วันพุธ, พฤศจิกายน 27, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSชี้ไวรัส 4 สายพันธุ์แพร่ไวกว่า“ดั้งเดิม” ฉีดวัคซีน“ทิ้งช่วงห่าง”เสี่ยงติดเชื้อได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ชี้ไวรัส 4 สายพันธุ์แพร่ไวกว่า“ดั้งเดิม” ฉีดวัคซีน“ทิ้งช่วงห่าง”เสี่ยงติดเชื้อได้

“หมอธีระ” แจกแจงไวรัส 4 สายพันธุ์ที่พบในไทย มีความสามารถในการแพร่ได้ไวกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ทำให้ติดเชื้อแล้วมีความรุนแรงมากขึ้น พร้อมย้ำเตือน ฉีดวัคซีนแบบทิ้งช่วงระยะห่างเป็นเวลานาน มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อและแพร่ระบาดได้

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.64 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า สถานการณ์ทั่วโลก 10 มิถุนายน 2564…ทะลุ 175 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 394,089 คน รวมแล้วตอนนี้ 175,137,240 คน ตายเพิ่มอีก 12,982 คน ยอดตายรวม 3,775,554 คน 5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ อินเดีย บราซิล อาร์เจนตินา โคลอมเบีย และอิหร่าน, อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 10,190 คน รวม 34,260,754 คน ตายเพิ่ม 374 คน ยอดเสียชีวิตรวม 613,416 คน อัตราตาย 1.8%, อินเดีย ติดเพิ่ม 93,896 คน รวม 29,182,072 คน ตายเพิ่ม 6,138 คน ยอดเสียชีวิตรวม 359,695 คน อัตราตาย 1.2%, บราซิล ติดเพิ่ม 84,617 คน รวม 17,122,877 คน ตายเพิ่มถึง 2,208 คน ยอดเสียชีวิตรวม 479,515 คน อัตราตาย 2.8%, ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 5,557 คน ยอดรวม 5,725,492 คน ตายเพิ่ม 65 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,202 คน อัตราตาย 1.9%, ตุรกี ติดเพิ่ม 6,454 คน รวม 5,306,690 คน ตายเพิ่ม 87 คน ยอดเสียชีวิตรวม 48,428 คน อัตราตาย 0.9%

อันดับ 6-10 เป็น รัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี อาร์เจนติน่า และเยอรมัน ติดกันหลักพันถึงหลักหมื่น, สหราชอาณาจักรตอนนี้ติดเชื้อเพิ่มต่อวันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเพิ่มถึง 7,540 คน ทั้งๆ ที่เคยกดการระบาดลงเหลือเพียง 1,610 คนต่อวัน ณ 3 พฤษภาคม 2564 แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นถึง 4.7 เท่า คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะเข้าสู่การระบาดใหญ่ครั้งใหม่หรือไม่, แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย ชิลี โบลิเวีย สเปน เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น เนปาล และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น แต่โดยรวมมีแนวโน้มลดลงเป็นส่วนใหญ่, แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่แนวโน้มลดลงเช่นกัน ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นยูเครน คาซักสถาน มองโกเลียที่ยังหลักพัน, แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านที่หลักหมื่น, เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ…สถานการณ์ของเพื่อนบ้านรอบไทยเรานั้นยังหนัก ทั้งมาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม

องค์การอนามัยโลกออกรายงานระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (Weekly epidemiological update) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ภาพรวมทั่วโลกจำนวนติดเชื้อลดลง 15% และจำนวนการตายลดลง 8% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ข้อมูลในรายงานมีความชัดเจนดังภาพที่นำเสนอไปเมื่อวานว่า ไทยเรามีรายงานพบทั้ง สายพันธุ์อัลฟ่า (B.1.1.7) เบต้า (B.1.351) แกมม่า (P1) และ เดลต้า (B.1.617.2) ซึ่งทั้งสี่สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก

อัลฟ่า: พบครั้งแรกที่สหราชอาณาจักร ตั้งแต่กันยายน 2563 ประกาศว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลตั้งแต่ 18 ธันวาคม 2563
เบต้า: พบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ ตั้งแต่พฤษภาคม 2563 ประกาศว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลตั้งแต่ 18 ธันวาคม 2563
แกมม่า: พบครั้งแรกที่บราซิล ตั้งแต่พฤศจิกายน 2563 ประกาศว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลตั้งแต่ 11 มกราคม 2564
เดลต้า: พบครั้งแรกที่อินเดีย ตั้งแต่ตุลาคม 2563 ประกาศว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลตั้งแต่ 11 พฤษภาคม 2564

ทั้งสี่สายพันธุ์ดังกล่าวมานั้น ชัดเจนแล้วว่ามีความสามารถในการแพร่ได้ไวกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ส่วนใหญ่นั้นมีโอกาสทำให้ติดเชื้อแล้วมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในลักษณะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้น หรือเสียชีวิตมากขึ้น

ที่ควรให้ความสนใจคือข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผล/ประสิทธิภาพของวัคซีนต่างๆ ต่อสายพันธุ์เหล่านี้ (Impact on vaccine efficacy/effectiveness) ดังที่แสดงให้เห็นในตาราง การรับฟังข้อมูลจากสื่อ หรือจากปากของใครต่อใครในลักษณะของความเห็นนั้น ไม่สามารถทดแทนความรู้ที่ได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นระบบได้ ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนได้หมั่นตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับฟังจากข่าว จากสื่อ จากเครือข่ายสังคม ให้ถ้วนถี่ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นความรู้จริง ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว

ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผล/ประสิทธิภาพของวัคซีนนั้น มีทั้งในลักษณะการป้องกันการป่วยรุนแรง การป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ การป้องกันการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และการป้องกันการติดเชื้อ โดยที่แต่ละวัคซีนมีข้อมูลมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ สายพันธุ์เดลต้า ที่กำลังระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ความรู้ปัจจุบันจากงานวิจัยในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีการใช้วัคซีน Pfizer/Biontech และ Astrazeneca ชี้ให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนไปเพียงเข็มเดียวนั้นได้ผลน้อยมากในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ แต่หากฉีดครบสองเข็ม จะได้ผลในการป้องกันดีอยู่

ข้อมูลการวิจัยจากสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ 5 เมษายน 2564 ถึง 16 พฤษภาคม 2564 พบว่า หลังฉีดวัคซีน Pfizer-BioNTech ครบสองเข็มไปแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์จะสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการจากสายพันธุ์ B.1.672 (เดลต้า, อินเดีย) ได้ 88% แต่ลดลงจากเดิม ที่ป้องกันสายพันธุ์อัลฟ่า (B.1.1.7, สหราชอาณาจักร) ได้ 93%

ในขณะที่หากฉีดวัคซีน AstraZeneca ครบสองเข็มจะป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ 60% แต่ลดลงจากเดิม ที่ป้องกันสายพันธุ์อัลฟ่าได้ 66% สิ่งสำคัญคือ เมื่อประเมิน ณ 3 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนไปเพียงเข็มเดียว ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการจากสายพันธุ์เดลต้า จะได้เพียง 33% ซึ่งลดลงจากเดิม ที่ป้องกันสายพันธุ์อัลฟ่าได้ 50%

นี่จึงเป็นข้อมูลที่เน้นย้ำให้แต่ละประเทศหาทางป้องกันการระบาดของสายพันธุ์กลายพันธุ์ดังกล่าว และเน้นย้ำให้ประชาชนรับวัคซีนให้ครบถ้วน ที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือ การฉีดวัคซีนแบบทิ้งช่วงระยะห่างเป็นเวลานาน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้ เป็นกำลังใจให้เราทุกคนมีพลังกายพลังใจในการต่อสู้กับโรคระบาดนี้…ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในหน้ากากอนามัย ชั้นนอกหน้ากากผ้า…ด้วยรักและห่วงใย

อ้างอิง

  1. COVID-19 Weekly epidemiological update. World Health Organization. 8 June 2021.
  2. Vaccines highly effective against B.1.617.2 variant after 2 doses. Press release. Public Health England. 22 May 2021.
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img