วันพุธ, เมษายน 16, 2025
หน้าแรกHighlightแฉ‘แสวง’ปล่อยผู้สมัครสว.นำโพยเข้าคูหา ลั่นไม่หวังเป็นโมฆะแต่คนผิดควรรับโทษ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แฉ‘แสวง’ปล่อยผู้สมัครสว.นำโพยเข้าคูหา ลั่นไม่หวังเป็นโมฆะแต่คนผิดควรรับโทษ

“สว.สำรอง” โร่แฉ “แสวง บุญมี” อนุญาตให้ผู้สมัคร สว. นำ “โพย” เข้าคูหา เผย คืนระดับประเทศ มีผู้ตรวจฯ พบทุจริต ไปร้อง ”กกต.“ แต่ถูกเมิน จี้ ดำเนินคดีคนผิด เว้นผู้บริสุทธิ์ไว้ ย้ำ ไม่มีเจตนาล้มการเลือกตั้ง

วันที่ 3 มี.ค.2568 ที่รัฐสภา นายอัครวัฒน์ พงศ์ธนาชลิตกุล สว.สำรอง กลุ่ม 10 ให้สัมภาษณ์ภายหลังการยื่นสอบจริยธรรมสมาชิกวุฒิสภาถึงกรณีที่มีการเปิดเผยว่า มีเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งอนุญาตให้ผู้เลือกนำโพย เข้าไปในคูหาการเลือกสมาชิกวุฒิสภา รอบระดับประเทศ ที่เมืองทองธานี ซึ่งในเอกสารแนะนำตัว สว. 3 มีการเขียนหมายเลขโพยอยู่ด้านหลัง เมื่อถึงเวลาให้เข้าคูหา มีการห้ามนำเอกสารใด ๆ เข้าไป แต่มีผู้ตรวจการเลือกรายหนึ่ง พบพฤติกรรมว่ามีการอนุญาตให้นำเอกสาร สว.3 เข้าในพื้นที่การเลือก จากนั้นนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. และผู้ตรวจรายดังกล่าวจึงไปแจ้งกับ กกต. ในคืนเดียวกัน แต่ไม่มีผลอะไร กระทั่งการเลือกเสร็จสิ้น ผู้ตรวจการเลือก จึงเดินทางไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมถึง DSI ส่วนคำร้องที่เคยส่งไปกกต. จากนั้นได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อเท็จจริง โดยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ของนายแสวง ทางผู้ตรวจการเลือกเห็นว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม  จึงไปร้อง DSI และให้ปากคำไปแล้ว ซึ่งการที่บอกว่าเป็นนายแสวง อนุญาตให้นำโพยเข้าไป ข้อมูลนี้มาจากการให้ปากคำของผู้ตรวจการเลือก ที่ให้ไว้กับ DSI

นายอัครวัฒน์ กล่าวถึงโพยที่ถูกอ้างถึง คือ เอกสาร สว.3 ที่มีการเขียนตารางเลขโพยไว้ด้านหลังอย่างชัดเจนทั้ง 20 กลุ่ม ซึ่งเอกสารนี้ได้ถูกยึดไปเป็นหลักฐานที่ DSI แล้ว ส่วนการที่พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ให้ความเห็นว่าการนำโพยเข้าไป เนื่องจากไม่สามารถจำหมายเลขผู้ที่ต้องการจะเลือกได้นั้น ผมมองว่าโพยไม่สามารถนำเข้าได้อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการทุจริต ส่วน สว.3 เป็นเอกสารแนะนำตัวตามระเบียบอยู่แล้ว ที่จะทำให้ผู้สมัครรู้จักกัน และกันว่าจะต้องเลือกใคร แต่สิ่งที่ไม่ยุติธรรมคือ การเขียนโพยลงใน สว.3 ซึ่งเมื่อถึงเวลาการเลือก จะมีข้อกำหนดห้ามเปิดดูเอกสาร สว.3 จึงทำให้มีการเขียนโพยขึ้นมา และจะมีการกำชับจากเทรนนิ่งว่าถ้าพบการเปิดเอกสาร สว.3 จะไม่จ่ายเงินให้ตามที่ตกลงกันไว้

เมื่อถามว่านอกจากเอกสารที่เป็นโพยแล้วมีหลักฐานอะไรอีกบ้างที่จะใช้ในการใช้การทำให้เป็นคดี นายอัครวัฒน์ กล่าวว่า มีทั้งหลักฐานเส้นทางการเงิน การพูดคุยโทรศัพท์ รวมไปถึงการนัดหมาย เข้าพักในโรงแรมต่าง ๆ ก่อนวันเลือก อีกทั้งอยากให้สังคมลองนำโพยที่ตนนำมาไปเทียบกับบัตรในหีบบัตรเลือกของ กกต. อีกทั้งยังมีข้อสังเกต

“สิ่งที่อยากให้ตรวจสอบคือก็การฮั้วที่ทำลายระบบการเลือก ซึ่งผมก็ไม่ได้เห็นด้วยที่จะให้การเลือกเป็นโมฆะ เพราะกฎหมายเลือกมาดีอยู่แล้ว แต่มีบางคน บางกลุ่มที่ต้องการทุจริต ผู้ที่กระทำผิดก็ควรได้รับการดำเนินคดี ส่วนผู้ที่มาอย่างบริสุทธิ์ก็ไม่ต้องมีความรับผิดชอบอะไรกับกระบวนการดังกล่าว”นายอัครวัฒน์ กล่าว

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img