วันศุกร์, มกราคม 17, 2025
หน้าแรกHighlight‘BOI’ดันไทยเป็นฐานผลิตส่งออกรถยนต์ อันดับ1ในอาเซียน - ติด1ใน10ของโลก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘BOI’ดันไทยเป็นฐานผลิตส่งออกรถยนต์ อันดับ1ในอาเซียน – ติด1ใน10ของโลก

“บีโอไอ” ถก “ส.อ.ท” ปลุกอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ เพิ่มสิทธิประโยชน์การลงทุนให้กับเอสเอ็มอี คาด 2 เดือนได้ข้อสรุปก่อนชงบอร์ดอนุมัติ ดันเป็นเป็นฐานผลิตส่งออกติด 1 ใน 10 ของโลก

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ของจีนเข้ามาตีตลาดไทยจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอุตสาหกรรมเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ไอซีอี) ของไทย และขอให้บีโอไอ สร้างสมดุลให้ได้ ไม่เช่นนั้นระบบนิเวศที่ไทยสร้างรถยนต์ไว้จะพังหมดว่า ในเรื่องนี้บีโอไอได้หารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

โดยการจูงใจให้ใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นคนไทย (ไทยคอนเทนต์) จากเดิมมีเพียงข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนสำคัญในประเทศ ถ้าต่อไปใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตโดยเอสเอ็มอีคนไทย จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นไปอีก คาดว่า ภายใน 2 เดือนนี้จะได้ข้อสรุป ก่อนเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณาต่อไป 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมาก ต้องการเห็นไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ในทุกประเภท ทั้งไอซีอี อีวี ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมาถามว่า ทำไมถึงเน้นการส่งเสริมอีวี เนื่องจากอีวี ยังเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย จึงต้องออกมาตรการส่งเสริมออกมาต่อเนื่อง เพราะไทยต้องการเปลี่ยนสถานะจากผู้นำเข้าเป็นผู้ผลิตแทน เพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของโลก จึงต้องออกมาตรการสนับสนุนผูกเงื่อนไข ต้องผลิตในประเทศ ไม่เช่นนั้นไทยจะมีสถานะเป็นเพียงผู้นำเข้า และนำเข้าจากจีน ภาษี 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน ซึ่งปัจจุบันนี้ถือว่า ประสบความสำเร็จที่มีนักลงทุนหลายแบรนด์ หลายประเทศ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย  เพื่อเป้าหมายให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 1 ในอาเซียน และติด 1 ใน 10 ของโลก

ส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมอีวี ต้องทำให้อุตสาหกรรมแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยต้นน้ำ ต้องสนับสนุนการลงทุนแบตเตอรี่ในระดับเซลล์ ขนาดใหญ่ให้เกิดในประเทศไทย คาดหวังให้เกิดขึ้นในปี 68 และปลายน้ำ ต้องมีธุรกิจบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้วและโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ โดยต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด และต้องมีระบบติดตามได้ว่าแบตเตอรี่อยู่ที่ไหน นำมารีไซเคิลให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่

“ที่ผ่านมามาตรการอีวีที่เราเสนอบอร์ด เป็นการหารือร่วมกับผู้ประกอบการทุกค่ายของทุกประเทศ เพราะฉะนั้นมาตรการที่ออกมา ถือว่า ตอบโจทย์แผนการลงทุน เพื่อให้ทุกค่ายแข่งขันได้ นำไปสู่ให้ฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเข้มแข็ง ส่วนกรณีจะมีค่ายรถญี่ปุ่น ปิดอีกหรือไม่ ผมเชื่อมั่นว่า จะไม่มีการปิดอีก หลังจากเราได้พูดคุยทั้งมาตรการไฮบริด มายด์ไฮบริด คลอบคลุมทุกค่าย จะสามารถแข่งขันในประเทศไทย และเติบโตต่อไปได้” 

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img