วันพุธ, มกราคม 22, 2025
หน้าแรกHighlightเงินบาทเปิดเช้าวันนี้“แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จับตาแนวโน้มการลดดอกเบี้ยECB-BOE
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เงินบาทเปิดเช้าวันนี้“แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จับตาแนวโน้มการลดดอกเบี้ยECB-BOE

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.69 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย”หลังรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ของสหรัฐฯ ล่าสุด ออกมาต่ำกว่าคาด ลดความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯจับตาอีซีบี-บีโออี

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.69 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย”จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ที่ระดับ 34.75 บาทต่อดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) ทยอยแข็งค่าขึ้น ในลักษณะ Sideways Down (แกว่งตัวในกรอบ 34.67-34.80 บาทต่อดอลลาร์) หนุนโดยการทยอยอ่อนค่าลงบ้างของเงินดอลลาร์ หลังรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น +0.2% จากเดือนก่อนหน้า น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ (+3.3%y/y น้อยกว่าที่ตลาดคาดเช่นกัน) ทำให้ผู้เล่นในตลาดคลายความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ลงบ้าง พร้อมกับทยอยขายทำกำไรสถานะ Long USD (มองเงินดอลลาร์แข็งค่า) เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดยังคงไม่เร่งรีบปรับสถานะถือครองสกุลเงินต่างๆ มากนัก เพื่อรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ในช่วงคืนวันพุธนี้ ตามเวลาประเทศไทย นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังถูกกดดันเพิ่มเติมจากการรีบาวด์ขึ้นของเงินยูโร (EUR) หลังผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการเร่งลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และนอกเหนือจากการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ เงินบาทก็ได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการรีบาวด์สูงขึ้นของราคาทองคำ (XAUUSD) ที่ปรับตัวขึ้นใกล้โซน 2,670-2,680 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง

บรรดาผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวเพื่อรอลุ้นทั้งรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และรายงานผลประกอบการของบรรดาสถาบันการเงินขนาดใหญ่ อาทิ Citi, GS และ JPM ขณะเดียวกันผู้เล่นในตลาดต่างทยอยขายทำกำไรหุ้นเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth เพิ่มเติม ตามความกังวลแนวโน้มเฟดชะลอการลดดอกเบี้ย ที่หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.11%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง -0.08% กดดันโดยการปรับตัวลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน BP -2.5% จากความกังวลผลกระทบต่อกำไร หลังค่าการกลั่นลดลง ส่วนกลุ่ม Healthcare ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง นำโดย Novo Nordisk -3.4% ทว่าตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนบ้างจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มการเงินและกลุ่มยานยนต์

ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์นั้น บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ โดยรวมเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways และยังไม่สามารถทะลุโซน 4.80% ได้อย่างชัดเจน หลังรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ของสหรัฐฯ ล่าสุด ออกมาต่ำกว่าคาด ลดความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ และแนวโน้มเฟดชะลอการลดดอกเบี้ย ทว่า ผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ก่อนที่จะปรับสถานะถือครองบอนด์ที่ชัดเจนต่อไป ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ทยอยปรับตัวขึ้นในจุดที่มีความน่าสนใจอยู่ เมื่อประเมินจาก Risk-Reward ของผลตอบแทนรวม (Total Return) และจุด Break-Even Yield ทำให้เราคงแนะนำทยอยซื้อบอนด์ระยะยาวในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง ตามแรงขายทำกำไรสถานะ Long USD หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและการชะลอลดดอกเบี้ยของเฟดลงบ้าง ตามรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ที่ออกมาต่ำกว่าคาด นอกจากนี้ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ปรับลดความคาดหวังการเร่งลดดอกเบี้ยของ ECB ก็ช่วยหนุนการรีบาวด์แข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) ทำให้โดยรวมเงินดอลลาร์ย่อตัวลงสู่โซน 109.2 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 109.2-109.8 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และบรรยากาศระมัดระวังตัวของตลาดการเงิน ได้ช่วยหนุนให้ราคา (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. 2025) ได้ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้โซนแนวต้านระยะสั้นแถว 2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนเงินบาทในช่วงคืนที่ผ่านมา

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ ไฮไลท์สำคัญ จะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนธันวาคม ของสหรัฐฯ ที่จะทยอยรับรู้ในช่วงราว 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจโดยบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book) เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ซึ่งล่าสุด ผู้เล่นในตลาดให้โอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ในปีนี้ เพียง 18%

ส่วนในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของอังกฤษ ในเดือนธันวาคม เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) โดยล่าสุดผู้เล่นในให้โอกาสราว 12% ที่ BOE จะสามารถลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้ง หรือ 50bps ในปีนี้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ ECB โดยล่าสุดผู้เล่นในตลาดได้ปรับลดโอกาส ECB ลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง หรือ 100bps ลงเหลือ 36%

และในฝั่งเอเชีย ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) โดยเรามองว่า BI อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 6.00% เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับตัวลดลงกลับสู่เป้าหมายของ BI แล้วก็ตาม

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบ Sideways เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ในช่วงคืนวันพุธนี้ โดยเงินบาทอาจยังติดโซนแนวต้านแถว 34.80-34.90 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่โซนแนวรับก็ยังอยู่แถว 34.60 บาทต่อดอลลาร์ ได้

เนื่องจาก ล่าสุดผู้เล่นในตลาดต่างให้โอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ เพียงราว 18% ทำให้เรามองว่า หากอัตราเงินเฟ้อ CPI ออกมาตามที่ตลาดคาด หรือ ไม่ได้เร่งตัวสูงขึ้นกว่าที่ตลาดคาดไปมาก เช่น ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 3.0%y/y หรือ เกิน +0.5%m/m ก็อาจไม่ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ไปมากนัก ซึ่งในกรณีดังกล่าว เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็อาจยังคงแกว่งตัวในกรอบ Sideways เงินบาทก็อาจไม่ได้มีการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนและอาจยังคงแกว่งตัวในกรอบ Sideways ต่อเช่นกัน

แต่หากอัตราเงินเฟ้อ CPI ออกมาสูงกว่าชัดเจน จะสามารถทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งกังวลว่าเฟดอาจไม่ลดดอกเบี้ยในปีนี้ได้ โดยอาจเห็นการปรับลดโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง เหลือไม่ถึง 100% ซึ่งภาพดังกล่าวเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลังตลาดรับรู้รายงานยอดการจ้างงานสหรัฐฯ จนหนุนให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ในครั้งนี้ เรามองว่า ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ก็มีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบโซน 110 จุด อีกครั้ง ส่วนบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจทะลุโซน 4.80% ได้ไม่ยาก กดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาท โดยเงินบาทเสี่ยงอ่อนค่าทะลุโซน 34.80 บาทต่อดอลลาร์ (ต้องจับตาว่า ราคาทองคำจะเคลื่อนไหวอย่างไร หากปรับตัวลดลงด้วยจริง ก็จะยิ่งกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง)

ส่วนในกรณีที่ อัตราเงินเฟ้อ CPI ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด เช่น +0.2%m/m ถึง +0.3%m/m หรือต่ำกว่า +2.9%y/y ก็จะช่วยคลายกังวลแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ และแนวโน้มเฟดชะลอการลดดอกเบี้ยได้บ้าง ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 สหรัฐฯ อาจย่อตัวลงได้ หนุนให้ราคาทองคำอาจปรับตัวขึ้น ส่วนเงินบาทก็มีโอกาสแข็งค่าทดสอบโซนแนวรับ 34.50-34.60 บาทต่อดอลลาร์

ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าที่จะเผชิญกับ Trump’s Uncertainty ทำให้เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.50-34.85 บาท/ดอลลาร์ (ควรระวังความผันผวนในช่วงทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ)

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img