“ปธ.วิปรบ.” ชี้ยังเห็นร่าง “กาสิโน” ทำประชามติหรือไม่ ขอรอดูร่างของกฤฎีกาก่อน มีทั้งเห็นด้วยไม่เห็นด้วย เหน็บบางคนก็ค้านตลอดชีวิต ยันจำได้ตอนหาเสียงก็บอกเอาเรื่องใต้ดินขึ้นบนดินทั้งหมด
วันที่ 20 ม.ค.2568 เวลา 13.00 น.ที่รัฐสภา นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอให้ทำประชามติร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ ว่า เป็นเรื่องที่ทุกคนเป็นห่วง ซึ่งเป็นธรรมดาเพราะเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นกับประเทศเรา วันนี้ในฐานะที่เราอยู่ฝ่ายนิติบัญญัติ เรื่องทั้งหมดที่ คณะรัฐมนตรี(ครม.)ผ่านไปแล้วก็ส่งไปที่กฤษฎีกา ซึ่งยังมาไม่ถึง ตนจึงยังไม่ได้อ่านสักมาตราว่าเป็นย่างไร กฤษฎีกาอาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ และกว่าจะมาถึงวิปฝ่ายค้านและวิรัฐบาลก็ใช้เวลา 40-50 วัน จึงไม่แน่ใจว่าในร่างที่ครม.เสนอให้มีการทำประชามติหรือไม่ หรืออาจจะมีก็ได้ เรายังตอบไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายสนับสนุนไม่ใช่เห็นต่างอย่างเดียว บางคนไม่เห็นด้วยเพราะอยากให้ถูกกฎหมาย เพื่อไม่ให้ใครไปเก็บส่วย จึงควรทำอะไรให้ถูกต้อง และหลายประเทศทั่วโลกเขาก็ทำ
“การที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องปกติของระบอบประชาธิปไตย และเป็นเรื่องดีที่ทักท้วงกันมา หากกฤษฎีกาส่งมา พวกผมจะได้รู้ว่าติดขัดตรงไหนอย่างไร”นายวิสุทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีการทำความเข้าใจหรือไม่ เพราะมีเสียงคัดค้านการทำกาสิโนค่อนข้างเยอะ นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า มีการทำความเข้าใจอยู่แล้ว บางคนก็ค้านทุกเรื่อคัดค้านสารพัดอย่าง บางคนตนจำได้ตอนไปหาเสียงเลือกตั้งก็พูดหน้าตาเฉย ว่าถ้าเป็นรัฐบาลจะเอาเรื่องใต้ดินขึ้นมาบนดินทั้งหมด วันนี้ก็ออกมาค้านอีก ค้านทุกเรื่อง ค้านตลอดชีวิต ซึ่งก็ไม่เป็นไร ความเห็างเป็นเรื่องปกติ เมื่อถึงเวลาก็ต้องมาพูดกันในสภาฯว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร ทุกคนก็เป็นห่วง หลายคนก็สนับสนุน ตนก็อ่านคอมเม้นต์เยอะแยะไปหมด มีทั้งเห็นด้วย เห็นต่าง เห็นชอบ มีสารพัดเรื่อง
เมื่อถามว่า หากมีการทำประชามติ จะช่วยลดการต่อต้านได้หรือไม่ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า เราต้องดูว่าประชามติมีในร่างกฎหมายหรือไม่ ไม่ใช่ว่าอยากจะทำประชามติทุกเรื่อง เพราะการทำประชามติครั้งงหนึ่งใช้งบประมณ 3 พันล้านบาท ต้องคิดดูดีๆ หรือจะทำประชามติพร้อมกับเรื่องอื่นก็ได้ หรือจะทำพร้อมกับรัฐธรรมนูญก็ได้ ดังนั้นก่อนตอบไปว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ขอให้ได้เห็นร่างกฎหมายที่กฤษฎีกาส่งมาก่อน แต่เชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไร