงานของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มการเงิน ซึ่งอาจช่วยพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของตลาดหุ้นไทยได้บ้าง นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) ในเดือนธันวาคม สำหรับ แนวโน้มเงินบาท นั้น หากประเมินจากกลยุทธ์ Trend-Following เรามองว่า เงินบาทยังมีโอกาสทยอยอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ทดสอบโซนแนวต้านถัดไปแถว 34.80 บาทต่อดอลลาร์ ไปจนถึงโซนแนวต้านสำคัญ 35.00-35.10 บาทต่อดอลลาร์ได้ ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้กลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนทะลุโซนแนวรับ 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์อย่างชัดเจน เพราะหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้จริง จะทำให้กลยุทธ์ Trend-Following สะท้อนว่า เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้น หรืออย่างน้อยก็แกว่งตัว Sideways

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯในสัปดาห์นี้ จะยังคงเพิ่มความเสี่ยงความผันผวนในลักษณะ Two-Way Volatility ซึ่งทิศทางเงินบาทจะขึ้นกับรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI และยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังคงต้องติดตามทิศทางราคาทองคำ รวมถึงแนวโน้มเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินหยวนจีน (CNY) ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของอังกฤษและจีนด้วยเช่นกัน ทว่า ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจยังมีทิศทางที่ไม่แน่นอน โดยจะต้องจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์ยังมีโอกาสได้แรงหนุนจากธีม US Exceptionalism บ้าง ทว่าการแข็งค่าก็อาจเป็นไปอย่างจำกัด หลังผู้เล่นในตลาดให้โอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ เพียงราว 15% หลังรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาแข็งแกร่ง ทำให้เรามองว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มออกมาแย่กว่าคาดบ้าง ก็อาจกดดันเงินดอลลาร์ได้เช่นกัน ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ก็อาจพอได้แรงหนุนจากความกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 ทว่า หากรายงานผลการดำเนินงานของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มการเงิน ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้บรรยากาศในตลาดการเงินกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงได้ ซึ่งอาจลดทอนความต้องการถือเงินดอลลาร์เพื่อรับมือความผันผวนในตลาดการเงิน

เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward

มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 34.30-35.10 บาท/ดอลลาร์

ส่วนกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วงโมงข้างหน้า คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.65-34.80 บาท/ดอลลาร์

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img