วันอังคาร, มกราคม 21, 2025
หน้าแรกHighlightเงินบาทแข็ง-ดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ลง ตลาดคลายกังวลสหรัฐฯยังไม่รีบขึ้นภาษี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เงินบาทแข็ง-ดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ลง ตลาดคลายกังวลสหรัฐฯยังไม่รีบขึ้นภาษี

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.10 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ลงบ้างอาจยังไม่รีบเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจากประเทศต่างๆ ทันที แต่จะเริ่มประเมินความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ อาทิ จีน แคนาดา และเม็กซิโก ก่อน

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.10 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ที่ระดับ 34.26 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) ทยอยแข็งค่าขึ้น ในลักษณะ Sideways Down (แกว่งตัวในกรอบ 34.05-34.30 บาทต่อดอลลาร์) หนุนโดยการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมกับการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ลงบ้าง จากรายงานข่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯอาจยังไม่รีบเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจากประเทศต่างๆ ทันที แต่จะเริ่มประเมินความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ อาทิ จีน แคนาดา และเม็กซิโก ก่อน นอกจากนี้ สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ย้ำจุดยืนลดราคาน้ำมันในสหรัฐฯด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต ยังได้กดดันราคาน้ำมันดิบ อีกทั้งลดความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ทำให้ล่าสุดท่าทีของรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ ต่อนโยบายการค้าและพลังงาน ได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดกลับเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง เป็น 76% นอกจากนี้เงินบาทยังได้แรงหนุนจากการปรับสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่าลงของบรรดาผู้เล่นในตลาด) หลังเงินบาทได้ทยอยแข็งค่าขึ้นหลุดโซนแนวรับ 34.30 บาทต่อดอลลาร์

แม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปิดทำการเนื่องในวันหยุด Martin Luther King Jr. ทว่า ผู้เล่นในตลาดยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ท่ามกลางความหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล Trump 2.0 และแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้สัญญาฟิวเจอร์สของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต่างปรับตัวขึ้นราว +0.5% ส่วนสัญญาฟิวเจอร์สหุ้นขนาดเล็ก (อ้างอิงดัชนี Russell 2000) พุ่งขึ้นราว +1.5%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย +0.05% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มยานยนต์ อาทิ BMW +2.8% ท่ามกลางความหวังว่า รัฐบาลสหรัฐฯ อาจยังไม่รีบเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้า นอกจากนี้ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากหุ้นธีม AI/Semiconductor อาทิ ASML +1.2% หลังบอนด์ยีลด์ระยะยาวยุโรปก็ทยอยปรับตัวลดลง ตามบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีตลาดหุ้นยุโรปก็ถูกกดดันจากการปรับตัวลงของบรรดาหุ้นกลุ่มพลังงาน และหุ้นบริษัทยายักษ์ใหญ่ Novo Nordisk -4.2%

ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์นั้น บอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯทยอยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 4.55% หลังผู้เล่นในตลาดปรับเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ เป็น 76% ท่ามกลางความหวังว่ารัฐบาล Trump 2.0 อาจยังไม่เร่งรีบเดินหน้านโยบายกีดกันทางการค้า อีกทั้งรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯก็อาจเน้นนโยบายเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ซึ่งอาจกดดันราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ทำให้ผู้เล่นในตลาดคลายกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯลงบ้าง ทั้งนี้ เรามองว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนสูง ขึ้นกับการปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ซึ่งต้องติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 20 อย่างใกล้ชิด ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า ผู้เล่นในตลาดก็สามารถทยอยซื้อบอนด์ระยะยาวในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นได้

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลงบ้าง สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯหลังผู้เล่นในตลาดปรับเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ การปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ และมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คงเชื่อว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้ ได้หนุนให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ทยอยแข็งค่าขึ้นเข้าใกล้โซน 155 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้โดยรวมเงินดอลลาร์ปรับตัวลดลงสู่โซน 108 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 108-109.1 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ แม้ว่าผู้เล่นในตลาดจะทยอยปรับเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แต่ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. 2025) ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้ชัดเจน ท่ามกลางแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาด ทำให้โดยรวมราคาทองคำยังคงแกว่งตัวแถวโซน 2,730-2,740 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ผ่านรายงานข้อมูลตลาดแรงงานอังกฤษ ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วงราว 14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีและยูโรโซน (ZEW Economic Sentiment) เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนและทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB)

และในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 อย่างใกล้ชิด พร้อมรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะหุ้นเทคฯใหญ่อย่าง Netflix

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท การทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินบาทจนหลุดโซนแนวรับ 34.30 บาทต่อดอลลาร์ ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันก่อนหน้า ทำให้เราต้องกลับมามองใหม่ว่า เงินบาทมีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็อาจแกว่งตัวในกรอบ Sideways เมื่อประเมินตามกลยุทธ์ Trend Following อีกทั้งในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI, MACD และ Stochastic ใน Time Frame รายวันของเงินบาท (USDTHB) ก็สะท้อนว่า เงินบาทมีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้นได้ โดยต้องจับตาว่า เงินบาทจะสามารถแข็งค่าหลุดโซนแนวรับสำคัญ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้หรือไม่ เพราะการแข็งค่าหลุดโซนดังกล่าว อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยปิดสถานะ Short THB เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดได้ทยอยปรับลดสถานะ Short THB มาพอสมควร หลังเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนแนวรับ 34.50 จนถึง โซน 34.30 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้การปรับสถานะดังกล่าว อาจไม่ได้เร่งให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วและแรงในระยะสั้น

ทั้งนี้ เรามองว่า เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมได้บ้าง หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็รอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ นอกจากนี้ความกังวลต่อนโยบายพลังงานของรัฐบาล Trump 2.0 ที่กดดันราคาน้ำมันดิบ ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยเข้าซื้อน้ำมันดิบ (Buy on Dip) ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันเงินบาทได้ อย่างไรก็ดี เรามองว่าควรจับตาทิศทางราคาทองคำ และฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน เพราะหากราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้บ้าง ส่วนนักลงทุนต่างชาติก็ทยอยกลับเข้ามาซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทย ก็อาจช่วยหนุนเงินบาทให้ทยอยแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้

อนึ่ง ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยุโรป ทั้งข้อมูลตลาดแรงงานอังกฤษ และดัชนี ZEW ของเยอรมนีและยูโรโซน ซึ่งอาจกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของ BOE และ ECB ทำให้เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) เคลื่อนไหวผันผวนในช่วงดังกล่าวได้

ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าที่จะเผชิญกับ Trump’s Uncertainty ทำให้เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.00-34.30 บาท/ดอลลาร์

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img