วันจันทร์, เมษายน 21, 2025
หน้าแรกHighlightเวิลด์แบงก์ชี้‘เงินหมื่น’ดันจีดีพีโตแค่0.3% ส่งผลต้นทุนการคลังสูงถึง 1.45 แสนล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เวิลด์แบงก์ชี้‘เงินหมื่น’ดันจีดีพีโตแค่0.3% ส่งผลต้นทุนการคลังสูงถึง 1.45 แสนล้าน

เวิลด์แบงก์เผยไทยแจกเงิน 10,000 บาท ดันจีดีพีโตเพียง 0.3% แต่กดดันภาระการคลังมีต้นทุนสูงถึง 145,000 ล้านบาท คาดจีดีพีขยายตัว 2.9% ท่องเที่ยว-บริโภคภาคเอกชนหนุน

รายงานข่าวจากธนาคารโลกระบุว่า ได้เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจไทย ก.พ. โดยประเมินเบื้องต้นว่ามาตรการ เงินอุดหนุน 10,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตรอบแรกสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 14 ล้านคน หรือประมาณ 42% ของประชากรในกลุ่มรายได้ต่ำสุด อาจช่วยกระตุ้นการเติบโตของจีดีพีในปี 67 ได้ประมาณ 0.3% และเห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้มาพร้อมกับต้นทุนทางการคลังที่สูงถึง 145,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.8% ของจีดีพี

จากข้อมูลรายงาน GDP ล่าสุดชี้ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 67 เติบโตขึ้น  3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าเศรษฐกิจไทย ปี 68 โต 2.9%จากปี 67 โต 2.6% โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าปัจจัยภายนอกจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการฟื้นตัวยังคงช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งปัจจัยสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ คือ การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน  

การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ คาดว่าภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในกลางปี68 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านคน จาก 35.3 ล้านคนในปี 67

สำหรับปี 68 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.4% ในช่วงปีที่ผ่านมาเป็น 0.8% แต่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและราคาอาหารคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ครัวเรือนที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการบริโภคและการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ในทางตรงกันข้าม ราคาพลังงานคาดว่าจะปรับตัวลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันโลกที่อ่อนตัวลดลง

ด้านนโยบายการคลังของประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสามประการหลัก ได้แก่ 1.การตอบสนองต่อความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสำหรับบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 2.การฟื้นฟูการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ 3.การรักษาระดับหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน

ส่วนระดับหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเป็น 64.8% ในปีงบประมาณ 68 และมีแนวโน้มเข้าใกล้เพดานหนี้สาธารณะที่ 70% ของจีดีพีภายในอีก 5 ปีข้างหน้า แม้ว่าระดับหนี้สาธารณะของประเทศไทยจะยังคงมีความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีหนี้สกุลเงินต่างประเทศในระดับต่ำ ( 1.0% ของหนี้ทั้งหมด) และมีต้นทุนการระดมทุนที่ค่อนข้างต่ำ แต่แรงกดดันในการใช้จ่ายทางสังคมและการลงทุนของภาครัฐในทุนมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ และมาตรการกระตุ้นการบริโภคเพื่อการเติบโต เช่น โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ได้เพิ่มแรงกดดันทางการคลัง 

ขณะที่ระบบการเงินของไทยยังคงมีความมั่นคง แต่การปล่อยสินเชื่อมีความเข้มงวดมากขึ้นเนื่องจากความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ในไตรมาสที่ 2 ของปี 67 ระดับหนี้ครัวเรือนลดลงเหลือ 90.7% ของจีดีพี จากจุดสูงสุดที่ 95.8 % ของจีดีพี เมื่อสองปีก่อน แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลง แต่ปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นจุดอ่อนสำคัญของระบบการเงิน เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อผู้บริโภคที่ไม่มีหลักประกันในพอร์ตสินเชื่อของธนาคารยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ 2.9 % ณ เดือนมิ.ย.67

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img