วันพุธ, เมษายน 16, 2025
หน้าแรกHighlightหลังสงกรานต์ระอุ!“ซูเปอร์โพล”เผย “ปชช.”ไม่มั่นใจ“เสถียรภาพรัฐบาล”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หลังสงกรานต์ระอุ!“ซูเปอร์โพล”เผย “ปชช.”ไม่มั่นใจ“เสถียรภาพรัฐบาล”

ซูเปอร์โพลเผยผลสำรวจหลังสงกรานต์ ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 74% คาดหวังหรือเชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยจับตาไปที่เสถียรภาพรัฐบาล ความสัมพันธ์พรรคร่วม และแรงกดดันจากสังคมรอบด้าน

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เปิดเผยว่า หลังเทศกาลสงกรานต์ นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของสังคมไทยที่ประชาชนใช้เวลาในการติดตามข่าวสารบ้านเมืองมากขึ้น ประเด็นทางการเมืองกลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภาวะเสถียรภาพของรัฐบาล ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคร่วม และแรงกดดันจากสังคมในหลากหลายมิติ

ซูเปอร์โพลได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น1,102 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 – 14 เม.ย.พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ (เกือบสามในสี่ หรือ 74.2%) มีแนวโน้มคาดหวัง หรืออย่างน้อย “เชื่อว่า”จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงหลังสงกรานต์ ซึ่งสะท้อนภาวะความไม่มั่นใจในเสถียรภาพของรัฐบาลปัจจุบัน ขณะที่มีเพียง 25.8%ที่เชื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แสดงให้เห็นถึงความรู้สึก ไม่แน่นอน ที่ปกคลุมบรรยากาศทางการเมือง

ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อผู้ตอบเลือกได้มากกว่าหนึ่งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสะท้อนว่า ความขัดแย้งภายในรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคร่วม (36.9%) เป็นสาเหตุสำคัญที่ประชาชนมองว่าอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง รองลงมาคือ แรงปลุกปั่นใกล้ตัวผู้นำ (30.6%) และ กระแสโซเชียล (27.8%) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของประชาชน นอกจากนี้ ประเด็นเศรษฐกิจ (20.5%) และ นโยบายที่ประชาชนไม่พอใจ (14.9%) ก็ถือเป็นแรงกดดันระดับรากฐานที่บั่นทอนความชอบธรรมของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสอบถามถึงตัวการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หลังสงกรานต์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะเกิด การปรับคณะรัฐมนตรี (38.4%) และความแตกร้าวระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล (37.6%) ซึ่งเป็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่การยุบสภาหรือเลือกตั้งใหม่ แต่สะท้อน

“ความไม่พอใจต่อการบริหารงาน”ที่ต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ร้อยละ 32.1 เชื่อว่าจะมี การชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง และ 27.5%คาดว่าจะมี การยุบสภา ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่สถานการณ์จะพัฒนาไปสู่ “การเปลี่ยนโครงสร้างระดับชาติ” หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการกับแรงกดดันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ ร้อยละ 25.6 ที่ระบุว่า“ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ” นับว่าเป็นส่วนน้อยของผู้ตอบแบบสอบถาม สะท้อนให้เห็นความรู้สึกร่วมของประชาชนส่วนใหญ่ต่อความเปราะบางทางการเมืองในปัจจุบัน

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img