Wind Power : Converts the Wind’s Kinetic Energy into Electricity
“….การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม และการนำลมมาใช้ประโยชน์จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ ‘กังหันลม’ ในการเปลี่ยนพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลก่อนนำไปใช้ประโยชน์ …”
กำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power คือแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Source ที่ใช้กังหันลม Wind Turbines เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า ด้วย การแปลงพลังงานจลน์ของลม Kinetic Energy of Wind ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า Electrical Energy ..
ข้อดีหลักของพลังงานลม Wind Energy’s Main Advantages ได้แก่ การเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และมีต้นทุนการดำเนินการต่ำ ในขณะที่ข้อเสีย ได้แก่ มลพิษทางเสียง ผลกระทบต่อสายตา ความไม่สม่ำเสมอของแรงลมเนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ป่า โดยเฉพาะนก และค้างคาว เมื่อติดตั้งกังหันลมไม่ถูกต้องตามมาตรฐานกำหนด ..

กังหันลม Wind Turbines ผลิตขึ้นในหลายขนาดโดยมีทั้งแกนแนวนอน และแกนแนวตั้ง .. กังหันลมขนาดใหญ่หลายแสนตัว ได้รับการติดตั้งที่เรียกว่า ฟาร์มกังหันลม Wind Power Farm ได้สร้างพลังงานได้มากกว่า 740 GW ทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 60 GW ในแต่ละปีต่อเนื่อง .. พวกมันคือแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ที่สำคัญมาก และมีการใช้งานอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เพื่อลดต้นทุนทางพลังงาน และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ..
การศึกษาชิ้นหนึ่ง เมื่อทศวรรษก่อนหน้านี้ อ้างว่า พลังงานลม Wind Energy ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสัมพัทธ์ Relative Greenhouse Gases ต่ำที่สุด ความต้องการใช้น้ำน้อยที่สุด และมีผลกระทบเชิงบวกทางสังคมดีที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานทางเลือกจากเซลล์แสงอาทิตย์ Alternative Energy Sources from Solar Cells, พลังน้ำ Hydropower, พลังงานความร้อนใต้พิภพ Geothermal Energy, ถ่านหิน Coal และก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ..
กังหันลมขนาดเล็ก Small Wind Turbines ใช้สำหรับระบบงานแบบแยกย่อย เช่น แหล่งพลังงานในครัวเรือน การชาร์จแบตเตอรี่สำหรับพลังงานเสริมให้กับเรือ รถบ้าน รถพ่วง Caravan อุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือน และเพื่อส่งสัญญาณเตือนการจราจร เป็นต้น .. ขณะที่ กังหันลม Wind Turbines ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในประเทศได้ รวมทั้งเจ้าของกังหันลมผลิตไฟฟ้าในครัวเรือน Home Wind Power สามารถขายคืนกำลังไฟฟ้าส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้กลับไปยังซัพพลายเออร์ยูทิลิตี้ Supplier Utility ผ่านทางกริดไฟฟ้า หรือโครงข่ายระบบสายส่ง Electrical Grids ได้อีกด้วย ..
ปัจจุบัน พลังงานลม Wind Power คือรูปแบบการผลิตกำลังไฟฟ้าที่ได้รับการพิสูจน์ในเชิงพาณิชย์แล้ว และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว .. กังหันลม Wind Turbines หลากหลายรูปแบบ ให้พลังงานไฟฟ้าที่สะอาด และประหยัดค่าใช้จ่ายไปทั่วโลก Clean, Renewable & Cost-Effective Electricity รวมทั้งกำลังกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Technologies ที่สำคัญขึ้นเป็นหลักอย่างรวดเร็วรองจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy .. การจำแนกประเภทของกังหันลม Wind Turbines ที่ยอมรับได้ กำหนดโดยแกนของพวกมัน ไม่ว่าจะเป็นกังหันลมแกนนอน Horizontal Axis Wind Turbine : HAWT หรือกังหันลมแกนตั้ง Vertical Axis Wind Turbine: VAWT ..
ใน ภาคการผลิตกำลังไฟฟ้า Electricity Generation Sector นั้น คาดว่าสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนจะขยายตัวจาก 30% ในปี 2566 เป็น 46-50% ในปี 2573 .. พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Energy คิดเป็นสัดส่วนเกือบทั้งหมดของการเติบโตนี้ .. ภายในสิ้นทศวรรษนี้ คาดว่า พลังงานลม Wind Energy จะกลายเป็นแหล่งผลิตกำลังไฟฟ้าหมุนเวียน Renewable Electricity Generation Source ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากโซลาร์เซลล์ Solar PVs แต่ขึ้นแซงหน้าการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานน้ำ Hydropower ..
อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่สูง Inflation & High Interest Rates สร้างความท้าทายให้กับภาคการผลิตพลังงานลมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power Sector มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในระยะจากนี้ไป เนื่องจากนโยบายภาครัฐในหลายประเทศที่สะท้อนถึงสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคใหม่ New Macroeconomic Environment มีผลบังคับใช้ รวมถึงมาตรการเร่งการอนุญาต และเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของโครงการ Accelerate Permitting & Enhance Project Bankability .. เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี 2560-2566 คาดว่า กำลังการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานลมบนบก Onshore Wind Power Capacity จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ภายในปี 2573 ในขณะที่การเติบโตของกำลังการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Power Capacity จะเพิ่มขึ้นได้อีกเกือบ 4 เท่า ..
ในปี 2565 การผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานลม Wind Electricity Generation เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 265 TWh หมายถึง เพิ่มขึ้น 14% จากปีที่ผ่านมาจนสูงขึ้นแตะระดับมากกว่า 2,100 TWh ซึ่งถือเป็นการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในบรรดาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน Renewable Power Technologiesทั้งหมด รองจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar PVs .. อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปแผนงานตามสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions ภายในปี 2593 นั้น คาดการณ์ว่าจะมีการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานลม Wind Electricity Generation อยู่ที่ประมาณ 7400 TWh ในปี 2573 ด้วยอัตราการเติบโตของการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมเฉลี่ยต่อปี Annual Wind Power Generation Growth Rate ที่จะต้องเพิ่มขึ้นเป็นประมาณอย่างน้อย 17% .. การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะต้องมีกำลังผลิตที่เกิดขึ้นใหม่ปีต่อปีจาก 75 GW ในปี 2565 เป็น 350 GW ในปี 2573 .. การดำเนินนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศ และความพยายามของภาคเอกชนที่มากขึ้น คือ ความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้บรรลุการเติบโตของกำลังการผลิตในระดับนี้ โดยด้านที่สำคัญที่สุดในการปรับปรุง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการอนุญาตให้มีพลังงานลมบนบก Improvement Being Facilitating Permitting for Onshore Wind และการลดต้นทุนสำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่ง Cost Reductions for Offshore Wind ..
ข้อได้เปรียบ และความท้าทายของพลังงานลม Advantages & Challenges of Wind Energy ..
การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานลม Wind Power Technology Development ยังคงเน้นไปที่การเพิ่มผลผลิต Increasing Productivity และการลดต้นทุน Lowering Costs ..
นวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานลม Wind Technology Innovation มุ่งไปที่การเพิ่มผลผลิตของกังหันลม Increasing the Productivity of Turbines โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีลมพัดเบา Areas with Low Wind Conditions โดยพัฒนากังหันลมที่มีใบพัดยาวขึ้น และเสาสูงขึ้น Longer Blades & Higher Towers .. อย่างไรก็ตาม ความสูงที่สูงที่สุดของกังหันลมบนบก Maximum Height of Onshore Wind Turbines มักถูกจำกัดในบางพื้นที่ด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม และการยอมรับของสาธารณะ ซึ่งจำกัดขอบเขตของนวัตกรรมที่เป็นไปได้ ..

ในทางกลับกัน ในส่วนของกังหันลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Segment ไม่มีข้อจำกัดด้านขนาดดังกล่าว ดังนั้น นวัตกรรม Innovation จึงเป็นการพัฒนาการออกแบบกังหันลมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมได้ ในขณะเดียวกัน การพัฒนาของกังหันลมนอกชายฝั่งแบบลอยน้ำ Floating Offshore Wind Turbines ที่ปลอดภัย และมีต้นทุนแข่งขันได้ ก็เร่งตัวขึ้น .. ฟาร์มกังหันลมแบบลอยน้ำ Floating Wind Farms อาจปลดล็อคศักยภาพอันมหาศาลของพื้นที่มหาสมุทรที่มีความลึกของน้ำมากเกินกว่าที่จะสร้างกังหันลมแบบติดตั้งถาวรได้ และอาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน คาดว่า พื้นที่ทะเลลึก และใกล้ตามแนวชายฝั่งในฝรั่งเศส France, ญี่ปุ่น Japan, เกาหลี Korea, นอร์เวย์ Norway, โปรตุเกส Portugal, สหราชอาณาจักร United Kingdom: UK และชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ West Coast of the United States จะเป็นพื้นที่ชุดแรกๆ ที่มีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายจากนี้ไป ..
การติดตั้งกังหันลมนอกชายฝั่งทั่วโลก ในปี 2563 ปีเดียว มีจำนวนทั้งสิ้น 5,519 MW .. ตลาดกังหันลมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขนาดของพวกมันใหญ่ขึ้น และใช้เสาสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางของโรเตอร์เฉลี่ยเกิน 150 เมตร และขนาดกำลังผลิตกำลังไฟฟ้าของกังหันแต่ละตัวนั้น มากกว่า 7.5 MW .. แนวโน้มใหม่ยังเกิดขึ้นในปี 2563 รวมถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในการใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมนอกชายฝั่งเพื่อผลิตไฮโดรเจนสะอาด Green Hydrogen : H2 มาพร้อมด้วย .. กำลังไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งรูปแบบลอยน้ำ Floating Offshore Wind Energy ทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าในปี 2563 เป็น 26,529 MW ..
ข้อได้เปรียบ และข้อดีสำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Power เทียบกับพลังงานบนบก ตัวอย่างเช่น กังหันลมบนแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือในทะเล สามารถสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่า และสูงกว่ากังหันลมบนบกได้ เพื่อให้สามารถวางแผนผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากขึ้น .. พวกมันมักจะอยู่ห่างไกลจากฝั่งทะเล ซึ่งหมายความว่า พวกมันจะรบกวนประเทศเพื่อนบ้านน้อยกว่ามาก ทำให้สามารถสร้างฟาร์มกังหันลมขนาดใหญ่กินพื้นที่ได้มากเท่าไรก็จะมิได้สร้างปัญหาความมั่นคงกับเพื่อนบ้าน ..
นอกจากนี้ โดยทั่วไปแล้วในทะเล จะมีความเร็วแรงลมที่สูงกว่ามาก ทำให้สามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้นอีก .. ฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Farms ดูเหมือนจะมีผลกระทบค่อนข้างเป็นกลางต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ พวกมันส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในเส้นทางเดินเรือ พื้นที่ตกปลา หรือในสภาพแวดล้อมที่ละเอียดอ่อน และไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น ถนนแคบ อุโมงค์ หุบเขาเนินเขา หรืออาคารที่สามารถบังลมได้ เป็นต้น ..
ข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Farms คือต้นทุน .. ฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Farms อาจมีราคาแพงในการก่อสร้าง และการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากพื้นที่เข้าถึงได้ยาก ฟาร์มกังหันลมเหล่านี้ จึงอ่อนไหวต่อความเสียหายจากลมความเร็วสูงมากระหว่างพายุ หรือพายุเฮอริเคน ซึ่งมีราคาแพงลิ่วสำหรับการซ่อมบำรุง ..
อย่างไรก็ตาม พลังงานลม Wind Energy มีข้อได้เปรียบในภาพรวมหลายประการ ซึ่งอธิบายได้ว่า ทำไมพลังงานลม Wind Energy จึงเป็นแหล่งพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เพื่อขยายขีดความสามารถของพลังงานลม และประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป นักวิจัยกำลังดำเนินการแก้ไขความท้าทายทางเทคนิค และเศรษฐกิจสังคม เพื่อสนับสนุนอนาคตของการผลิตกำลังไฟฟ้าไฟฟ้าปลอดคาร์บอน Decarbonized Electricity Future ..
ทั้งนี้ ข้อดีของกำลังไฟฟ้าพลังงานลม Advantages of Wind Power ได้แก่ :-
–พลังงานลม สร้างงานที่มีค่าตอบแทนดี Wind Power Creates Good – Paying Jobs : ตัวอย่างในสหรัฐฯ ประเทศเดียว มีผู้คนเกือบ 150,000 คนทำงานในอุตสาหกรรมพลังงานลมของสหรัฐฯ ในทั้ง 50 รัฐ และจำนวนดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐฯ .. ช่างเทคนิคบริการกังหันลมเป็นงานในสหรัฐฯที่เติบโตเร็วที่สุดในทศวรรษนี้ อุตสาหกรรมพลังงานลม Wind Power industry มีศักยภาพที่จะรองรับงานในสหรัฐฯ ได้อีกหลายแสนตำแหน่ง ภายในปี 2593 โดยเปิดโอกาสให้มีอาชีพการงานตั้งแต่ช่างทำใบพัดไปจนถึงผู้จัดการสินทรัพย์ ..
–พลังงานลม เป็นทรัพยากรในประเทศที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต Wind Power is a Domestic Resource that Enables Economic Growth : ตัวอย่างในสหรัฐฯ เช่นกัน ในปี 2565 กังหันลม Wind Turbines ที่ทำงานในทั้ง 50 รัฐ สร้างพลังงานสุทธิของประเทศ Net Total of the Country’s Energy ได้มากกว่า 10% และในปีเดียวกันนั้น การลงทุนในโครงการพลังงานลมใหม่ๆ เพิ่มมูลค่าให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯได้อยู่ที่ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ..
–กำลังไฟฟ้าพลังงานลม คือแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด Wind Power is a Clean & Renewable Energy Source : กังหันลม Wind Turbines ใช้พลังงานจากลม Energy from the Wind โดยใช้พลังงานกลในการหมุนเครื่องปั่นไฟ และสร้างกำลังไฟฟ้า .. ลม Wind ไม่เพียงแต่เป็นทรัพยากรที่มีมากมาย และไม่มีวันหมด Abundant & Inexhaustible Resource เท่านั้น แต่ยังให้พลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องเผาเชื้อเพลิง หรือทำให้เกิดมลภาวะในอากาศอีกด้วย .. ตัวอย่างพลังงานลมในสหรัฐฯนั้น ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbo Dioxide : CO2 ได้ 336 ล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซจากรถยนต์ 73 ล้านคัน ..
–กำลังไฟฟ้าพลังงานลม มีประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น Wind Power Benefits Local Communities : โครงการพลังงานลมสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ชุมชนในพื้นที่ติดตั้งจากภาษีของรัฐ และท้องถิ่น รวมถึงค่าเช่าที่ดินในแต่ละปี ชุมชนที่พัฒนาพลังงานลม Communities that Develop Wind Energy สามารถใช้รายได้พิเศษเหล่านี้เพื่อจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียน ลดภาระภาษีของเจ้าของบ้าน และจัดการกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ..
–กำลังไฟฟ้าพลังงานลม มีต้นทุนคุ้มค่า Wind Power is Cost-Effective : กังหันลมบนบกขนาดใหญ่ในระบบสาธารณูปโภค Land-Based, Utility-Scale Wind Turbines คือ แหล่งพลังงานที่มีราคาถูกที่สุดแหล่งหนึ่งในปัจจุบัน .. นอกจากนี้ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนของพลังงานลม Wind Energy’s Cost Competitiveness นั้น ยังคงได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่องด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของพลังงานลม Advances in the Science & Technology of Wind Energy ..
– กังหันลม ทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันได้ดี Wind Turbines Can Work in Different Settings : การผลิตพลังงานลมเหมาะกับพื้นที่การเกษตร และการใช้งานอเนกประสงค์ .. พลังงานลม Wind Energy สามารถผสานรวมได้ง่ายในพื้นที่ชนบท หรือห่างไกล เช่น ฟาร์ม และไร่ หรือชุมชนชายฝั่ง และเกาะ ซึ่งมักพบแหล่งพลังงานลมคุณภาพสูง High-Quality Wind Resources ..
ขณะที่ ความท้าทายของกำลังไฟฟ้าพลังงานลม Challenges of Wind Power ได้แก่ :-
–กำลังไฟฟ้าพลังงานลม ต้องแข่งขันกับแหล่งพลังงานต้นทุนต่ำอื่นๆ Wind Power Must Compete with Other Low-Cost Energy Sources : เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนพลังงานที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าใหม่นั้น โครงการพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ Wind & Solar Projects ในปัจจุบัน มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซ Gas Power Plant, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ Geothermal Power Plant, โรงไฟฟ้าถ่านหิน Coal Fire Power Plant หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Nuclear Facilities .. อย่างไรก็ตาม โครงการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power Projects อาจไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ในบางพื้นที่ที่ไม่มีลมแรงเพียงพอ .. เทคโนโลยีรุ่นต่อไป Next-Generation Technology, การปรับปรุงการผลิต Manufacturing Improvements และความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของโรงไฟฟ้าพลังงานลม Better Understanding of Wind Plant Physics สามารถช่วยลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น ..
–แหล่งพลังงานลมที่เหมาะสม มักจะอยู่ในสถานที่ห่างไกล Ideal Wind Sites are Often in Remote Locations : ความท้าทายในการติดตั้งจะต้องเอาชนะประเด็นเรื่องระยะทาง เพื่อนำกำลังไฟฟ้าจากฟาร์มพลังงานลมไปยังพื้นที่ในเมือง Bring Electricity from Wind Farms to Urban Areas ซึ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ .. การยกระดับเครือข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าของประเทศ Upgrading the Nation’s Transmission Network เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ที่มีแหล่งพลังงานลมมากมาย Areas with Abundant Wind Resources กับศูนย์กลางประชากร Population Centers นั้น อาจลดต้นทุนของการขยายพลังงานลมบนบก Land-Based Wind Energy เป็นอย่างมากได้ นอกจากนี้ ความสามารถในการส่งผ่านพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Energy Transmission และการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Grid Interconnection Capabilities ก็กำลังจะต้องได้รับการปรับปรุงมาพร้อมด้วยเช่นกัน ..
–กังหันลม สร้างเสียงรบกวน และเปลี่ยนแปลงความสวยงามทางสายตา Turbines Produce Noise & alter Visual Aesthetics : ฟาร์มกังหันลม Wind Farms มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าทั่วไป แต่ก็มีข้อกังวลที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับเสียงรบกวนที่เกิดจากใบพัดกังหันลม Noise Produced by the Turbine Blades และผลกระทบทางสายตาต่อภูมิทัศน์ Visual Impacts on the Landscape ..
–โรงไฟฟ้าพลังงานลม อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าในพื้นที่ Wind Power Plants can Impact Local Wildlife : แม้ว่า โครงการพลังงานลม Wind Projects จะมีผลกระทบต่อสัตว์ป่าน้อยกว่าโครงการพัฒนาพลังงานประเภทอื่น แต่ยังคงต้องมีการวิจัยเพื่อลดปฏิสัมพันธ์ระหว่างลม กับสัตว์ป่าให้เหลือน้อยที่สุด Minimize Wind-Wildlife Interactions .. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Advancements in Technologies, การเลือกสถานที่ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เหมาะสม Properly Siting Wind Plants และการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง Ongoing Environmental Research กำลังดำเนินการเพื่อลดผลกระทบของกังหันลมที่มีต่อสัตว์ป่า ..
กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย และโครงการสำคัญ Wind Power Capacity in Thailand & Major Projects ..
อ้างถึงข้อมูลของ GlobalData ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเชิงลึกในภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลการวิจัยอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก ชี้ว่า กำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power คิดเป็น 3% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งใหม่ทั้งหมด Total Installed Power Generation Capacity และคิดเป็น 2% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด Total Power Generation ของประเทศไทย ในปี 2566 ..

กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งจะเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2567-2578 ได้รับการคาดหมายว่า กำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power จะคิดเป็น 3% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งทั้งหมด Total Installed Generation Capacity .. กำลังผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานลมบนบก Onshore Wind Power Capacity เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2553-2566 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 54% และคาดหมายเพิ่มเติมว่า พลังงานลมบนบก Onshore Wind Power ของไทย จะเติบโตด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR มากกว่า 10% ได้ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2572 ..
ประเทศไทย Thailand มีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังลมบนบกติดตั้ง อยู่ที่ประมาณ 1.5 GW โดยมีศักยภาพในการมีส่วนสนับสนุนพลังงานทดแทนของประเทศได้มากขึ้น แม้ว่าการพัฒนาจะยังมีอุปสรรคบ้างเนื่องจากแผนการจัดซื้อในอนาคตที่ไม่ชัดเจน Unclear Future Procurement Plans แต่ประเทศไทย ก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มลงทุนในโครงการพลังงานลมอย่างแข็งขัน Actively Investing in Wind Energy Projects เพื่อกระจายแหล่งพลังงาน Diversify Its Energy Sources และให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน Meet Sustainability Goals ตามแผนชาติไปพร้อมด้วย ..
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับกำลังไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย Key Points about Wind Energy in Thailand ได้แก่ :-
–กำลังการผลิต Capacity : ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังลมบนบกติดตั้ง อยู่ที่ประมาณมากกว่า 1.5 กิกะวัตต์ GW ทั้งนี้การผลิตกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานลม Electricity Generation within the Wind Energy Market ของไทย คาดว่าจะสูงถึง 3.94 กิกะวัตต์ชั่วโมง GWh ในปี 2568 ..
–ศักยภาพ Potential : การผลิตพลังงานลมส่วนใหญ่ของไทยมาจากฟาร์มลมบนบก Onshore Wind Farms และประเทศไทย มีศักยภาพทางเทคนิค Technical Potential ในขนาดการผลิตกำลังไฟฟ้าไฟฟ้าพลังลมบนบก Onshore Wind Power ได้ 13-17 กิกะวัตต์ GW ..
–การเติบโต Growth : คาดว่าภาคส่วนพลังงานลมของประเทศไทย Wind Energy Sector in Thailand จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 10.95% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2572 ..
–ความท้าทาย Challenges : แผนงานการจัดหาพลังงานลมในอนาคตที่ไม่ชัดเจน Unclear Roadmap for Future Wind Power Procurement ของไทย อาจจำกัดศักยภาพของภาคส่วนนี้ ..
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมกำลังไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย Wind Power in Thailand นั้น ประเทศไทย มีการติดตั้งสถานีไฟฟ้าพลังงานลมบนบก Onshore Wind Power Stations เพิ่มขึ้น ในปี 2562 ด้วยขนาดรวมแตะระดับ 1.5 GW .. ปัจจุบัน ศักยภาพทางเทคนิค และแนวโน้มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมบนบกของไทย อยู่ที่ 13-17 GW โดยคิดเป็นอันดับที่ 46 ของโลก .. อุตสาหกรรมพลังงานลมของภาคเอกชนไทย สามารถส่งมอบโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม และขายกำลังไฟฟ้าให้ กฟผ.เข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่ง หรือกริดไฟฟ้าได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า 3 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง KWh ..
จากการศึกษาแผนที่ศักยภาพพลังงานลม Wind Energy Potential Map ในประเทศ ซึ่งจัดทำโดยกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพด้านพลังงานลมอยู่บ้าง แต่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าพลังงานลม Wind Energy เป็นพลังงานค่อนข้างสะอาด แต่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลม เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ยังคงพึ่งไม่ได้ ยกเว้นในพื้นที่ที่มีลมพัดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และเนื่องจาก ลมมิได้พัดมาแรงเสมอไป ความเร็วของกังหันลม จำเป็นต้องมีการควบคุมตลอดเวลา และถือเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกผันแปร จึงต้องติดตั้งระบบจัดเก็บพลังงาน เช่น สถานีไฟฟ้าแบตเตอรี่ Battery Energy Storage Systems or Stations : BESSs ไว้พร้อมด้วย หมายถึงในหลายๆ กรณีจำเป็นต้องมีกำลังไฟฟ้าสำรองเตรียมไว้พร้อมด้วยในกรณีที่ไม่มีกำลังลม หรือลมพัดอ่อนเกินไป ..
ด้วยเทคโนโลยีกังหันลม Wind Turbine Technology ปัจจุบัน การใช้แหล่งพลังงานลมในประเทศไทยนั้น สถานที่ติดตั้งกังหันลม จะต้องพิจารณาจากพื้นที่ที่มีกำลังลมเฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าระดับ 3 หรือ Class 3 คือ 6.4-7.0 เมตร/วินาที หรือ 300-400 กิโลวัตต์/ตารางเมตร ที่ความสูง 50 เมตร เพื่อสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่าการลงทุน .. การสำรวจแหล่งที่มีความเร็วลมดังกล่าว จะอยู่ที่ภาคใต้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี และที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมีนาคม เป็นต้น ..
อย่างไรก็ตาม การติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย นอกเหนือจากความเร็วของลม เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ควรเป็นที่ราบโล่งไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีความเร็วลมโดยสม่ำเสมอ เป็นต้น .. เมื่อคำนึงถึงความไม่สม่ำเสมอของกำลังไฟฟ้าจากพลังงานลมแล้ว การลงทุนในกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยในขณะนี้ จึงไม่มีความคุ้มทุนทางการเงินเท่าที่ควรจะเป็น และพวกมันยังต้องการระบบจัดเก็บพลังงานที่เป็นชุดของสถานีไฟฟ้าแบตเตอรี่บนระบบสายส่ง รวมทั้งการใช้งานร่วมกับแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ แบบผสมผสานไปพร้อมด้วย ..
ดังนั้น การลงทุนจึงจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเป็นพิเศษด้วยเหตุผลด้านความต้องการพลังงาน สิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ เท่านั้น ต่างกับการพัฒนาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Power ที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการแยกเดี่ยว Stand Alone และมีความเป็นไปได้ในโอกาสทางธุรกิจมากกว่า .. นี่ยังมิได้กล่าวถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของการเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบสายส่งด้วยซ้ำไป ..
สำหรับภาครัฐ โดยสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน รวมทั้ง กฟผ.ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องพลังงานลมให้ประชาชนรับทราบ และก่อนหน้านี้ กฟผ.ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นข้อเสนอในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และขายไฟฟ้านำเข้าระบบให้แก่ กฟผ.ในรูปของการผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย หรือ SPP โดยมีเงินสนับสนุนให้ ..
ปัจจุบัน Wind Farms ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าซับพลูวินด์ฟาร์ม 1 และ 2 รวมทั้งโรงไฟฟ้าวายุวินด์ฟาร์ม โรงไฟฟ้าสราญลมวินด์ฟาร์ม และโรงไฟฟ้ามิตรภาพวินด์ฟาร์ม ของบริษัท พัฒนาพลังงานลม จำกัด Wind Energy Development Company Limited : WED ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานลมเหล่านี้ ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด กับ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ขนาดกำลังผลิต 8 MW, 2 MW, 50 MW, 60 MW และ 50 MW ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 170 MW ..
ทั้งนี้ ตัวอย่าง Wind Farms ของภาคเอกชนบนบกอีกหลายแห่งในประเทศที่ผลิตกำลังไฟฟ้าส่งเข้าระบบสายส่งของ กฟผ. เช่น Theppana Wind Farm ขนาดกำลังผลิต 6.9 MW, First Korat Wind ขนาดกำลังผลิต 103 MW, Chang Hua Man กำลังผลิต 50 KW, Samut Green Energy กำลังผลิต 1 MW, DEDE : Wind Energy for Generation ขนาดกำลังผลิต 15 MW เป็นต้น ..
นอกจากนั้น ปัจจุบันยังมีตัวอย่างโรงไฟฟ้าพลังงานลมของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) Energy Absolute : EA ที่ดำเนินงานอยู่ คืออีกตัวอย่างรูปแบบธุรกิจพลังงานสะอาดสำคัญที่น่าประทับใจโดยภาคเอกชนที่มีศักยภาพในประเทศ .. ทั้งนี้ บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม 99.97% ผ่านบริษัทฯย่อยที่เป็น Holding Company ไปแล้ว รวม 8 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต รวมทั้งสิ้น 386 เมกะวัตต์ MW ได้แก่ :-
–โครงการหาดกังหัน 1 ขนาดกำลังการผลิต 36 MW อ.ระโนด จ.สงขลา ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต กฟผ.ตั้งแต่ 3 มีนาคม 2560 ..
–โครงการหาดกังหัน 2 ขนาดกำลังการผลิต 45 MW อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต กฟผ.ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2560 ..
–โครงการหาดกังหัน 3 ขนาดกำลังการผลิต 45 MW อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต กฟผ.ตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2560 ..
–โครงการหนุมาน 1 & 8 ขนาดกำลังการผลิต 90 MW ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต กฟผ.ตั้งแต่ 25 มกราคม 2562 ..
–โครงการหนุมาน 5 ขนาดกำลังการผลิต 48 MW ต.โป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต กฟผ.ตั้งแต่ 22 มีนาคม 2562 ..
–โครงการหนุมาน 9 ขนาดกำลังการผลิต 42 MW ต.โป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2562 ..
–โครงการหนุมาน 10 ขนาดกำลังการผลิต 80 MW ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตั้งแต่ 13 เมษายน 2562 ..
อย่างไรก็ตาม ปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ ขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยาวของใบพัด และสถานที่ติดตั้งกังหันลม .. ทั้งนี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) Energy Absolute : EA PCL มีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานรวม 8 โครงการ ขนาดกำลังผลิตรวม 386 MW โดย กฟผ.รับซื้อกำลังไฟฟ้าส่งเข้าระบบสายส่ง ด้วยส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า 3.5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง KWh โดยมีระยะเวลาสนับสนุน 10 ปี ..
ในปี พ.ศ.2526 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เลือกพื้นที่บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 5 เมตรต่อวินาที เป็นที่ตั้งของสถานีทดลองการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ใช้ชื่อว่า ‘สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ’ โดยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแหลมพรหมเทพ ประมาณ 1 กิโลเมตร ..
โดยทั่วไป กังหันลม Wind Turbines สามารถแบ่งออกตาม ลักษณะการจัดวางแกนของใบพัดได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ :-
–กังหันลมแนวแกนตั้ง Vertical Axis Turbine : VAWT เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุน และใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ ..
–กังหันลมแนวแกนนอน Horizontal Axis Turbine : HAWT เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม ..
สำหรับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย การส่งเสริมติดตั้งกังหันผลิตไฟฟ้า Promotion of Wind Turbine Installation ในประเทศช่วงที่ผ่านมา ยังมีอุปสรรค เพราะพื้นที่ที่พอจะมีศักยภาพสำหรับพลังงานลม Wind Energy Potential Area ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ 86% อยู่ในภาคอีสาน และมักติดปัญหาในเรื่องที่ดิน เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้ติดตั้งกังหันลมส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สูงอยู่บนภูเขา ซึ่งอาจเป็นที่ดินในเขตสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร หรืออยู่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่มรดกโลก และอุทยานแห่งชาติ ..
การติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ Large Wind Turbine Installation จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ที่ชาวบ้าน และประชาชนในพื้นที่จะต้องให้ความยินยอมก่อน เพราะอาจมีปัญหาด้านมลพิษทางเสียงจากการหมุนของใบพัดกังหันลม ..
แม้ว่า ประเทศไทยจะมิได้ผูกขาดการผลิตกำลังไฟฟ้าไว้กับภาครัฐ แต่ปัญหาจริงๆ ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องการผูกขาดระบบสายส่ง และหากการปลดล็อคการผูกขาดโครงข่ายระบบสายส่งของภาครัฐโดย กฟผ.ล่าช้าแล้ว ก็จะไม่สามารถทำให้ราคาค่าไฟฟ้าในภาพรวมลดลงได้ และพวกมันจะกลายเป็นอุปสรรคของชาติต่อการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Development ในประเทศ รวมถึงกลายเป็นประเด็นปัญหาอุปสรรคต่อนโยบายการกระจายการลงทุนไปสู่ชุมชน ภาคเอกชน และนิติบุคคลที่มีศักยภาพ เกี่ยวกับการวางระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง บนโครงข่ายระบบสายส่ง Power Grids, การวางเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน Virtual Power Plants : VPPs และเครือข่าย Smart Grids & Microgrids ซึ่งหมายถึง ผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของไทยในภาพรวมนั่นเอง ..
การประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานลมเพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าของไทยนั้น สามารถใช้ระบบไฮบริด Hybrid รูปแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น กลางคืนใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลม กลางวันใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานส่วนเกินที่เหลือใช้ จัดเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium Ion Batteries ที่ผลิตในประเทศ เพื่อให้สามารถใช้มันเป็นสถานีจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ตลอดทั้งวัน เป็นต้น .. นอกจากนั้น บทบาทของนโยบายภาครัฐ ถือเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด ..
กรอบนโยบายที่ชัดเจนในการพิจารณาให้การสนับสนุนการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานลมแก่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยด้วย โดยการกำหนดสัดส่วนเพิ่มการรับซื้อกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลม และพลังงานทางเลือกอื่นๆ ด้วยราคาไม่น้อยกว่า 2.50 บาทต่อหน่วย หรือกิโลวัตต์ชั่วโมง KWh และหากเป็นการผลิตกำลังไฟฟ้าในพื้นที่พิเศษ เช่น พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือพื้นที่ห่างไกลที่ระบบสายส่งยังพอจะเข้าถึงได้ เห็นสมควรพิจารณาอัตราเพิ่มพิเศษขึ้นอีกตามความเหมาะสม ระยะยาวอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป กับการปลดล็อคการผูกขาดโครงข่ายระบบสายส่งของภาครัฐ และการปรับปรุงระบบสายส่งให้ฉลาดขึ้น สามารถรองรับความจุกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกเข้าสู่ระบบสายส่งได้มากขึ้นด้วยต้นทุนที่ลดลง ถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ขาดไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อบรรลุแผนงานความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืนของประเทศในอนาคตได้จากนี้ไป ..
คาดการณ์ตลาดกำลังไฟฟ้าพลังงานลมทั่วโลก Global Wind Power Market ..
การเพิ่มขึ้นของการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานลมทั่วโลก Growth of Global Wind Power Generation ตามแผนงานประจำปี ในปี 2566-2568 อาจอยู่ในช่วง 65 GW ในกรณีแผนงานหลัก และเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 100 GW ในกรณีแผนงานเร่งด่วน .. การสนับสนุนด้านนโยบายจากภาครัฐ การลงทุนในโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าที่ชาญฉลาดมากขึ้น และระบบจัดเก็บพลังงานที่กระจายกันอยู่อย่างแพร่หลาย รวมทั้งพัฒนาการของกังหันลมแกนแนวตั้งที่มีศักยภาพมากขึ้นในอนาคต จะส่งผลให้ส่วนแบ่งของแหล่งพลังงานลมนอกชายฝั่ง ขยายตัวด้วยความเร่งทั่วโลก รวมทั้ง คาดหมายได้ว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2568 ถึง 20% เนื่องจากการใช้งานมันในตลาดใหม่ได้รับยอมรับอย่างมากในหลายประเทศ ..

อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Grand View Research พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดกำลังไฟฟ้าพลังงานลมทั่วโลก Global Wind Power Market มีมูลค่าประมาณ 97,050 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 และคาดว่าจะขยายตัวด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดกำลังไฟฟ้าพลังงานลมทั่วโลก Global Wind Power Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 4.9% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2573 ..
ความต้องการที่เพิ่มขึ้น Growing Need ในการแทนที่แหล่งพลังงานรูปแบบแบบเดิม Conventional Sources of Energy ด้วยแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources นั้น คาดว่าจะผลักดันตลาดพลังงานลมในปีต่อๆ ไป .. การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Power Generation ซึ่งถือว่ามีราคาแพงเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน ปัจจุบัน ถือว่ามีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้มากกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติที่สร้างขึ้นใหม่ New-Built Coal or Gas Power Plants .. นอกจากนี้ คาดว่าในปีต่อๆ ไป การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่ จะมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนมากกว่าการดำเนินการโรงไฟฟ้าถ่านหิน Coal Fire Power Plants หรือโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Power Plants ที่มีอยู่ ..
เมื่อพิจารณาจากที่ตั้ง กลุ่มพลังงานลมบนบก On-Shore Wind Power Segment คือผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งรายได้สูงสุดที่ 75.52% ในปี 2567 .. พลังงานลมบนบก Onshore Wind Power กลายเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคต่างๆ เนื่องมาจากต้นทุนต่ำกว่าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Power ประกอบกับกระบวนการติดตั้งง่าย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก GHG ที่ลดลง ต้นทุนการติดตั้งโครงการพลังงานลมบนบก และนอกชายฝั่งทั่วโลก Cost of Onshore & Offshore Wind Power Projects ลดลงเรื่อยๆ และคาดว่าจะลดลงในปีต่อๆ ไป ซึ่งคาดว่าจะผลักดันการเติบโตของตลาดต่อไป ..
ต้นทุนไฟฟ้าเฉลี่ย Levelized Cost of Electricity : LCOE สำหรับโครงการพลังงานลมบนบกที่ติดตั้งแล้วนั้น ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับแหล่งผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล และมีแนวโน้มที่จะลดต้นทุนการติดตั้ง และจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานลมในอนาคต .. จีน China ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific Region จะยังคงครองอุตสาหกรรมพลังงานลมบนบก Onshore Wind Power Industry รองลงมา คือ อเมริกาเหนือ North America .. คาดว่า บราซิล Brazil, อินเดีย India, เวียดนาม Vietnam และออสเตรเลีย Australia จะเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการติดตั้งพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Power Installation .. อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนทางการเมืองที่แตกต่างกันในประเทศเหล่านี้ คาดว่าจะผลักดันการเติบโตของตลาด ..


ทั้งนี้ ปัจจุบัน ตลาดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งพลังงานลมสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วโลก Global Residential Wind Power Installation Market ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ‘ตลาดพลังงานลมขนาดเล็ก Small Wind Power Market’ ประเมินว่ามีมูลค่าประมาณ 14,560 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ ปี 2564 โดยมีการคาดการณ์การเติบโตอย่างมีนัยสำคัญที่จะไปถึงประมาณ 27,120 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการติดตั้งพลังงานลมสำหรับที่อยู่อาศัย หรือตลาดพลังงานลมขนาดเล็กทั่วโลก Global Residential Wind Power Installation or Small Wind Power Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 13.78% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2565-2573 โดยได้รับแรงผลักดันจากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม Environmental Sustainability, การหมดลงของทรัพยากรที่ไม่หมุนเวียน Depletion of Non-Renewable Resources และความต้องการแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในระดับครัวเรือน Growing Demand for Renewable Energy Sources at the Household Level ..
แนวโน้มในอนาคต Future Trends พบว่า การบูรณาการกังหันลมขนาดเล็กเข้ากับโครงข่ายอัจฉริยะ Integrating Small Wind Turbines with Smart Grids เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน และความเสถียรของโครงข่ายระบบสายส่งในพื้นที่รูปแบบกระจาย กำลังกลายเป็นที่นิยมอย่างสูงไปทั่วโลก .. การขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม และการขยายตัวของเมือง Rapid Industrialization & Urbanization ได้ทำให้มีความต้องการโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืน Need for Sustainable Energy Solutions เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล Remote Areas ซึ่งระบบพลังงานลมขนาดเล็ก Small Wind Power Systems สามารถให้กำลังไฟฟ้าที่เชื่อถือได้อย่างมั่นใจ ..
สรุปส่งท้าย ..
กำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power คือ แหล่งพลังงานสะอาด Clean Energy Sources ชนิดหนึ่งที่นานาประเทศมุ่งพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากลมมีศักยภาพในการผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี แต่สถานการณ์ในประเทศไทยนั้น อาจดูแตกต่างไปบ้าง เนื่องเพราะพื้นที่ที่เหมาะสม และมีลมพัดแรงเพียงพออย่างสม่ำเสมอมีค่อนข้างจำกัด ..
การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม Wind Power Generation และการนำลมมาใช้ประโยชน์จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ ‘กังหันลม Wind Turbines’ ในการเปลี่ยนพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลก่อนนำไปใช้ประโยชน์ .. ที่สำคัญพลังงานลม Wind Energy มีใช้งานได้ไม่มีวันหมด และกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม นอกจากมลพิษทางเสียงซึ่งมีแนวโน้มควบคุมได้ง่าย ..

แต่การประยุกต์ใช้พลังงานลมเพื่อการผลิตกำลังไฟฟ้านั้น ความเร็วลมจะต้องสม่ำเสมอ หรือกำลังลม เฉลี่ยทั้งปีไม่ควรน้อยกว่าระดับ 6.4 -7.0 เมตรต่อวินาที ที่ความสูง 50 เมตร ถึงจะสามารถให้กำลังผลิตกระแสไฟฟ้าจากกังหันลมได้พอเหมาะ .. ภูมิประเทศที่มีความเร็วลมเหมาะสม ได้แก่ บริเวณฝั่งทะเลแถบยุโรปเหนือ หรือช่องเขาในสหรัฐฯ และทวีปอเมริกา ..
ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ลมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศของไทย ได้แก่ ลมประจำปี ลมประจำฤดู และลมประจำเวลา .. ลมประจำฤดู และลมประจำเวลา ประจำถิ่น บางพื้นที่เท่านั้น ที่จะมีกำลังลมเพียงพอสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ กับลมบก ลมทะเล ลมภูเขา และลมหุบเขาบริเวณที่อยู่ตามชายฝั่งไม่กี่แห่ง และโดยทั่วไปแล้ว พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมของไทยนั้น ถือว่ามีอยู่ไม่มากนัก ..
ทั้งนี้ ศักยภาพทางเทคนิคกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานลมบนบกของไทย Thailand’s Onshore Wind Power Generation อยู่ที่ 13-17 GW .. อุตสาหกรรมพลังงานลมของไทยโดยภาคเอกชน สามารถส่งมอบโครงการพลังงานลม และขายกำลังไฟฟ้าให้ กฟผ.เข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่ง หรือกริดไฟฟ้า Power Grids ได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า 3 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง KWh .. รวมทั้งมีเป้าหมายการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 7 GW ในประเทศให้ได้ ภายในปี 2570 เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน 2561-2580 ที่กำหนดเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานขั้นสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 50% ภายในปี 2580 และคงเป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน อยู่ที่มากกว่า 29,411 MW ขึ้นไป ..
อย่างไรก็ตาม จากภูมิประเทศของประเทศไทย ทำให้ความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ที่เพียงในระดับปานกลางถึงต่ำ .. ความเร็วลมเฉลี่ยตลอดทั้งปี ต่ำกว่า 5 เมตร/วินาที ในขณะที่ เทคโนโลยีกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าในยุโรปส่วนใหญ่ออกแบบให้ทำงานกับความเร็วลมที่เหมาะสม เฉลี่ยเกินกว่า 8 เมตร/วินาที ขึ้นไป ซึ่งเป็นความเร็วลมเฉลี่ยในพื้นที่ของภูมิภาคแถบยุโรปเหนือ หรือประเทศอื่นๆ ในเขตหนาวที่มีศักยภาพลมเพียงพอ .. เมื่อเทียบความเร็วลมที่มีอยู่ในประเทศไทย กับตาราง Power Class พบว่า ลมในประเทศไทยส่วนใหญ่ อยู่ในระดับที่ 1.1-1.4 โดยจะมีเพียงพื้นที่ทางชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น ที่มี Power Class อยูที่ระดับ 2 ..
อุปสรรคสำคัญของไทยในการใช้พลังงานลม Use of Wind Energy ส่วนหนึ่งมาจากการขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม กับศักยภาพของแรงลมในประเทศ และบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ ก็มิได้มีมากนัก .. แต่ถึงกระนั้น การติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้า ยังมีข้อดีที่มันพวกเป็นการลงทุนครั้งแรกครั้งเดียว ไม่มีค่าเชื้อเพลิง ไม่กินเนื้อที่ติดตั้ง และด้านล่างยังใช้พื้นที่เพื่อการอื่นได้อยู่ เพียงแต่พื้นที่ที่มีแรงลมเหมาะสมในประเทศนั้น มักอยู่นอกชายฝั่งทะเล หรือในพื้นที่สูง ห่างไกล เข้าถึงได้ยาก ..
ดังนั้น ตราบใดที่กังหันลมแกนแนวตั้งรุ่นใหม่ ๆ และพัฒนาการของเทคโนโลยีตัวกังหันลมที่รองรับความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 5 เมตร/วินาที ยังมาไม่ถึง เมื่อนั้น ศักยภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมของไทย ก็ยังถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานอยู่มาก ยกเว้นในบางพื้นที่เฉพาะเท่านั้น .. ซึ่งทำให้แผนงานภาครัฐ และการสนับสนุนภาคเอกชน ให้ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power Plants เพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 7 GW ในประเทศให้ได้ ภายในปี 2570 นั้น จึงมิใช่เรื่องง่าย ..
ด้วยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ การพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานลมในประเทศไทยนั้น ปัญหาเรื่องทางเทคนิค และการลงทุน ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด แต่อุปสรรคหลักจริงๆ อยู่ที่ศักยภาพของลมมากกว่า .. ทั้งนี้ กฟผ.ได้จัดทำโครงการสาธิตทดลองการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า ขนาด 192 KW ตั้งอยู่ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดว่ามีลมแรงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ก็ยังมีความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปี เพียง 5 เมตรต่อวินาที และไม่มีความสม่ำเสมอ .. ทั้งนี้ พวกมันคือการศึกษาทดลอง เพื่อนำพลังงานลมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่นๆ และระบบจัดเก็บพลังงานหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความมั่งคงในการกระจายกำลังไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น หรือจนกว่าการออกแบบกังหันลมแกนแนวนอน และแนวตั้งที่ดีกว่านี้ จะเข้าสู่ตลาดจากนี้ไป ..
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นั้น ระบบพลังงานลม Wind Energy Systems ถือได้ว่า พวกมันได้กลายเป็นหนึ่งในระบบพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ในบ้าน และในครัวเรือน Home-Based Renewable Energy Systems ที่มีความคุ้มค่าที่สุด .. เช่นเดียวกับระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในครัวเรือน Home Solar PV Systems หรือระบบพลังงานรูปแบบผสม Hybrid Home Energy Systems .. ระบบพลังงานลมขนาดเล็ก Small Wind Power สามารถลดค่าไฟฟ้าในครัวเรือนของผู้คนได้ระดับหนึ่ง หรืออาจสูงได้ถึง 100% .. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรัพยากรลมในพื้นที่ ช่วยให้เจ้าของบ้าน หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายสูงจากการขยาย และวางโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภคไปยังสถานที่ห่างไกล และบางครั้งสามารถส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า DC หรือกำลังไฟฟ้าไฟฟ้านอกโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี .. นอกจากนี้ พลังงานลม Wind Energy ยังเป็นแหล่งพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ..
ต่างจาก กังหันลมขนาดใหญ่ Large Wind Turbines ทั้งที่เป็นกังหันลมบนบก และนอกชายฝั่งที่ต้องการความเร็วลมอย่างน้อย 5 เมตรต่อวินาที รวมทั้งต้องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องเฉลี่ยมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน จึงจะคุ้มค่าการลงทุน .. ขณะที่ กังหันลมขนาดเล็ก Small Wind Turbines ต้องการความเร็วลมขั้นต่ำ อยู่ที่ประมาณเพียง 4 เมตรต่อวินาที หรือ 8.9 ไมล์ต่อชั่วโมง แม้ว่ากังหันลมขนาดเล็กบางรุ่นสามารถออกแบบให้ทำงานที่ความเร็วลมต่ำกว่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม กังหันลมขนาดเล็ก Small Wind Turbines นิยมติดตั้งอยู่ในที่สูง บนหลังคา หรือบนเสา เพื่อยกพวกมันให้เหนือสิ่งกีดขวางในบริเวณใกล้เคียง .. กฎง่ายๆ ข้อหนึ่ง คือกังหันลมขนาดเล็ก Small Wind Turbines ควรจะติดตั้งให้สูงกว่าสิ่งใดๆ ในพื้นที่อย่างน้อย 9 เมตร หรือ 30 ฟุต ภายในรัศมี 150 เมตร หรือ 490 ฟุต .. และแม้ว่าประเด็นเหล่านี้จะมิใช่กฎเกณฑ์ตายตัว แต่สถานที่ที่เหมาะสมกว่าสำหรับการติดตั้งกังหันลมขนาดเล็กซึ่งสมควรให้อยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่ทางด้านเหนือลมไว้ก่อนนั้น คือข้อพิจารณาที่ไม่อาจละเลยได้ ..
โดยทั่วไป ตัวใบพัดกังหันลมขนาดเล็ก Small Wind Turbines มักจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3.5 เมตร หรือ 4 ฟุต 11 นิ้ว-11 ฟุต 6 นิ้ว และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 0.5-10 KW ที่ความเร็วลมที่เหมาะสมที่สุด .. กังหันลมขนาดเล็กส่วนใหญ่เป็นกังหันลมแกนนอนรูปแบบดั้งเดิม Traditional Horizontal – Axis Wind Turbines : HAWTs .. ในบางสถานการณ์ กังหันลมแกนตั้ง Vertical Axis Wind Turbines : VAWTs อาจมีข้อได้เปรียบในการใช้งาน การบำรุงรักษา และการจัดวางในพื้นที่จำกัดต่างๆ เนื่องจากความเรียบง่าย .. อย่างไรก็ตาม VAWTs มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า HAWTs และมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในการแปลงพลังงานลมให้เป็นกำลังไฟฟ้า .. อัตราส่วนระหว่างความเร็วปลายใบมีด กับความเร็วลม เรียกว่า Tip Speed Ratio คือ ตัวเลขแสดงสมรรถนะที่ทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งติดตั้งที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดได้ .. ทั้งนี้ การออกแบบใบมีดของตัวกังหันลมด้วยอัตราส่วนระหว่างแรงยกต่อแรงต้านที่สูงกว่า โดยทั่วไปจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าได้เป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ..
กังหันลมขนาดเล็ก Small Wind Turbines ที่ใช้สำหรับที่อยู่อาศัย Residential Applications มักมีขนาดตั้งแต่ 400 W ถึง 20 KW ขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือน ..
บ้านเรือนทั่วไป จะใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 10.6 MWh ต่อปี หรือประมาณ 877 KWh ต่อเดือน .. ขึ้นอยู่กับความเร็วลมเฉลี่ยในพื้นที่ กังหันลมที่มีขนาด 5-15 KW จะต้องมีส่วนสำคัญต่อความต้องการนี้ .. กังหันลม Wind Turbines ขนาด 1.5 KW จะตอบสนองความต้องการของบ้านที่ต้องการพลังงาน 300 KWh ต่อเดือน หรือประมาณ 10 KWh ต่อวัน ในสถานที่ที่มีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดทั้งปี 14 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 6.26 เมตรต่อวินาที ได้อย่างพอเพียง ..
ทั้งนี้ ระบบพลังงานลมขนาดเล็ก Small Wind Energy Systems สามารถเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าได้ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ระบบที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้า Grid-Connected System .. กังหันลมที่เชื่อมต่อกับกริด Grid – Connected Wind Turbine สามารถลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบสาธารณูปโภคสำหรับให้แสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า และความเย็น และการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า .. หากกังหันลม Wind Turbines ไม่สามารถส่งจ่ายพลังงานในปริมาณที่คุณต้องการ โครงข่ายระบบสายส่งยูทิลิตี้ในระบบสาธารณูปโภคจะให้กำลังไฟฟ้าเพิ่มเติมตามที่ใช้งานจริงได้ และเมื่อระบบกังหันลม ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่ครัวเรือนต้องการ ส่วนเกินจะถูกเครดิต และขายคืนเพื่อชดเชยการใช้พลังงานจากระบบสาธารณูปโภคในอนาคตได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย ..
กังหันลมแบบเชื่อมต่อกับกริดสมัยใหม่ Modern Grid-Connected Wind Turbines จะทำงานก็ต่อเมื่อมีกริดไฟฟ้าพร้อมใช้งานเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ เมื่อกำหนดค่าให้ทำงานควบคู่กับระบบจัดเก็บพลังงานที่อาจเป็นชุดแบตเตอรี่ในครัวเรือนที่ติดตั้งไว้พร้อมด้วย เพื่อสร้างไมโครกริด Micro Grids ในบ้าน รวมทั้งสำรองกำลังไฟฟ้าไว้ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า ..
กังหันลมขนาดเล็ก Small Wind Turbines ใช้สำหรับระบบงานแบบแยกย่อย เช่น การชาร์จแบตเตอรี่สำหรับพลังงานเสริมให้กับ เรือ รถบ้าน รถพ่วง Caravan อุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือน และเพื่อส่งสัญญาณเตือนการจราจร เป็นต้น .. กังหันลมขนาดใหญ่ Large Wind Turbines สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในประเทศได้ ในขณะที่เจ้าของกังหันลมผลิตไฟฟ้าในครัวเรือน Home Wind Power สามารถขายคืนกำลังไฟฟ้าส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้กลับไปยังซัพพลายเออร์ยูทิลิตี้ Supplier Utility ผ่านทางกริดไฟฟ้า Electrical Grid หรือโครงข่ายระบบสายส่ง ได้อีกด้วย ..
การประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานลมเพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าของไทยนั้น สามารถใช้ระบบไฮบริด Hybrid รูปแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น กลางคืนใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลม กลางวันใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานส่วนเกินที่เหลือใช้ก็นำมาจัดเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium-Ion Batteries ที่ผลิตในประเทศ เพื่อให้สามารถใช้เป็นสถานีจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ตลอดทั้งวัน เป็นต้น .. นอกจากนั้น บทบาทของนโยบายพลังงานภาครัฐ ถือเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด ..
กรอบนโยบายพลังงานภาครัฐที่ชัดเจนในการพิจารณาให้การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมแก่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย ซึ่งรวมถึงระบบการผลิตกำลังไฟฟ้าสะอาดขนาดเล็กในครัวเรือน Home-Based Renewable Energy Systems รูปแบบอื่นๆ ไว้ด้วย ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยอาจกำหนดสัดส่วนเพิ่มการรับซื้อกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลม และพลังงานทางเลือกอื่นๆ ด้วยราคาที่ไม่น้อยกว่า 2.50 บาทต่อหน่วย หรือ KWh และหากเป็นการผลิตกำลังไฟฟ้าในพื้นที่พิเศษ เช่น พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือพื้นที่ห่างไกลที่ระบบสายส่งยังพอจะเข้าถึงได้ เห็นสมควรพิจารณาอัตราเพิ่มพิเศษขึ้นอีกตามความเหมาะสม ในมาตรการระยะยาวอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป .. ทั้งนี้ การปลดล็อคการผูกขาดโครงข่ายระบบสายส่งของภาครัฐ และการปรับปรุงระบบสายส่งให้ชาญฉลาดขึ้น สามารถรองรับความจุกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกเข้าสู่ระบบสายส่งได้มากขึ้นด้วยต้นทุนลดลง ถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ขาดไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ เพื่อบรรลุแผนงานความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืนของประเทศในอนาคตให้สำเร็จได้ในที่สุดจากนี้ไป ..
………………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Wind Power | Wikipedia :-
https://en.wikipedia.org/wiki/Wind_power
Wind Power | IEA :-
https://www.iea.org/energy-system/renewables/wind
Advantages and Challenges of Wind Energy :-
https://www.energy.gov/eere/wind/advantages-and-challenges-wind-energy
How Do Wind Turbines Work? | Department of Energy :-
https://www.energy.gov/eere/wind/how-do-wind-turbines-work
Wind Energy Today | WindEurope :-
Wind Power Information and Facts – National Geographic :-
https://www.nationalgeographic.com/environment/global-warming/wind-power
Wind Energy | National Geographic Society :-
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/wind-energy
Wind Power Market Size & Share | Industry Report, 2030 | Grand View Research :-
https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/wind-power-industry
Hybrid Energy Systems that Consist of Solar PV, Wind, Storage Batteries & Engine Generator System :-
https://photos.app.goo.gl/y7MVKeZfv71KewuY9
Offshore Wind Power :-
https://photos.app.goo.gl/foPVErmDRRkWjtf87
Wind Turbine : Advantages & Challenges of Wind Energy :-