วันอาทิตย์, เมษายน 20, 2025
หน้าแรกHighlightเปิดตัว “เครื่อง SPECT” เทคโนโลยีทางการแพทย์วินิจฉัย“มะเร็ง”แม่นยำ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดตัว “เครื่อง SPECT” เทคโนโลยีทางการแพทย์วินิจฉัย“มะเร็ง”แม่นยำ

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดตัวเครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมาหลายระนาบพร้อมเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย ผสานภาพถ่ายเชิงการทำงานในระดับเซลล์ (SPECT) และภาพถ่ายเชิงกายวิภาค (CT) เพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรคและติดตามรักษาโรค

นพ.สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สถาบันมะเร็งแห่งชาติ หนึ่งในหน่วยงานสำคัญของกรมการแพทย์ ซึ่งมีพันธกิจและเป้าหมายเพื่อผลิตและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านโรคมะเร็งใหม่ ๆ รวมถึงให้บริการทางการแพทย์ในระดับที่มีความซับซ้อนเพื่อต่อสู้เอาชนะโรคร้ายนี้ เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาด้วยสารเภสัชรังสีชนิดต่าง ๆ ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ให้บริการผู้ป่วยปีละกว่า 2,000 ราย ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ให้มีความทันสมัย แม่นยำ รองรับการให้บริการผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมาหลายระนาบพร้อมเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มาทดแทนเครื่อง SPECT เครื่องเดิมที่มีอายุการใช้งานมายาวนานกว่า 12 ปี

เรืออากาศเอกนายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า เครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมาหลายระนาบพร้อมเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (SPECT/CT) เครื่องใหม่นี้ มีประสิทธิภาพการตรวจที่ดีขึ้น โดยการตรวจ SPECT/CT เป็นการผสมผสานระหว่างการสแกน SPECT (Single Photon Emission Computed Tomography) ซึ่งใช้สารกัมมันตรังสีเพื่อตรวจสอบการทำงานของอวัยวะ กับการสแกน CT (Computed Tomography) ซึ่งใช้รังสีเอกซ์ในการแสดงโครงสร้างทางกายวิภาค ทำให้ได้ภาพถ่ายทางรังสีแบบตัดขวางที่สามารถแสดงรายละเอียดและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้น  สามารถลดระยะเวลาการตรวจและลดปริมาณการใช้รังสีที่ให้ผู้ป่วยในการตรวจแต่ละครั้ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้รับบริการได้มากขึ้นมากกว่า 3,000 รายต่อปี อีกทั้งยังรองรับเทคโนโลยีด้านการรักษาชนิดใหม่ๆ เช่น รองรับการทำงานร่วมกับงานรังสีร่วมรักษาในวางแผนการรักษามะเร็งตับด้วยอนุภาพกัมมันตรังสีอิตเทรียม-90 (Y-90 radioembolization) ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษาผ่านทางเส้นเลือดแดงที่มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัด, การคำนวณปริมาณรังสีสะสมที่ก้อนมะเร็งในผู้ป่วยที่ได้รับในการรักษาด้วยสารเภสัชรังสีชนิดต่างๆ (Dosimetry) เพื่อให้อวัยวะปกติได้รับรังสีส่วนเกินน้อยที่สุด, และยังรองรับการใช้ระบบ AI ร่วมแปลผลภาพวินิจฉัย ซึ่งจะสามารถช่วยในการแปลผลมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img