วันอาทิตย์, เมษายน 20, 2025
หน้าแรกHighlight“วิโรจน์”ถามหามาตรฐานความปลอดภัย ขุดปมเหล็กสตง.จีนเลิกใช้แต่ไทยรับรอง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วิโรจน์”ถามหามาตรฐานความปลอดภัย ขุดปมเหล็กสตง.จีนเลิกใช้แต่ไทยรับรอง

วิโรจน์” ขุดปมเหล็กก่อสร้าง สตง. ตั้งข้อสังเกตมาตรฐาน มอก.ไทยเอื้อโรงงานเหล็กจีน? จี้ สมอ.-กรมโรงงานฯ ตอบปมโรงงานเหล็กเตาอินดักชั่นที่จีนเลิกใช้!

เมื่อวันที่ 19 เม.ย.นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์เฟซบุ๊กตั้งคำถามกรณีเหล็กเส้นที่ใช้ก่อสร้างอาคาร สตง. ทำไมอยู่ดีๆ มอก.24-2559 จึงไปรับรองการผลิตเหล็กด้วยเตาอินดักชั่น ซึ่งจีนห้ามใช้ตั้งแต่ปี 2017 ทำให้โรงงานผลิตเหล็กที่จีนโล๊ะทิ้ง ย้ายมาตั้งที่ประเทศไทย สมอ.และกรมโรงงาน ต้องตอบคำถามนี้
ล่าสุดนายวิโรจน์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุอีกว่า จีนสั่งโละโรงงานผลิตเหล็กด้วยเตาอินดักชั่น แต่ สมอ. ออก มอก.24-2559 มารับรอง เลยยกโขยงย้ายมาตั้งที่ไทย กรมโรงงานให้ตั้งโรงงานได้อย่างไร สมอ. ออกมาตรฐานมารองรับได้ด้วยหรือ เริ่มต้นผมจำเป็นต้องไล่ Timeline ของการยกเลิกโรงงานผลิตเหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้าง ด้วยเตาอินดักชั่นของประเทศจีน เพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปที่เหตุผลของการที่ประเทศจีนต้องโละทิ้งโรงงานเหล่านี้กันนะครับ ปี 2545: รัฐบาลจีนเริ่มแสดงความกังวลเกี่ยวกับการลักลอบลิตเหล็กคุณภาพต่ำ โดยใช้เตาอินดักชั่น ซึ่งเหล็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นเหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้างของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ปี 2554-2555: บัญชีแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมแห่งชาติ” (Guidance Catalogue for the Industrial Structure Adjustment) ได้จัดให้เตาอินดักชั่นเป็นเทคโนโลยีล้าสมัย (Outdated Technology) แต่การบังคับใช้นั้นยังอ่อนแรง เพราะราคาวัตถุดิบเหล็ก (เศษเหล็ก) ยังค่อนข้างสูง


นายวิโรจน์ ระบุต่อว่า ปี 2559: ราคาของเศษเหล็กลดต่ำลง ทำให้การปิดเตาอินดักชั่นกลายเป็นเป้าหมายที่ดูสมเหตุสมผล และปฏิบัติได้จริงมากขึ้นสำหรับรัฐบาลจีน 24 ม.ค. 2560: รัฐบาลจีนออกแถลงการณ์นโยบายอย่างเป็นทางการ “ห้ามใช้เตาอินดักชั่นในการผลิตเหล็กสำหรับงานก่อสร้าง” โดยมีเหตุผลในการสั่งห้ามผลิตเหล็กโดยใช้เตาอินดักชั่น ดังนี้ 1) การใช้เตาอินดักชั่นผลิตเหล็ก หากต้องการความคุมคุณภาพให้มีความคงเส้นคงวา จะต้องมีกระบวนการในการคัดเลือกวัตถุดิบที่ละเอียดมากๆ ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ 2) เตาอินดักชั่น ใช้พลังงานสูง และไม่มีระบบควบคุมมลพิษ หรือกำจัดไอเสียอย่างเหมาะสม 3) การดำเนินงานของโรงงานผลิตเหล็กด้วยเตาอินดักชั่น จำนวนไม่น้อย ขาดมาตรฐานความปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อคนงาน


มิ.ย. 2560: จีนประกาศว่าได้ปิดกิจการเตาอินดักชั่นทั้งหมดที่ผลิตเหล็กเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณว่ามีกำลังการผลิตจากเตาอินดักชั่นที่ต้องปิดถึง 140 ล้านตันต่อปี ปี 2561 เป็นต้นไป: รัฐบาลจีนยังคงส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อไม่ให้มีการกลับมาเปิดดำเนินการเตาอินดักชั่นอีก เช่น ในเดือนพ.ค.2018 มีการตรวจสอบทั่ว 21 มณฑล เพื่อตรวจยืนยันว่าการปิดกิจการเป็นจริง และป้องกันการลักลอบเปิดใหม่ หลังจากยกเลิกการใช้เตาอินดักชั่น รัฐบาลจีนได้หันมาให้การสนับสนุนการผลิตเหล็กด้วยเตาหลอมไฟฟ้า (Electric Arc Furnace: EAF) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สะอาดกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่า และใช้เศษเหล็กรีไซเคิล โดยมีนโยบายชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านจากโรงงานเหล็กแบบดั้งเดิมไปสู่เตาเหลอมไฟฟ้า หรือ EAF


นายวิโรจน์ ระบุว่า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย ในอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เริ่มกังวลว่าเตาอินดักชั่นที่ถูกห้ามในจีน อาจถูกนำมาทิ้ง หรือย้ายฐานการผลิตมายังประเทศอื่นๆ จึงมีการเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการห้ามนำเข้า แต่เกิดอะไรขึ้นกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ของไทย ที่อนุญาตให้โรงงานผลิตเหล็กด้วยเตาอินดักชั่น มาตั้งในประเทศไทย เหมือนยอมให้โรงงานที่ล้าสมัย มีข้อจำกัดในการควบคุมคุณภาพ หนำซ้ำยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่สูง ที่จีนโละทิ้งแล้ว ย้ายมารวมตัวกันตั้งที่ประเทศไทย

นายวิโรจน์ ระบุว่า ปี 2556: บริษัท ซินเคอหยวนสตีล จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ลำดับประเภทที่ 59 ใบทะเบียนโรงงานตามระบบในขณะนั้น เลขที่ ข 3-59-15/56 รย (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตเหล็กหรือเหล็กกล้าในขั้นต้น) จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีเครื่องจักรสำคัญเป็นเตาหลอมชนิดอินดักชัน ซึ่งมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในขณะนั้น (มอก.20/2543 กับ มอก.24/2548) ไม่ยอมให้ใช้เตาชนิดนี้ผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต


15 ก.ค. 2557: นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร เลขาธิการ สมอ. ในขณะนั้น ออกใบอนุญาตให้บริษัท ซินเคอหยวนสตีล จำกัด สามารถผลิตเหล็กข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 (ขนาดตั้งแต่ 12 ถึง 25 มิลลิเมตร) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.24-2548 โดยมาตรฐานนี้ ไม่ได้มีข้อความใดอนุญาตให้ใช้เตาอินดักชั่นในการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต 21 ม.ค. 2558: นายหทัย อู่ไทย เลขาธิการ สมอ. ในขณะนั้น ออกใบอนุญาตให้บริษัท ซินเคอหยวนสตีล จำกัด สามารถผลิตเหล็กเส้นกลม ชั้นคุณภาพ SR24 (ขนาด 9 มิลลิเมตร) ตามตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.20-2543 โดยมาตรฐานนี้ ไม่ได้มีข้อความใดอนุญาตให้ใช้เตาอินดักชั่นในผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต


นายวิโรจน์ ระบุอีกว่า 14 มี.ค. 2559: ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ในขณะนั้น ลงนามในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 4802/2559 แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.20-2543 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต: เหล็กเส้นกลม ที่มีสาระสำคัญคือการแก้ไขเพื่อยอมให้ใช้เตาหลอมชนิดอินดักชั่น ในการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต
22 ก.ค. 2559: นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมคนปัจจุบัน ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการ สมอ. ในขณะนั้น ออกใบอนุญาตทำผลิตภัณฑุ์ตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ให้บริษัท ซินเคอหยวนสตีล จำกัด (เลขที่ 493-1212/24) ให้สามารถผลิตเหล็กข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 (ขนาด 28 และ 32 มิลลิเมตร) ตามตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.24-2548 ข้อสงสัยสำคัญ อยู่ตรงที่ว่า ใบอนุญาตดังกล่าว ยังคงอ้างอิงกับมาตรฐาน มอก.24-2548 (มาตรฐานปี 2548) โดยในช่วงเวลานั้นมีผู้ทักท้วง แต่ทาง สมอ. ได้ชี้แจงว่า ประกาศกระทรวงที่ 4802/2559 และ 4803/2559 เป็นเพียงการแก้ไขข้อความบางส่วน ตัวมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ มอก.20-2543 และ 24-2548 ทั้งๆ ที่ในภายหลังเว็บไซต์ของ สมอ. ตั้งชื่อไฟล์ให้ดาวน์โหลดว่า มอก.24-2559 และทุกคนที่เกี่ยวข้องก็เรียกมาตรฐาน 20-2543 และ 24-2548 (ฉบับแก้ไข 2559) ทั้งสองฉบับนี้ว่า มอก.20-2559 และ มอก.24-2559


นายวิโรจน์ ระบุต่อว่า คำถามสำคัญ ก็คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สามารถออกใบ รง.4 ให้กับบริษัท ซินเคอหยวนสตีล จำกัด ผลิตเหล็กโดยใช้เตาอินดักชั่นได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ มอก.24-2548 และ มอก.20-2543 ไม่มีข้อความใดที่อนุญาต หรือรับรองกรรมวิธีการผลิตเหล็กโดยใช้เตาอินดักชั่น เอาไว้ในมาตรฐานอุตสาหกรรม และคำถามที่สำคัญที่สุด ก็คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 9 มีเหตุผลทางวิชาการอะไรถึงได้ออกมาตรฐาน มอก.20-2559 และ มอก.24-2559 โดยมีการระบุถึงการผลิตเหล็กด้วยกรรมวิธีที่ใช้เตาอินดักชั่นอยู่ในมาตรฐานอุตสาหกรรม ประหนึ่งเปิดประตูต้อนรับ โรงงานผลิตเหล็กด้วยเตาอินดักชั่น ที่จีนโละทิ้งด้วยเหตุผลด้านการควบคุมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ให้ยกโขยงย้ายมาตั้งที่ประเทศไทย


นายวิโรจน์ ระบุอีกว่า มาตรฐานอุตสาหกรรม มีแต่จะต้องยกระดับให้ดีขึ้น แต่นี่กลับมีข้อความที่เปิดช่องให้โรงงานล้าสมัยให้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศไทย นี่ยังไม่นับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กข้ออ้อย มอก.24-25xx ที่กำลังปรับปรุงใหม่ โดยมีการขยายขอบเขตค่าควบคุม “โบรอน” จากเดิมค่าสูงสุดต้องไม่เกิน 0.0008% โดยปรับเป็น 0.003% ซึ่งจะทำให้โรงงานผลิตเหล็กด้วยเตาอินดักชั่นได้ประโยชน์ และยังเป็นการเปิดช่องให้กับเหล็กเส้นที่ตำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างมาก


“ผมเชื่อว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม และ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) คงต้องมีเหตุผลทางวิชาการ และหลักการทางวิศวกรรม ที่อธิบายได้แน่ๆ ครับ ออกมาชี้แจงเถอะครับ ประชาชน โดยเฉพาะวิศวกรทั่วประเทศกำลังรอคำตอบจากทั้งสองหน่วยงานอยู่ หวังว่ากรณีนี้ จะไม่เหมือนกับกรณีอู๋ซานกุ้ย เปิดด่านซันไห่กวนให้กับกองทัพแมนจูเข้ามายึดเมืองนะครับ”นายวิโรจน์ระบุ

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img