วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightEA จับมือ ‘กฟผ.’ ร่วมพัฒนา EV-ระบบซื้อขายไฟฟ้า
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

EA จับมือ ‘กฟผ.’ ร่วมพัฒนา EV-ระบบซื้อขายไฟฟ้า

EA ผนึกกำลังกฟผ. ดึงจุดแข็งร่วมพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานอัจฉริยะด้านยานยนต์ไฟฟ้าและการพัฒนาระบบซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ภายใต้โครงการ “Smart Energy EGAT X EA” รับเทรนด์พลังงานสะอาด

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ลงนาม MOU โครงการความร่วมมือด้านพลังงานอัจฉริยะ “Smart Energy EGAT X EA” เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพลังงานใหม่ ๆ ในอนาคต ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ

โดย EA ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานของประเทศไทย ทั้งทางด้านการผลิตพลังงานสะอาด ด้านยานยนต์ไฟฟ้า ระบบแบตเตอรี่ และระบบ Platform ซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจึงนับได้ว่าเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่จะนำเอาจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่ายมาร่วมมือกันในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ ตอบสนองต่อเทรนด์พลังงานสะอาดที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ ภายในปี 2564 บริษัท EA และ กฟผ. ตั้งเป้าที่จะมีโครงการนำร่องในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้แก่คนไทยร่วมกันอีกด้วย

บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร

สำหรับรายละเอียดความร่วมมือนั้นในด้านยานยนต์ไฟฟ้า บริษัท EA จะศึกษาและพัฒนาโครงการปรับเปลี่ยนกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุกขนส่งเชิงพาณิชย์ต่างๆ ในส่วนของ กฟผ. จะร่วมศึกษาและพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบรวดเร็ว (Ultra Fast Charging Station) ภายใต้ EleX by EGAT เพื่อรองรับการให้บริการยานยนต์ไฟฟ้าในลักษณะ Fleet

โดยสถานีอัดประจุไฟฟ้าถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ในการสนับสนุนให้โครงการปรับเปลี่ยนกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของประเทศไทย สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และ ด้านการพัฒนาระบบซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (Energy Trading Platform) ทั้ง EA และ กฟผ. จะร่วมกันศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดังกล่าว ที่เป็นประโยชน์กับโครงสร้าง บริบทและระบบไฟฟ้าของประเทศไทย

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าของประเทศ ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งช่วยส่งเสริมการเติบโตของการผลิตพลังงานหมุนเวียนในประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคง

ปัจจุบันบริษัทเปิดให้บริการสถานีอัดประจุแล้วกว่า 400 สถานี รวมทั้งสิ้นกว่า 1,600 หัวชาร์จ ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งระบบธรรมดา หรือ AC Charger ไปจนถึงระบบชาร์จเร็วและทันสมัยที่สุด หรือ DC Super-Fast Charge ที่ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที รวมทั้งยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการด้วยการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันระบบออนไลน์ที่ในการจอง จ่าย และชาร์จในคราวเดียวกัน เตรียมพร้อมรองรับกับโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตที่กำลังเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า 100%

ส่วนบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท EA ก็มีความพร้อมรองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยสามารถทำการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ได้หลายประเภท เช่น รถบัส รถบรรทุก รถตู้ กำลังผลิตประมาณ 3,000-5,000 คันต่อปี คาดว่าแล้วเสร็จและเริ่มดําเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงกลางปี 2564 โดยนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน พร้อมทั้งมีกระบวนการทดสอบที่ได้มาตรฐานการขับเคลื่อนที่ทันสมัยและครบวงจร

นอกจากนั้น บริษัท EA ยังดำเนินธุรกิจหลักด้านพลังงานหมุนเวียน จึงมีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างเสถียรภาพในระบบไฟฟ้า ด้วยการพัฒนาระบบ Trading Platform มาใช้ทำการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานที่ลูกค้าสามารถซื้อพลังงานจากผู้ผลิตได้โดยตรง มี AI ช่วยในการทำนายและเทรดได้แบบอัตโนมัติ และใช้เทคโนโลยี Block Chain เข้ามาจัดการ จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูง ซึ่งในระยะถัดไปบริษัทมีแผนที่จะนำระบบนี้มาใช้กับพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ อันจะช่วยนำไปสู่การมีระบบการผลิต จำหน่าย และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img